(VOVWORLD) - มติที่ 36 ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 8 สมัยที่12 เมื่อวันที่ 22ตุลาคม ปี 2018เกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลของเวียดนามจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045” ได้ยืนยันถึงสถานะและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลและเกาะแก่งจากความได้เปรียบและศักยภาพดังกล่าว อีกทั้งกำหนดหน้าที่พัฒนาเวียดนามให้เป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งและมั่งคั่งจากทะเล
เวียดนามมีความได้เปรียบและศักยภาพมากมายด้านทรัพยากรทางทะเลและเกาะแก่ง |
เวียดนามเป็นประเทศริมฝั่งทะเลตะวันออก มีดัชนีสมุทรศาสตรสูงกว่า 6 เท่าเมื่อเทียบกับดัชนีเฉลี่ยของโลก มี 28 จาก 63 จังหวัดติดทะเล คิดเป็นร้อยละ 42 ของพื้นที่ทั่วประเทศและร้อยละ 45 ของประชากรทั่วประเทศ เวียดนามมีความได้เปรียบและศักยภาพมากมายด้านทรัพยากรทางทะเลและเกาะแก่ง
เวียดนามมีแนวชายฝั่งยาว 3,260 กิโลเมตร มีพื้นที่100 ตารางกิโลเมตรต่อชายฝั่ง 1กิโลเมตร ในขณะที่อัตราเฉลี่ยของโลกคือ 600 ตารางกิโลเมตรต่อชายฝั่ง 1 กิโลเมตร รวมเกาะเล็กเกาะใหญ่ประมาณ 3 พันเกาะ รวมถึงหมู่เกาะหว่างซา เจื่องซา เขตทะเล ไหล่ทวีปเหนืออธิปไตย อำนาจอธิปไตยและอำนาจศาลของเวียดนาม รวมพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งสูงกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับพื้นที่แผ่นดินใหญ่
ศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลที่หลากหลาย
ทะเลเวียดนามมีแร่ธาตุประมาณ 35 ชนิด โดยปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในไหล่ทวีป ซึ่งในปี 2022 กำลังการขุดเจาะน้ำมันของเวียดนามอยู่ที่ 10.84 ล้านตัน ทะเลเวียดนามยังมีสิ่งมีชีวิตประมาณ 11,000 ชนิด ระบบนิเวศกว่า 20 รูปแบบ มีพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล 6 แห่งและสิ่งมีชีวิตประมาณ 1,300 ชนิดบนเกาะต่างๆ ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและระบบนิเวศได้นำมาซึ่งทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยเมื่อปี 2022 ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้อยู่ที่กว่า 9 ล้านตันและใน 6 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 4.27ล้านตัน รองศ.ดร. จูโห่ย ประธานสมาคมผู้ประกอบอาชีพประมงเวียดนาม ได้เผยว่า
“จังหวัดติดทะเลได้อนุมัติแผนการพัฒนาทางทะเลปี 2022 และปีก่อนๆ โดยเศรษฐกิจทางทะเลมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อ GRDP ของท้องถิ่น ส่วนอุตสาหกรรมทางทะเลใหม่ๆ เช่น พลังงานทางทะเล รวมถึงพลังงานลมริมฝั่งทะเลก็มีการพัฒนา”
การมีชายหาด 125 แห่งที่มีอากาศเย็นสบายและทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นปัจจัยที่เอื้อให้แก่การก่อสร้างสถานพักตากอากาศ หรือ รีสอร์ท นอกจากนี้ เกาะและเขตริมฝั่งทะเลมีมรดกต่างๆที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกโลก เขตสงวนชีวมณฑล อุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เทศกาลพื้นเมืองและขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่บ้านประมง ซึ่งการท่องเที่ยวทางทะเลได้สร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 70 ของยอดรายได้ของการท่องเที่ยว
อีกความได้เปรียบที่สำคัญของทะเลเวียดนามคือติดทะเลตะวันออก ซึ่งเป็น 1 ในเส้นทางการขนส่งสินค้าและการเดินเรือที่คึกคักที่สุดในโลกเนื่องจากเชื่อมโยงระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสุมทรแปซิฟิก เวียดนามติดทะเลทั้งทางทิศตะวันออก ตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ ซึ่งเอื้อให้แก่การแลกเปลี่ยนการค้าระหว่างประเทศและการผสมผสานด้านเศรษฐกิจทางทะเล สามารถก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก 10 แห่งและท่าเรือต่างๆที่สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาด 733.18 ล้านตันในปีที่แล้ว เวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการเดินเรือและการค้ากับ 26 ประเทศ มีท่าเรือ 30 แห่ง รวมท่าเทียบเรือ 350 แห่ง ความยาวรวม 45,000 เมตร และมีเขตเศรษฐกิจริงฝั่งทะเล 18 แห่ง ซึ่งเขตทะเลที่กว้างใหญ่ รวมเกาะเล็กเกาะใหญ่หลายพันเกาะเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อค้ำประกันความมั่นคงและกลาโหมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ
เปิดลู่ทางพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลของเวียดนาม
มติที่ 36 ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 8 สมัยที่12 เมื่อวันที่ 22ตุลาคม ปี 2018 เกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลของเวียดนามจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045” ได้ตั้งเป้าหมายพัฒนาเวียดนามเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งและมั่งคั่งจากทะเล พัฒนาอย่างยั่งยืน เจริญรุ่งเรือง ค้ำประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของเศรษฐกิจทางทะเล ดร.ตะดิ่งที รองหัวหน้าคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของสภาแห่งชาติได้ย้ำว่า
“เพื่อแก้ไขปัญหาทะเล เกาะแก่งและการพัฒนา คณะกรรมการกลางพรรคได้ประกาศใช้มติที่ 36 เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลของเวียดนามอย่างยั่งยืนจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 โดยมีวิธีการเข้าถึงใหม่บน 3 เสาหลัก นั่นคือเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม งานด้านกลาโหมและความมั่นคง การต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ”
มติที่ 36 ของคณะกรรมการกลางพรรคฯระบุว่า ถึงปี 2030 อุตสาหกรรมทางทะเลมีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ 10 ของจีดีพี เศรษฐกิจของ 28 จังหวัดและนครริมฝั่งทะเลมีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ 65-70 ของจีดีพี เศรษฐกิจทางทะลพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานโลก นอกจากนี้ เวียดนามได้ขยายการควบคุมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทะเลควบคู่กับการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล นาย เหงวียนวันฟุก รองประธานสภาวิทยาศาสตร์ของสำนักงานพรรคสาขาส่วนกลางได้ประเมินว่า
“มตินี้มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านจิตสำนึกของพรรค รัฐและทั้งระบบการเมืองเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืน อีกทั้งสร้างก้าวกระโดดในการปฏิบัติในด้านนี้ของทั้งพรรค กองทัพและประชาชนทุกคน ตลอดจนสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่การปฏิบัติและการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืนมากขึ้น”
ทั้งนี้และทั้งนั้น แสดงให้เห็นว่า มติที่ 36 ถือเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การปฏิบัติเป้าหมายพัฒนาเวียดนามให้เป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งและมั่งคั่งจากทะเล การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยถือเศรษฐกิจทางทะเลเป็นปัจจัยสำคัญ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางทะเล เป็นฝ่ายรุกในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาน้ำทะเลหนุนและปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งการปฏิบัติมติฯในตลอด 5 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า มตินี้ได้เปิดลู่ทางใหม่เพื่อพัฒนาเวียดนามให้เป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งและมั่งคั่งจากทะเล.