ผลักดันการพัฒนาของแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

(VOVworld) – การประชุมผู้นำครั้งที่สองของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงนานาชาติจะมีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ในวันที่ 5 เดือนนี้ คณะผู้แทนเวียดนาม นำโดยท่านเหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีพร้อมผู้นำประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการฯ หุ้นส่วนสนทนาสองประเทศคู่เจรจา หุ้นส่วนพัฒนา บรรดาผู้อุปถัมภ์ องค์กรระหว่างประเทศและองค์กรลุ่มแม่น้ำระหว่างประเทศเข้าร่วม ....

(VOVworld) – การประชุมผู้นำครั้งที่สองของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงนานาชาติจะมีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ในวันที่ 5 เดือนนี้ คณะผู้แทนเวียดนาม นำโดยท่านเหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีพร้อมผู้นำประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการฯ หุ้นส่วนสนทนาสองประเทศคู่เจรจา หุ้นส่วนพัฒนา บรรดาผู้อุปถัมภ์ องค์กรระหว่างประเทศและองค์กรลุ่มแม่น้ำระหว่างประเทศเข้าร่วม ต่อจากการประชุมผู้นำครั้งแรก ณ หัวหิน ประเทศไทยเมื่อปี 2010 การประชุมครั้งนี้ยังคงแสดงความตั้งใจและคำมั่นทางการเมืองของบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกในความร่วมมือเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

ผลักดันการพัฒนาของแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน - ảnh 1
ผู้นำรัฐบาล 4 ประเทศเข้าร่วมการประชุมครั้งแรก ณ หัวหินเมื่อปี 2010

ภายใต้หัวข้อ “ความมั่นคงของแหล่งน้ำ พลังงานและอาหารในสภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง” การประชุมครั้งนี้จะเป็นการยืนยันต่อไปถึงคำมั่นความร่วมมือข้ามชายแดนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทรัพยากรน้ำและทรัพยากรเกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงในสภาวะการณ์ที่ความต้องน้ำ พลังงานและอาหารเพิ่มขึ้น ตลอดจนผลกระทบในทางลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทั่วโลก
จากปฏิญญาหัวหินถึงปฏิญญานครโฮจิมินห์
ข้อตกลงร่วมมือพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนได้รับการลงนามเมื่อปี 1995 ระหว่าง 4 ประเทศสมาชิกคือ เวียดนาม ลาว กัมพูชาและไทย ซึ่งถือเป็นเอกสารทางนิตินัยขององค์กรเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีลักษณะเป็นผู้เดินหน้าของโลกโดยยืนยันคำมั่นของบรรดาประเทศที่ได้ลงนามในความร่วมมือในทุกด้านของการพัฒนา การควบคุมอย่างยั่งยืน การปกป้องทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นๆที่เกี่ยวข้องของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความร่วมมือในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงนานาชาติได้กลายเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในการประชุมสุดยอดทุกครั้งของความคิดริเริ่มอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงขยายวงค์ ของอาเซียนและความคิดริเริ่มอนุภูมิภาคอื่นๆ
เมื่อปี 2010 ในโอกาสฉลองครบรอบ 15 ปีการลงนามในข้อตกลงร่วมมือพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ผู้นำ 4 ประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการฯได้เห็นพ้องกันที่จะจัดการประชุมผู้นำคณะกรรมาธิการณแม่น้ำโขงนานาชาติทุกๆ 4 ปีและการประชุมครั้งแรกได้มีขึ้น ณ หัวหิน ประเทศไทยและได้มีการออกปฏิญญาหัวหินที่ยืนยันถึงวิสัยทัศน์กิจกรรมที่ควรได้รับปฏิบัติก่อนและวางแนวทางยุทธศาสตร์ให้แก่ระยะต่อไปของคณะกรรมาธิการฯ นายเลดึ๊กจูง ปลัดสำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเวียดนามยืนยันว่า “ปฏิญญาหัวหินได้เปิดโอกาสให้คณะกรรมาธิการฯปฏิบัติปัญหาที่มีลักษณะยุทธศาสตร์ของภูมิภาค หนึ่งคืออนุมัติแผนการของภูมิภาคและประเทศ ปฏิบัติยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำบนพื้นฐานคือการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ นี่คือปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ของคณะกรรมาธิการฯก่อนปี 2010 แต่หลังจากที่นายกรัฐมนตรีทุกท่านให้คำมั่น แผนการดังกล่าวจึงได้รับการอนุมัติ
การประชุมครั้งนี้มีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามในสภาวะการณ์ที่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังถูกแรงกดดันจากกระแสการพัฒนา การเพิ่มขึ้นของประชากร การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ  การพัฒนาการเกษตร สัตว์น้ำและการคมนาคมทางน้ำ  ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ควบคู่กับผลประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแล้ว โครงการเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศและคุณภาพของน้ำ ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงมีความหมายสำคัญเป็นอย่างมาก นายเลดึ๊กจูงเผยต่อไปว่า “การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีความหมายสำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นการยืนยันคำมั่นสูงสุดของ 4 ประเทศสมาชิกในการปกป้องการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและสรุปผลการปฏิบัติปฏิญญาหัวหินและกำหนดด้านที่จะได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆและแนวทางการปฏิบัติในระยะต่อไป
ปฏิญญานครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นแถลงการณ์ร่วมของการประชุมฯจะเป็นคำมั่นทางการเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการฯในการประชุมครั้งนี้            
ผลักดันการพัฒนาของแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน - ảnh 2
การประชุมเตรียมให้แก่การประชุมผู้นำคณธกรรมาธิการแม่น้ำโขงนานาชาติครั้งที่สอง(Photo VGP)

ใช้ประโยชน์ของแม่น้ำโขงอย่างมีประสิทธิภาพ

ในฐานะเป็นแม่น้ำสายใหญ่ของโลก แม่น้ำโขงไหลผ่าน 6 ประเทศ ประกอบด้วยจีน ลาว พม่า ไทย กัมพูชาและเวียดนาม ที่มีประชาชนนับสิบล้านคนอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีระบบนิเวศที่หลากหลายโดยมีทั้งสัตว์และพืชหลายชนิดที่ได้ระบุในหนังสือปกแดงของโลก

ในฐานะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตปลายน้ำ เวียดนามได้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการปกป้องแหล่งน้ำโขงอยู่เสมอ พร้อมทั้งเสนอความคิดริเริ่มต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบขนส่งในรูปแบบต่างๆเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบคูครองเพื่อสนับสนุนระบบคมนาคมทางบกและทางทะเล ซึ่งความคิดริเริ่มนี้ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ภูมิภาค เช่น ช่วยให้ระบบคมนาคมทางบกและเส้นทางคมนาคมในระเบียงเศณษฐกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหารถติดตามจุดคมนาคมหลักๆ อำนวยความสะดวกให้แก่การท่องเที่ยวและการค้าขายเนื่องจากประหยัดต้นทุนและระยะเวลาการขนส่งสินค้า ตลอดจนมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเนื่องจากลดมลพิษจากการจราจร

การประชุมผู้นำครั้งที่สองของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงนานาชาติจะเป็นโอกาสให้เวียดนามยืนยันคำมั่นที่จะร่วมมือกับประเทศต่างๆในภูมิภาค บรรดาหุ้นส่วนและนักอุปถัมภ์เพื่อปกป้องความมั่นคงของแหล่งน้ำ ขยายการบริหารจัดการและการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด