พัฒนาแหล่งบุคลากรเวียดนามเพื่อตอบสนองยุคผสมผสาน

(VOVworld) –  เวียดนามเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบในด้านแหล่งบุคลากรโดยมีประชากรเกือบ๙๐ล้านคนซึ่งมากเป็นอันดับ๓ในอาเซียนและอันดับ๑๓ของโลก เวียดนามกำลังอยู่ในช่วง“ประชากรวัยทอง”โดยมีประชากรที่อยู่ในวัยทำงานประมาณ๖๐ล้านคน คิดเป็นร้อยละ๖๖ถึงร้อยละ๖๗  นอกจากนี้ แรงงานเวียดนามก็มีความขยันหมั่นเพียร เฉลียวฉลาด และสามารถเข้าถึงผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างรวดเร็ว

(VOVworld) –  เวียดนามเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบในด้านแหล่งบุคลากรโดยมีประชากรเกือบ๙๐ล้านคนซึ่งมากเป็นอันดับ๓ในอาเซียนและอันดับ๑๓ของโลก เวียดนามกำลังอยู่ในช่วง“ประชากรวัยทอง”โดยมีประชากรที่อยู่ในวัยทำงานประมาณ๖๐ล้านคน คิดเป็นร้อยละ๖๖ถึงร้อยละ๖๗  นอกจากนี้ แรงงานเวียดนามก็มีความขยันหมั่นเพียร เฉลียวฉลาด และสามารถเข้าถึงผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างรวดเร็ว

พัฒนาแหล่งบุคลากรเวียดนามเพื่อตอบสนองยุคผสมผสาน - ảnh 1
นักศึกษาสำเร็จการศึกษา(Photo:Hoasen.edu)

มติของการประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่๑๑ระบุว่า แหล่งบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของกำลังผลิตในสังคมและชี้ขาดศักยภาพทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและกลาโหมของประเทศ ในแหล่งพลังต่างๆ แหล่งบุคลากรถือว่าเป็นแหล่งพลังสำคัญในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม

การศึกษาและฝึกอบรมตามความต้องการของสังคม

ปัจจุบัน แรงงานเวียดนามได้รับการชื่นชมจากผู้เชี่ยวชาญระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศว่า มีความคล่องตัว เรียนรู้ได้เร็วและสามารถตามทันการพัฒนาระดับโลกในบางแขนงอาชีพซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สะดวกและเป็นจุดเด่นที่แถวขบวนบุคลากรเวียดนามในยุคใหม่จะอนุรักษ์และส่งเสริมต่อไปเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ  เพื่อผลักดันการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยและผสมผสาน เวียดนามกำลังลงทุนพัฒนาแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพและมีทักษะวิชาชีพสูง สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้เศรษฐกิจเวียดนามพัฒนาตามแนวทางที่ทันสมัยและยั่งยืน กระทรวงศึกษาและฝึกอบรมกำหนดว่า การพัฒนาแหล่งบุคลากรระดับปริญญาตรีตามความต้องการของสังคมเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาที่สำคัญของทั้งหน่วยงานเพื่อมีส่วนร่วมให้แก่ความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงของประเทศ ในแผนปฏิบัติการช่วงปี๒๐๑๑ถึงปี๒๐๑๖ที่กระทรวงศึกษาและฝึกอบรมกำลังปฏิบัติโดยมีเป้าหมายจนถึงปี๒๐๑๕ มหาวิทยาลัยทุกแห่งฝึกอบรมตามหลักสูตรเฉพาะ  นอกจากนี้ ทางกระทรวงยังวางเป้าหมายแบ่งประเภทมหาวิทยาลัยซึ่งจนถึงปี๒๐๑๕จะมีการจัดตั้งกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ฝึกอบรมตามแนวทางวิจัย มหาวิทยาลัยที่ฝึกอบรมตามแนวทางประยุกต์ ใช้และวิทยาลัยชุมชนเพื่อทำให้การฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยมีความเข้มข้นมากขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน  เกี่ยวกับปัญหานี้ ท่านเหงวียนเถี่ยนเญิน ประธานแนวร่วมปิตุภูมิกล่าวว่า“การผลักดันการฝึกอบรมตามความต้องการของสังคมมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของการผสมผสาน กระทรวงศึกษาและฝึกอบรมและกระทรวงแรงงานได้ลงนามข้อตกลงสำคัญ๒ฉบับ นั่นคือ ข้อตกลงกับสมาคมนักธุรกิจของเยอรมนีและสำนักงานช่วยเหลือของรัฐบาลเยอรมนี ข้อตกลงกับสมาคมนักธุรกิจของญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อฝึกอบรมตามความต้องการของสถานประกอบการเยอรมนีและญี่ปุ่นที่กำลังลงทุนในเวียดนามตามมาตรฐานของพวกเขาซึ่งมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพการฝึกอบรมตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ พวกเรายังต้องผลักดันการวิจัยวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับการฝึกอบรมตามความต้องการ การวิจัยวิทยาศาสตร์ก็ต้องตอบสนองความต้องการพัฒนาของประเทศ”

พัฒนาแหล่งบุคลากรเวียดนามเพื่อตอบสนองยุคผสมผสาน - ảnh 2
ท่านเหงวียนเถี่ยนเญิน ประธานแนวร่วมปิตุภูมิ (Photo:vanhoathethao)

ให้ความสำคัญต่อการฝึกสอนอาชีพให้แรงงานในชนบท

ในเวลาที่ผ่านมา เศรษฐกิจเวียดนามได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและผสมผสานเข้ากับโลกอย่างกว้างลึก ดังนั้น เวียดนามจึงต้องการแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงซึ่งในนั้นยุทธศาสตร์ฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบทที่รัฐบาลได้ลงนามอนุมัติถือว่าเป็นกุญแจจะนำไปสู่ความสำเร็จสำหรับโครงการเป้าหมายแห่งชาติต่างๆ โครงการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบทจนถึงปี๒๐๒๐ที่รัฐบาลได้ปฏิบัติในเกือบ๔ปีที่ผ่านมาโดยมีเป้าหมายฝึกอบรมแรงงานในชนบทกว่า๑ล้านคนต่อปีได้ช่วยแก้ไขหลายปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นต่างๆที่กำลังอยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ เฉพาะในปี๒๐๑๓ เวียดนามได้ฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานกว่า๑.๗ล้านคนและแรงงานที่มีงานทำหลังการฝึกอบรมอยู่ที่กว่าร้อยละ๙๐ นอกจากนี้ นโยบายมหภาคต่างๆ เช่น การพัฒนาการเกษตรและชนบทที่เชื่อมโยงกับงานทำ รายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรได้นำมาซึ่งประสิทธิภาพอย่างจริงจังเพราะแรงงานในชนบทมีความมั่นใจในการทำงานและมีรายได้เพียงพอ นายกาววันเซิมรองอธิบดีทบวงฝึกสอนอาชีพ กระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมกล่าวว่า “โครงการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบทเป็นมาตรการสำคัญเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ชนบทใหม่ พวกเราปรับปรุงมาตรฐานเกี่ยวกับทักษะขั้นพื้นฐานในการฝึกสอนอาชีพในชนบท ต้องมีการฝึกอบรมที่เหมาะสมเพื่อให้แรงงานในชนบทสามารถใช้เทคโนโลยีในการผลิตได้ นอกจากนี้ พวกเรายังต้องฝึกอบรมเพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มในสังคมและวุฒิการศึกษาทุกระดับ สำหรับโรงเรียนอาชีวะศึกษาต้องตระหนักได้ดีว่า เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม แหล่งบุคลากรนี้ต้องมีความรู้และทักษะที่ตอบสนองความต้องการของสังคม”
การพัฒนาและยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากรเวียดนามเป็นก้าวกระโดดในภารกิจการสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษาปิตุภูมิซึ่งก็เป็นปัจจัยชี้ขาดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็วและยั่งยืน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด