ผู้นำยุโรปเดินหน้าเยือนจีนเพื่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์

(VOVWORLD) -วันที่ 5 เมษายน นาย เอ็มมานูเอล มากรง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมนาง เออร์ซูลาฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซี  จะเริ่มการเยือนจีนอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 3 วัน นี่เป็นการเยือนจีนอย่างเป็นทางการครั้งที่สองของผู้นำยุโรปในรอบ 1 สัปดาห์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจพิเศษของยุโรปต่อจีนที่เป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับที่สองของโลกและมีอิทธิพลที่นับวันเพิ่มขึ้นบนเวทีโลก

ตามประกาศของกระทรวงการต่างประเทศจีน การเยือนของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มากรง มีขึ้นในระหว่างวันที่ 5 -7 เมษายนตามคำเชิญของประธานประเทศจีน สีจิ้นผิง แต่สิ่งที่ทำให้ประชามติโลกสนใจคือการเยือนนี้มีขึ้นภายหลังการเยือยจีนของนายกรัฐมนตรีสเปน เปโดร ซันเชซ ไม่กี่วันและก่อนการเยือนจีนของนาย Josep Borrell  ตัวแทนระดับสูงเกี่ยวกับนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรปหรืออียูและนาง Annalena Baerbock  รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี โดยบรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า การที่บรรดาผู้นำและนักการเมืองระดับสูงของยุโรปเยือนจีนอย่างต่อเนื่องนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากแฝงด้วยเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์

แผนของยุโรป

การเยือนจีนของบรรดาผู้นำยุโรปมีขึ้นในสภาวการณ์ที่การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนกำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างลึกต่อยุโรปในหลายด้าน โดยเฉพาะ ความมั่นคง กลาโหม เศรษฐกิจและพลังงาน ในขณะเดียวกัน จีนนับวันมีอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่และโดดเด่นทั้งด้านการทูตและเศรษฐกิจในโลก โดยเฉพาะจีนไม่เพียงแต่เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับแรงกดดันจากยุโรป สหรัฐและประเทศพันธมิตรผ่านการประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องถึงวิกฤตยูเครน ในอีกมุมมองหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับจีนกำลังอยู่ในระดับต่ำนับตั้งแต่ปี 2019 หลังจากที่เป็นครั้งแรกอียูได้ระบุอย่างเป็นทางการว่าจีนคือคู่แข่ง ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปเห็นว่า ถึงเวลาต้องปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ใหม่ เพราะฉะนั้นการเยือนจีนของบรรดาผู้นำยุโรปจึงมีเป้าหมายที่ชัดเจน โดยเฉพาะมีส่วนเกี่ยวข้องถึงวิกฤตในยูเครน ซึ่งอียูอยากโน้มน้าวให้จีนลดการสนับสนุนและเพิ่มแรงกดดันเพื่อให้รัสเซียยุติยุทธนาการทางทหารในยูเครน นอกจากนี้ ยุโรปอยากผลักดันความร่วมมือกับจีนในหลายด้านเพื่อเพื่อธำรงและมีผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการค้าที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นจากจีน ปัจจุบัน จีนกำลังเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของอียู

ซึ่งความเกี่ยวข้องกับปัญหาของรัสเซียและยูเครนยิ่งได้รับการยืนยัน เมื่อในกรอบการเยือนจีนเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีสเปน เปโดร ซันเชซ ได้เสนอให้ประธานประเทศจีน สีจิ้นผิงทำการสนทนากับประธานาธิบดียูเครน Volodymyr Zelensky โดยเฉพาะ ในเวลาที่ผ่านมา บรรดาเจ้าหน้าที่ยุโรปให้ความสนใจต่อข้อเสนอสันติภาพ 12 ข้อที่จีนเสนอเมื่อเร็วๆนี้เพื่อแก้ไขการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน

ความท้าทายและแนวโน้ม

บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า การที่บรรดาผู้นำยุโรปเน้นการผลักดันความสัมพันธ์กับจีนในสภาวการณ์ปัจจุบันเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยาก แต่อย่างไรก็ดี ความเป็นไปได้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ยังไม่ได้รับการค้ำประกัน โดยเฉพาะเป้าหมายที่เกี่ยวข้องถึงรัสเซียและวิกฤตในยูเครน เพราะสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซีย ประธานประเทศ สีจิ้นผิง ได้เดินทางไปเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเจรจากับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน โดยทั้งสองฝ่ายได้ออกแถลงการณ์ร่วมที่ยืนยันว่า การเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีเป็นการคัดเลือกเชิงยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศบนพื้นฐานของสถานการณ์ของแต่ละประเทศ และไม่ได้รับผลกระทบจากภายนอก

สองคือ สำหรับวิกฤตในยูเครน นี่เป็นวิกฤตที่ซับซ้อน มีการแทรกแซงของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยยุโรปและสหรัฐจัดสรรอาวุธยุทโธปกรณ์และอาวุธหนักให้แก่ยูเครน ให้คำมั่นที่จะอยู่เคียงข้างยูเครน ดังนั้น การแก้ไขวิกฤตต้องการความพยายาม การร่วมแรงร่วมใจและเจตนารมณ์ทางการเมืองที่เข้มแข็งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้จากบทบาทเสียงพูดที่นับวันสูงขึ้นบนเวทีโลก โดยเฉพาะหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่านเมื่อเร็วๆนี้ จีนจึงได้รับการประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อกระบวนการแก้ไขการปะทะ โดยในการประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน  นาย  Josep Borrell ตัวแทนระดับสูงเกี่ยวกับนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรปได้ให้ข้อสังเกตว่า จีนมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างเงื่อนไขอำนวยความสะดวกเพื่อผลักดันการแก้ไขการปะทะในยูเครน ส่วนนาย ฟู้ทุง หัวหน้าคณะผู้แทนจีนประจำอียูได้ยืนยันว่า จีนพร้อมร่วมกับอียูผลักดันกระบวนการสันติภาพในยูเครน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด