ยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกประสบอุปสรรคจากพันธมิตร AUKUS

(VOVWORLD) - ความสัมพันธ์พันธมิตรที่มีมาช้านานระหว่างสหรัฐกับประเทศต่างๆในยุโรปที่นำโดยฝรั่งเศส กำลังเผชิญกับความท้าทาย หลังจากที่เมื่อวันที่16กันยายน สหรัฐ อังกฤษและออสเตรเลียประกาศข้อตกลงจัดตั้งพันธมิตร AUKUS ซึ่งตามข้อตกลงนี้ ออสเตรเลียจะซื้อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์จากสหรัฐและอังกฤษแทนการซื้อเรือดำน้ำจากฝรั่งเศส มูลค่าเกือบ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ได้ลงนามกันไว้ก่อนหน้านี้
ยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกประสบอุปสรรคจากพันธมิตร AUKUS - ảnh 1นาย ฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส (Reuters)

การตัดสินใจของออสเตรเลียในการยกเลิกสัญญาซื้อเรือดำน้ำจากฝรั่งเศสเพื่อไปซื้อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์จากสหรัฐและอังกฤษได้มีขึ้นหลังจากที่เมื่อ 3 เดือนก่อน ปารีสได้พ่ายแพ้วอชิงตันในการขายเครื่องบินรบให้แก่สวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวได้มีขึ้นในช่วงเวลาที่อ่อนไหวเมื่อฝรั่งเศสกำลังจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนเมษายนปีหน้า 

สหรัฐพยายามลดทอนความโกรธของฝรั่งเศส
หลังจากที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่ม AUKUS เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสหลายคนได้แสดงความโกรธโดยถือเป็นการกระทำที่ "ทรยศ"ต่อ พันธมิตร ในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุ Franceinfo นาย ฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสได้ย้ำว่า “นี่ไม่ใช่สิ่งที่พันธมิตรกระทำต่อกัน” และเมื่อวันที่ 17 กันยายน ปารีสได้เรียกเอกอัครราชทูตประจำกรุงวอชิงตันและแคนเบอร์รากลับประเทศเพื่อปรึกษาหารือ ซึ่งถือเป็นก้าวถอยหลังที่รุนแรงในความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับทั้งสหรัฐและออสเตรเลียในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สำหรับอังกฤษ นาง ฟลอเรนซ์ พาร์ลีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสได้ตัดสินใจยกเลิกการประชุมทวิภาคีกับนาย เบน วอลเลซ รัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ส.ส. ฌอง-ลุค เมเลงชอน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต
ในส่วนของสหภาพยุโรปหรืออียู เมื่อวันที่ 20 กันยายน นางอูร์ซูลา ฟอน แดร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้มีปฏิกิริยาครั้งแรกเกี่ยวกับปัญหานี้โดยกล่าวว่า "มีคำถามหลายข้อที่ต้องตอบ ประเทศสมาชิกของเรากำลังถูกปฏิบัติในทางที่ไม่สามารถยอมรับได้" ถึงแม้ว่าเป็นคำประกาศที่ระมัดระวัง แต่ก็แสดงให้เห็นว่า ยุโรปไม่พอใจกับเหตุการณ์ดังกล่าว
เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ นาย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ยืนยันเมื่อวันที่ 16 กันยายนว่า ฝรั่งเศสยังคงเป็น "หุ้นส่วนสำคัญ" ในยุทธศาสตร์ของวอชิงตันในเอเชีย โดยเน้นว่า ไม่มีความขัดแย้งใดสามารถขัดขวางผลประโยชน์ของหุ้นส่วนต่างๆกับสหรัฐในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดียได้ และเมื่อวันที่ 19 กันยายน นาย กาเบรียล อัตตาล โฆษกของรัฐบาลฝรั่งเศสได้กล่าวว่า ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้เสนอให้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็ม มานูเอล มาครงใน "อีกไม่กี่วันข้างหน้า" เพื่ออธิบายเกี่ยวกับปัญหานี้ 
ยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกประสบอุปสรรคจากพันธมิตร AUKUS - ảnh 2นาย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (Reuters)

ภาวะที่ลำบากเหมือนกันของทั้งสองฝ่าย

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ในกรณีนี้ ฝรั่งเศสไม่เพียงแต่ได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะในขณะที่ฝรั่งเศสเตรียมเข้าสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้าและจะเข้ารับตำแหน่งประธานหมุนเวียนของสภายุโรปในวันที่ 1 มกราคมปี 2022 ซึ่งทำให้นักการเมืองฝรั่งเศสถูกกดดันเป็นอย่างมากว่าต้องมีท่าทีที่เหมาะสม ในอดีต มีหลายครั้งที่ฝรั่งเศสได้มีท่าทีที่แข็งกร้าว ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี 1996 ฝรั่งเศสได้ถอนตัวจากกองบัญชาการทหารของนาโต แต่ยังไม่ได้ยุติการเป็นสมาชิกนาโต ซึ่งส่งผลให้มีการย้ายสำนักงานใหญ่ของนาโตจากกรุงปารีสไปยังกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม และเมื่อปี 2020 ฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกจากยุทธนาการที่ตรวจสอบการเดินเรือของนาโตเนื่องจากมีความขัดแย้งกับตุรกี และประเทศสมาชิกนาโต
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากฝรั่งเศสมีท่าทีที่แข็งกร้าวมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองกลุ่ม แน่นอนว่า ทั้งอียูและนาโตจะไม่เห็นด้วยกับการที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็ม มานูเอล มาครง ยังไม่แสดงท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งนี่หมายความว่าฝรั่งเศสกำลังพิจารณาอย่างรอบคอบในเรื่องการตอบโต้ 
ในทำนองเดียวกัน เหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลสหรัฐอยู่ในสถานะที่ยากลำบากเช่นกัน ซึ่งปฏิกิริยาของทั้งฝรั่งเศสและยุโรปอาจส่งผลกระทบต่อความพยายามของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในการกระชับความสัมพันธ์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงยุทธศาสตร์ในการหันมาสนใจภูมิภาคเอเชีย ในเวลาที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้ปฏิบัติก้าวเดินต่างๆเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับพันธมิตรยุโรป ซึ่งเสื่อมถอยลงเป็นอย่างมากในสมัยของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เนื่องจากการที่วอชิงตันได้เรียกร้องให้พันธมิตรยุโรปสมทบเงินทุนมากขึ้นให้แก่การใช้จ่ายด้านกลาโหมของนาโตและการที่สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงพหุภาคีต่างๆ
ในยุทธศาสตร์มุ่งสู่เอเชีย ทางการสหรัฐได้ยืนยันหลายครั้งถึงบทบาทสำคัญของพันธมิตรยุโรป  โดยพยายามโน้มน้าวให้บรรดาประเทศยุโรปเข้าร่วม ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดที่สหรัฐ ฝรั่งเศส บรรดาประเทศยุโรปและพันธมิตรที่สำคัญอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย จะพยายามปฏิบัติคือ จะหาทางแก้ไขเพื่อลดความตึงเครียดเพื่อค้ำประกันการปฏิบัติเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งก่อนอื่นคือวิสัยทัศน์เกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีภาพและเปิดกว้าง เมื่อวันที่ 18 กันยายน พลเรือเอก Rob Bauer ประธานคณะกรรมการทหารของนาโตได้กล่าวว่า ข้อพิพาทระหว่างฝรั่งเศสกับสหรัฐและออสเตรเลียน่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อ "ความร่วมมือทางทหาร" ของกลุ่ม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด