ยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย

(VOVWorld) – เวียดนามกำลังปฏิบัติภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยซึ่งหนึ่งในความต้องการของภารกิจนี้คือ แหล่งบุคลากรที่มีสุขภาพแข็งแรง สามารถเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว มีทักษะการทำงานในขณะที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นับวันยิ่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนา การพัฒนาแหล่งบุคลากรเป็นหนึ่งในมาตรการก้าวกระโดดเชิงยุทธศาสตร์๓ประการเพื่อมีส่วนร่วมสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านแหล่งบุคลากรและพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ในโอกาสวันแรงงานสากล๑พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามขอเสนอบทความซึ่งกล่าวถึงความพยายามของหน่วยงานทุกระดับในการฝึกอบรมแถวขบวนแรงงานเวียดนาม


(VOVWorld) – เวียดนามกำลังปฏิบัติภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยซึ่งหนึ่งในความต้องการของภารกิจนี้คือ แหล่งบุคลากรที่มีสุขภาพแข็งแรง สามารถเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว มีทักษะการทำงานในขณะที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นับวันยิ่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนา การพัฒนาแหล่งบุคลากรเป็นหนึ่งในมาตรการก้าวกระโดดเชิงยุทธศาสตร์๓ประการเพื่อมีส่วนร่วมสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านแหล่งบุคลากรและพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ในโอกาสวันแรงงานสากล๑พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามขอเสนอบทความซึ่งกล่าวถึงความพยายามของหน่วยงานทุกระดับในการฝึกอบรมแถวขบวนแรงงานเวียดนาม
ยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย - ảnh 1
มหาวิทยาลัยFPTซึ่งเป็นสถานที่ผลิตนักวิชาการ โปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ที่มีทักษะวิชาชีพสูง(Photo:Dantri)

หน่วยงานอุตสาหกรรมถ่านหินถือเป็นหน่วยงานหลักในแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรม ปัจจุบัน เครือบริษัทถ่านหินและแร่ธาตุมีเจ้าหน้าที่พนักงาน๑แสน๓หมื่น๘พันคนซึ่งส่วนใหญ่คือกรรมกรเหมืองที่ทำงาน ณ จังหวัดQuảng Ninh มีประมาณ๑แสน๑หมื่น๓พันคน กรรมกรเหล่านี้มีระดับฝีมือตั้งแต่๓ถึง๔ขึ้นไปและได้รับการฝึกอบรมเพื่อเติมความรู้และทักษะวิชาชีพเพื่อทำงานและลดความเสี่ยงในกระบวนการทำเหมือง จากการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและความต้องการถ่านหินที่สูงในปัจจุบัน ในอนาคต หน่วยงานถ่านหินมีแผนขยายการทำเหมือง ไฟฟ้าในอุโมง การควบคุมก๊าซพิษ การขนส่งและการแปรรูปถ่านหินเป็นก๊าซซึ่งต้องการแถวขบวนกรรมกรที่มีความรู้ในระดับสูงเพื่อใช้เทคโนโลยีใหม่และตอบสนองความต้องการการพัฒนาของหน่วยงาน ดร.Lê Thành Hà รองหัวหน้าสถาบันกรรมกรและสหภาพแรงงานแห่งสหภาพแรงงานเวียดนามกล่าวว่า “ถ้าอยากสร้างสรรค์แถวขบวนกรรมกรเหมืองที่สามารถตอบสนองความต้องการการพัฒนาของหน่วยงานต้องยกระดับคุณภาพโรงเรียนสอนอาชีพของหน่วยงานถ่านหินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะ ของเครือบริษัทถ่านหิน ต้องยกระดับความรู้ของแถวขบวนอาจารย์ที่สอนอาชีพและเพิ่มอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้จริงในภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการฝึกสอนอาชีพสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่และสามารถทำงานได้ทันทีหลังจากเรียนจบในการใช้เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตสูงและทันสมัยต้องมีความรู้และทักษะวิชาชีพ ดังนั้นบทบาทของกรรมกรเทคนิคที่มีฝีมือระดับสูงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งซึ่งเป็นแนวทางที่โรงเรียนฝึกอบรมกรรมกรฝ่ายเทคนิค โดยเฉพาะหน่วยงานถ่านหินต้องปฏิบัติ”
หนึ่งในความต้องการที่สำคัญของกระบวนการนำเวียดนามผสมผสานเข้ากับกระแสการพัฒนาของโลกคือ การสร้างกระบวนการกรรมกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้และทักษะวิชาชีพสูง ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีกำลังพัฒนาอย่างเข้มแข็งซึ่งต้องการแถวขบวนกรรมกรที่มีความรู้ในระดับสูง โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เวียดนาม ในหลายปีที่ผ่านมารัฐและรัฐบาลได้ให้ความสนใจลงทุนในด้านนี้ โดยเฉพาะการจัดตั้งมหาวิทยาลัยFPTตามมติของนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยFPTได้ผลิตนักวิชาการ โปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ที่มีทักษะวิชาชีพสูงป้อนให้แก่ตลาดแรงงานและได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จที่สุดในปี๒๐๑๒จากสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศเวียดนามหรือICT  นายNguyễn Xuân Phong รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยFPT กล่าวว่า “ความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยFPTกับมหาวิทยาลัยอื่นๆคือ การฝึกอบรมวิศวกรอุตสาหกรรม หมายความว่า ฝึกอบรมในรูปแบบร่วมมือกับสถานประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงการฝึอบรมกับภาคปฏิบัติ การวิจัยและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ปรัชญาและวิธีการสอนที่ทันสมัย ฝึกอบรมในทุกด้านและผสมผสาน เข้าถึง โครงการได้รับการอับเดบและปฏิบัติตามมาตรฐานเทคโนโลยีสากล ให้ความสำคัญต่อทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ขยายการฝึกอบรมด้านขั้นตอนการผลิต ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกลุ่มและทักษะส่วนตัวอื่นๆซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยมีโอกาสทำงานในเครือบริษัทFPTและสถานประกอบการชั้นนำอื่นๆ”          
ปัจจุบัน ควบคู่กับการฝึกอบรมระดับอาชีวะศึกษาและวิทยาลัย ยังมีศูนย์สอนอาชีพกว่า๑หมื่น๓พันแห่ง  ต่อความต้องการพัฒนาในยุคใหม่ของประเทศ  คุณภาพการฝึกอบรมในศูนย์สอนอาชีพต่างๆได้ถูกให้ความสำคัญยิ่งกว่าเวลาใดทั้งหมดเพราะนี่เป็นสถานที่สนองแหล่งบุคลากรจำนวนมากให้แก่ตลาดแรงงาน ดังนั้น เป้าหมายโดยรวมในยุทธศาสตร์พัฒนาการสอนอาชีพในช่วงปี๒๐๑๑ถึงปี๒๐๒๐ซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่นายกรัฐมนตรีNguyễn Tấn Dũng ได้ลงนามอนุมัติ เมื่อปี๒๐๑๒ระบุว่า  จนถึงปี๒๐๒๐ การสอนอาชีพต้องตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โครงสร้างอาชีพ และระดับการฝึกอบรม คุณภาพการฝึกอบรมของบางอาชีพต้องพัฒนาทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาในอาเซียนและโลก  สร้างสรรค์แถวขบวนแรงงานที่มีฝีมือ มีส่วนร่วมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ท่านPhạmThị Hải chuyền รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเผยว่า “เวียดนามมีแรงงานรุ่นใหม่จำนวนมากแต่แรงงานที่มีความรู้ในระดับสูงมีไม่มาก นัก ดังนั้นรัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์การสอนอาชีพโดยให้ความสนใจต่อการสอนอาชีพให้แก่เยาวชนเพื่ออำนวยความสะดวกในการหางานของเยาวชน โดยเฉพาะงานทำที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการที่พัฒนาในระยะปัจจุบัน  ในกระบวนการฝึกอบรมนี้ ต้องมีการประสานระหว่างสถานประกอบการกับสถานที่ฝึกอบรม โดยเฉพาะ อำนวยความสะดวกให้หน่วยงานและสถานประกอบการฝึกอบรมแรงงานเองเพื่อให้แรงงานสามารถยกระดับทักษะวิชาชีพ ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานและสถานประกอบการนั้นๆเช่นเดียวกับความต้องการของประเทศที่ต้องการยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากร”            บรรดาผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคและโลกชื่นชมว่า แรงงานเวียดนามมีความคล่องตัว เรียนรู้เร็ว สามารถตามทันโลกในบางสาขาอาชีพซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สะดวกและก็เป็นข้อดีที่แถวขบวนกรรมกรในยุคใหม่ควรรักษาและส่งเสริมเพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาของประเทศ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด