ปลอบใจพันธมิตร – คลี่ความตึงเครียดกับคู่แข่ง เป้าหมายยากที่จะสำเร็จ

(VOVworld) - การเยือนประเทศจีนของนายโจ ไบเดน รองประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่สองในกรอบการเยือนสามประเทศเอเชียตะวันออกคือ ญี่ปุ่น จีนและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีขึ้นในขณะที่ความตึงเครียดของภูมิภาคนี้กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากปักกิ่งประกาศเขตป้องกันภัยทางอากาศหรือ ADIZ เหนือน่านฟ้าทะเลฮัวตุ้ง
ปลอบใจพันธมิตร – คลี่ความตึงเครียดกับคู่แข่ง เป้าหมายยากที่จะสำเร็จ - ảnh 1
นายโจ ไบเดินเดินทางถึงกรุงปักกิ่ง

(VOVworld) - การเยือนประเทศจีนของนายโจ ไบเดน รองประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่สองในกรอบการเยือนสามประเทศเอเชียตะวันออกคือ ญี่ปุ่น จีนและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีขึ้นในขณะที่ความตึงเครียดของภูมิภาคนี้กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากปักกิ่งประกาศเขตป้องกันภัยทางอากาศหรือ ADIZ เหนือน่านฟ้าทะเลฮัวตุ้ง ซึ่งบรรดาผู้สังเกตุการณ์มีความคาดหวังว่า ด้วยชื่อเสียงและการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับนายสีจิ้นผิง ประธานประเทศจีน การเยือนครั้งนี้ของนายโจ ไบเดนจะช่วยคลี่คลายความตึงเครียดในภูมิภาคแต่ทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นว่า นายโจ ไบเดนยากที่จะประสบความสำเร็จในภารกิจการไกล่เกลี่ยตามที่หวังไว้
เป้าหมายในการเยือนครั้งนี้ของนายโจไบเดนได้เปลี่ยนจากด้านการค้ามาเป็นการแก้ปัญหาความตึงเครียดระหว่างญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีกับจีน โดยเฉพาะปัญหาการพิพาทเหนือหมู่เกาะที่ทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างประกาศความเป็นเจ้าของ ซึ่งปัญหาการพิพาทนี้นับวันยิ่งทวีความตึงเครียดมากขึ้นจนอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าทางทหาร ดังนั้น การเลือกประเทศแรกและประเทศสุดท้ายในการเยือนสามประเทศเอเชียตะวันออกครั้งนี้ของนายโจ ไบเดนได้แสดงให้เห็นถึงเจตนาของสหรัฐที่จะทำการไกล่เกลี่ยปัญหาความสัมพันธ์กับปักกิ่งและยืนยันคำมั่นกับ2 ประเทศพันธมิตรคือญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีว่า สหรัฐไม่ได้ละเลยนโยบายยุทธศาสตร์ที่มุ่งความสนใจสู่ทวีปเอเชีย

การพูดและการปฏิบัติจริง

แม้ยังไม่มีการประท้วงประเทศจีนอย่างเป็นทางการในเหตุการพิพาทน่านน้ำกับญี่ปุ่นแต่วอชิงตันก็ได้ยืนยันกับโตเกียวหลายครั้งแล้วว่า หมู่เกาะเซนกากุในทะเลฮัวตุ้งยังคงอยู่ในสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันระหว่างสองประเทศและคัดค้านทุกความพยายามที่จะเปลี่ยนสิทธิการควบคุมหมู่เกาะดังกล่าวของญี่ปุ่น

3 วันหลังจากที่จีนประกาศตั้งเขต ADIZ วอชิงตันได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดบี 52 บินเข้าไปยังเขตดังกล่าวและย้ำคำพูด 3 ข้อคือ ไม่ยอมรับเขต ADIZ ของจีน ไม่ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของฝ่ายจีน อย่างเช่น ต้องเปิดเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุและแจ้งแผนการบินล่วงหน้าต่อจีนและไม่เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวทางทหารของสหรัฐในภูมิภาคนี้ แต่หลังจากนั้น 3 วัน วอชิงตันได้มีการเคลื่อนไหวที่สร้างความสับสนให้แก่พันธมิตรโดยออกประกาศว่า เครื่องบินพลเรือนทุกลำของสหรัฐควรปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆของจีนในภูมิภาคนี้ แม้สหรัฐจะอธิบายภายหลังอย่างทันควันว่า เนื้อหาดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า สหรัฐรับรองเขต ADIZ ของจีนซึ่งทัศนคติที่ไม่ชัดเจนของวอชิงตันได้ทำให้โตเกียวไม่พอใจและออกมาตำหนิ  ดังนั้นในการเยือนญี่ปุ่น นายโจ ไบเดนก็ต้องปลอบใจพันธมิตรว่า ความเป็นพันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งเมื่อปี 1950 ยังคงมีคุณค่าและสหรัฐจะเคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตรในภูมิภาคนี้ต่อไป

ปลอบใจพันธมิตร – คลี่ความตึงเครียดกับคู่แข่ง เป้าหมายยากที่จะสำเร็จ - ảnh 2
นายโจ ไบเดินกับนายสีจิ้นผิง (Photo BBC)

แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือคำพูดปากเปล่าเท่านั้น ซึ่งสวนทางกับการปฏิบัติจริงของสหรัฐจนทำให้นายโจ ไบเดนยากที่จะอธิบายได้ ก่อนที่จะเดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง นายโจ ไบเดนได้รับการต้อนรับด้วยท่าที่อย่างระมัดระวังจากสื่อจีนและความกังวลของวอชิงตันเกี่ยวกับ ADIZ ที่ถูกนำเสนอในการพบปะกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นซินโซ อาเบะก็ถูกสื่อของจีนตำหนิ โดยหนังสือพิมพ์ China Daily ของจีนฉบับวันที่ 4 ธันวาคมได้เตือนว่า การสนับสนุนญี่ปุ่นของนายโจ ไบเดนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของเขาในประเทศจีนและถ้าอยากคลี่คลายความตึงเครียดในภูมิภาค ก่อนอื่นต้องยุติการสนับสนุนนโยบาย “ที่จะเข้าใกล้สงคราม” ซึ่งเป็นนโยบายที่อันตรายของญี่ปุ่น  ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ท่าทีแข็งกร้าวของปักกิ่งหรือความสำคัญของการธำรงความสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตรใหญ่ได้ทำให้การเยือนจีนครั้งนี้ของนายโจ ไบเดนดูเหมือนว่าไม่ตรงตามเป้าหมาย ซึ่งในการหารือกับนายสีจิ้นผิง เนื้อหาเกี่ยวกับเขต ADIZ ไม่ได้รับการหารือมากเท่าที่ควร โดยส่วนใหญ่เป็นการหารือเกี่ยวกับวิธีการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์แบบใหม่ระหว่างบรรดาประเทศมหาอำนาจในศตวรรษที่ 21 ตามข้อเสนอของประธานประเทศจีนสีจิ้นผิงในโอกาสการเยือนประเทศสหรัฐเมื่อต้นปีนี้ ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดจากการจับมืออย่างสนิทสนมของผู้นำทั้งสองท่านและแถลงการณ์ของนายสีจิ้นผิงที่ว่า การสนทนาและความร่วมมือคือทางเลือกเดียวที่ถูกต้องของทั้งสองประเทศ

ภารกิจที่ลำบาก

แม้มีความกังวลต่อท่าทีใหม่ของจีนแต่จากบทบาทที่เข้มแข็งของประเทศคู่แข่งนี้ วอชิงตันก็ไม่อยากที่จะหันหลังทั้งหมดให้กับปักกิ่ง  การที่นายบารัก โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐไม่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชีย - แปซิฟิกสองครั้งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงความระมัดระวังของสหรัฐในการปฏิบัติกับบรรดาประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก  ทั้งนี้และทั้งนั้น หน้าที่ทางการทูตของนายโจ ไบเดนจึงมีความลำบากเป็นอย่างยิ่งและการเยือนครั้งนี้อาจจะไม่ประสบผลแต่อย่างใดนอกเหนือจากการยืนยันการปรากฏตัวของสหรัฐทุกครั้งที่ภูมิภาคนี้มีความผันผวนเท่านั้น./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด