ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน

(VOVworld) – เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม องค์กรความร่วมมือและพัฒนาเศษฐกิจโออีซีดีเผยว่า แผนการลดแก๊สเรือนกระจกที่เสนอโดยบรรดาประเทศร่ำรวยและประเทศที่กำลังพัฒนานั้นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสได้ ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวของประชาคมโลกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสร้างความท้าทายไม่น้อย จนทำให้ทุกประเทศต้องเร่งลงมือปฏิบัติไม่ใช่มัวแต่ทำการวางแผนเพียงอย่างเดียว

(VOVworld) – เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม องค์กรความร่วมมือและพัฒนาเศษฐกิจโออีซีดีเผยว่า แผนการลดแก๊สเรือนกระจกที่เสนอโดยบรรดาประเทศร่ำรวยและประเทศที่กำลังพัฒนานั้นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสได้ ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวของประชาคมโลกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสร้างความท้าทายไม่น้อย จนทำให้ทุกประเทศต้องเร่งลงมือปฏิบัติไม่ใช่มัวแต่ทำการวางแผนเพียงอย่างเดียว

ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน - ảnh 1
ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน (Photo Internet)
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส บรรดานักวิเคราะห์ได้ประกาศรายงานล่าสุดที่อาศัยพื้นฐานของการประเมินความพยายามในช่วงก่อนและคำมั่นใหม่ๆของ 34 ประเทศสมาชิกและ10 ประเทศหุ้นส่วนของโออีซีดี รวมทั้งประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งได้ปล่อยแก๊สเรือนกระจกถึงร้อยละ 80 ของโลก
ผลร้ายอย่างชัดเจน
โออีซีดีตั้งใจประกาศรายงานดังกล่าวในช่วงจัดการประชุมเตรียมการที่มีขึ้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์โดยตัวแทน 200 ประเทศเข้าร่วมเพื่อเตรียมพร้อมการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่จะมีขึ้นในเดือนธันวาคมปีนี้ ซึ่งนี่คือคำเตือนต่อประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2020 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาแดดร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นและการสูญพันธุ์ในขอบเขตทั่วโลก นาย Mikaela Rambali ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศเผยว่า รายงานดังกล่าวของโออีซีดีได้แสดงให้เห็นว่า แม้ประเทศต่างๆได้พยายามแต่ความพยายามเหล่านั้นยังไม่เพียงพอเพื่อบรรลุเป้าหมายของแต่ละประเทศ ซึ่งก็แน่นอนว่าเป้าหมายร่วมกันคือควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังอยู่ห่างไกล
ในขณะที่ทุกประเทศกำลังพยายามลดการปล่อยแก๊สนั้น อุณหภูมิของโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนสามารถรู้สึกได้  องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกหรือ WMO เผยว่า ปี 2014 เป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 14.58 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงขึ้น 1.24 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยในศตวรรษที่ 20 และแทบทุกพื้นที่บนโลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ส่วนในรายงานของคณะกรรมการร่วมรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ IPCC ระบุว่า ถ้าหากไม่ลดการปล่อยแก๊สที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกให้ได้ในระดับสูงแล้ว มนุษย์จะต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ภัยแล้ง พายุและน้ำท่วมที่จะเพิ่มความถี่และรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การประชุมสุดยอดต่างๆเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ประสบความล้มเหลว จนทำให้ประชามติไม่คาดหวังเกี่ยวกับคำมั่นที่ยั่งยืนในการปกป้องโลก
ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน - ảnh 2
น้ำท่วมในเวียดนาม
อุปสรรคต่างๆ
ปัจจุบันนี้ มี 150 ประเทศได้ให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยแก๊สที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกหลังปี 2020 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่ข้อตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลบังคับใช้ ซึ่งในนั้น 58 ประเทศที่ปล่อยแก๊สกว่าร้อยละ 60 ของโลกได้ให้คำมั่นว่า จะลดปริมาณการปล่อยแก๊ส เช่น สหรัฐตั้งเป้าไว้ว่าจะลดแก๊สที่ปล่อยในปี 2025 ลงร้อยะล 26 – 28 เมื่อเทียบกับปี 2005 ส่วนสหภาพยุโรปหรืออียูก็ให้คำมั่นว่า ถึงปี 2030 จะลดการปล่อยแก๊สร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับปี 1990 จีนให้คำมั่นว่า ถึงปี 2030 จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อแต่ละยูนิตของจีดีพีร้อยละ 60 – 65 เมื่อเทียบกับปี 2005 แม้คำมั่นของประเทศต่างๆที่จะลดการปล่อยแก๊สถือว่าอยู่ในระดับสูงแต่ประชามติโลกยังคงรอคอยการปฏิบัติอย่างจริงจังของประเทศเหล่านี้
นอกจากผลงานที่ไม่น่าประทับใจที่ประกาศโดยโออีซีดีเมื่อวานนี้ ในที่ประชุม ณ เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนีเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่การประชุมสุดยอดของสหประชาชาติเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแล้ว ยังคงมีเนื้อหาหลักๆที่ต้องการความเห็นพ้องจากนานาประเทศ เช่น ความตั้งใจเพื่อหลุดพ้นจากการใช้แหล่งพลังงานฟอสซิลตั้งแต่กลางศตวรรษนี้ ร่นเวลาการปรับปรุงเป้าหมายปกป้องสภาพภูมิอากาศของทุกประเทศจากปี 2024 เป็นปี 2020 นอกจากนี้ การช่วยเหลือด้านการเงินในอนาคตให้แก่บรรดาประเทศยากจนก็ยังไม่มีความชัดเจน แม้บรรดาประเทศร่ำรวยได้ให้คำมั่นว่า จะระดมเงินจำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปีนับตั้งแต่ปี 2020 เพื่อช่วยเหลือบรรดาประเทศที่จะได้รับผลกระทบในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในการลดการปล่อยแก๊สที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งแนวทางนี้ก็ยากที่จะปฏิบัติได้เพราะว่า นับถึงเดือนมิถุนายนปี 2015 มี 30 ประเทศเท่านั้นที่ให้คำมั่นว่า จะอุปถัมภ์เงิน 1 หมื่น 2 ล้านเหรียญสหรัฐแต่วงเงินจริงๆที่พร้อมสำหรับการเบิกจ่ายมีเพียง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้นและไม่ใช่เงินอุดหนุนในรูปแบบให้เปล่าทั้งหมด
ความจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้คือ แม้การประเมินพบว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ลดลงแต่ยังคงไม่สามารถจำกัดการเพิ่มของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสได้ ดังนั้น ถ้าหากทุกประเทศไม่ตั้งใจปฏิบัติโครงการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่แล้วล่ะก็ มีความเป็นไปได้สูงที่โลกจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดอุณหภูมิดังกล่าวได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด