ฟื้นฟูนโยบายสหราชอาณาจักรสู่โลกหรือ Global Britain อีกครั้งหลัง Brexit

(VOVWORLD) - ในปี 2021 อังกฤษจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือจี7 และการประชุมสุดยอดสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP26 ในสภาวการณ์ที่อังกฤษเพิ่งออกจากสหภาพยุโรปหรืออียูอย่างเป็นทางการ การจัดเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่สำคัญทั้งสองนี้ได้รับการประเมินว่า จะช่วยให้อังกฤษผลักดันความร่วมมือระดับโลกและเสริมสร้างสถานะของประเทศ
ฟื้นฟูนโยบายสหราชอาณาจักรสู่โลกหรือ Global Britain อีกครั้งหลัง Brexit - ảnh 1นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน (THX)

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน ได้ยืนยันว่า ปี 2021 เป็น "ปีที่สำคัญอย่างยิ่งในการชูนโยบายสำหรับสหราชอาณาจักรสู่โลก" เมื่อเขาพยายามเปลี่ยนความความสนใจจากปัญหา Brexit ไปสู่ระเบียบวาระการประชุมใหม่ในฐานะประเทศเจ้าภาพของการประชุมที่สำคัญทั้งสอง  ได้แก่ การประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือจี7 และการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP ครั้งที่ 26

การเสริมสร้างสถานะของประเทศอังกฤษหลังBrexit

คาดว่า การประชุมสุดยอดกลุ่มจี7 และการประชุมCOP ครั้งที่ 26 จะมีขึ้นในเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายนปี 2021 จนถึงขณะนี้ อังกฤษได้เตรียมและกำหนดเป้าหมายสำหรับการประชุมที่สำคัญทั้งสองนี้เพื่อยืนยันถึงบทบาทและเสริมสร้างสถานะของอังกฤษ

สำหรับการประชุมสุดยอดจี7 นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน มีความประสงค์ที่จะเสนอมาตรการแก้ปัญหาระดับโลกเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 วางยุทธศาสตร์ "ฟื้นฟูการพัฒนาที่ดีกว่า" ให้กับโลกและแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของระบบสากล  ควบคู่กับการผลักดันพันธมิตรใหม่ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นผ่านกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ๆ สร้างเวทีเพื่อให้ผู้นำของเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกพบปะโดยตรงหลังจากชะงักงันมาเป็นเวลากว่า 1 ปีเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายกรัฐมนตรีอังกฤษมีแผนการพบปะกับบรรดาผู้นำกลุ่มจี7ก่อนการประชุมสุดยอดเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ รวมถึงมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การเน้นถึงการผลิต การจำหน่ายวัคซีนและการถอดบทเรียนปัญหาฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต 

นายกรัฐมนตรีอังกฤษยังถือการประชุมสุดยอดจี7เป็น "การเตรียมพร้อม" สำหรับการประชุม COP 26 ในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยพยายามสร้างแรงกระตุ้นเพื่อลดการปล่อยมลพิษของประเทศอุตสาหกรรมพัฒนา เนื้อหาสำคัญของการประชุมสุดยอดที่จะจัดขึ้นที่เมือง Glassgow คือการหารือเกี่ยวกับศักยภาพทางเศรษฐกิจและความเป็นไปได้ในการสร้างงานทำภายใต้การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 สหราชอาณาจักรสู่โลก (Global Britain) จะกลายเป็นความจริงหรือไม่?

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2021 อังกฤษได้ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียูอย่างเป็นทางการหลังจากเป็นสมาชิกของกลุ่มนี้เป็นเวลา 48 ปีเพื่อแลกกับการกำหนดอนาคตด้วยตนเอง ภายหลัง Brexit อังกฤษได้กำหนดเส้นทางสู่ภายนอก โดยเฉพาะการมุ่งจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆในแปซิฟิก จนถึงขณะนี้ ทางการลอนดอนได้ลงนามข้อตกลงการค้าหลัง Brexit กับญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ เวียดนามและกับอีกหลายประเทศ ซึ่งช่วยค้ำประกันให้การค้ากับต่างประเทศอยู่ที่ร้อยละ 80 ภายในปี 2022 ทำให้กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษต้องระบุเนื้อหาเกี่ยวกับการช่วยเหลือและการพัฒนาเข้าในโครงการด้านการทูตอย่างรวดเร็ว

แต่อย่างไรก็ตามก็มีแรงกดดันที่ทำให้อังกฤษต้องจำกัดกิจกรรมต่างๆบนเวทีโลก เช่นสถานการณ์ทางการเงินของประเทศ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้อังกฤษต้องประกาศล็อกดาวน์ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2020 รัฐบาลอังกฤษได้ปรับลการให้ความช่วยเหลือนานาชาติจาก 0.7% ของจีดีพีลงเหลือ 0.5% ของจีดีพี และอีกหนึ่งแรงกดดันที่อาจส่งผลต่อนโยบาย Global Britain ก็คือภัยคุกคามต่อบูรณภาพแห่งดินแดนเนื่องจากประชาชนไอร์แลนด์เหนือกำลังคัดค้านจุดยืนของรัฐบาลอังกฤษ โดยในการทำประชามติ Brexit เมื่อปี 2016 ประชาชนร้อยละ 56 โหวตให้อังกฤษอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ที่สกอตแลนด์เพราะผลสำรวจล่าสุดแสดงให้เห็นว่า อัตราการสนับสนุนให้สกอตแลนด์แยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรกำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าหากสกอตแลนด์แยกตัวเป็นประเทศอิสระ รายรับจากภาษีของสหราชอาณาจักรจะลดลงเป็นอย่างมาก ถ้าเป็น่นนี้ รัฐบาลก็จำเป็นต้องปรับลดงบประมาณสำหรับกิจกรรมระหว่างประเทศและการป้องกันประเทศ ซึ่งนี่จะส่งผลให้เครือข่ายสำนักงานตัวแทนการทูตและการค้าที่กว้างขวางของสหราชอาณาจักรได้รับผลกระทบ ส่วนสถานภาพทางการทหารบนเวทีโลกก็จะอ่อนแอลงและนี่จะเป็นปัญหาลูกโซ่ที่ทำให้การปฏิบัตินโยบาย "สหราชอาณาจักรสู่โลก" ยากที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด