ยากที่จะคาดการณ์ถึงผลกระทบจากการปะทะระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน

(VOVworld)หลังจากเกิดการปะทะอย่างรุนแรงในเขตพิพาท นาร์กอโน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) ระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจานมาหลายวัน วันที่ 5 เมษายน ทั้งสองฝ่ายก็ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงถึงแม้ทุกฝ่ายได้ยืนยันถึงความตั้งใจที่จะปฏิบัติข้อตกลงหยุดยิงเพื่อมุ่งสู่การเจรจาสันติภาพและแก้ไขการพิพาท แต่ต้นเหตุของความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์และศาสนาระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจานตั้งแต่อดีตและการแซกแทรงจากประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมืองของยุโรป

(VOVworld)หลังจากเกิดการปะทะอย่างรุนแรงในเขตพิพาท นาร์กอโน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) ระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจานมาหลายวัน วันที่ 5 เมษายน ทั้งสองฝ่ายก็ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงถึงแม้ทุกฝ่ายได้ยืนยันถึงความตั้งใจที่จะปฏิบัติข้อตกลงหยุดยิงเพื่อมุ่งสู่การเจรจาสันติภาพและแก้ไขการพิพาท แต่ต้นเหตุของความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์และศาสนาระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจานตั้งแต่อดีตและการแซกแทรงจากประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมืองของยุโรป

ยากที่จะคาดการณ์ถึงผลกระทบจากการปะทะระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน - ảnh 1
รถถังของกองทัพอาเซอร์ไบจานในเขต นาร์กอโน-คาราบัค (AFP)

ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจานมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เที่ยงวันที่ 5 เมษายนตามเวลาท้องถิ่นและคำสั่งหยุดยิงได้รับการปฏิบัติหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง ก่อนหน้านั้น การปะทะที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน ณ บริเวณเขตพิพาท นาร์กอโน-คาราบัค ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คน รวมทั้งประชาชนผู้บริสุทธิ์และมีผู้ได้รับบาดเจ็บนับร้อยคนและถึงแม้จะมีการประกาศว่าจะให้ความเคารพข้อตกลงหยุดยิงที่เพิ่งบรรลุ แต่คำประกาศพร้อมทัศนะที่แข็งกร้าวของทุกฝ่ายที่จะไม่ประนีประนอมต่อคำเรียกร้องอธิปไตยก็เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า ความตึงเครียดในภูมิภาคนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวล
ความขัดแย้งมาจากอดีต
ในสมัยสหภาพโซเวียต เขตนาร์กอโน-คาราบัค เป็นจังหวัดในสังกัดของสาธารณรัฐสังคมนิยมอาเซอร์ไบจาน แต่อาร์เมเนียและอาร์เซอไบจานได้มีการพิพาทกันเหนือเขตดินแดนนี้ เพราะนาร์กอโน-คาราบัค เป็นเขตที่ชาวอาร์เมเนียอาศัยมานานแล้ว การปะทะระหว่างสองฝ่ายได้เกิดขึ้นเมื่อปี 1988 และยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายปีและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ก็ถือเป็นการสิ้นสุดกันชนที่กั้นกลางระหว่างสองฝ่ายและนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน เมื่อวันที่ 6 มกราคมปี1992 เขตนาร์กอโน-คาราบัคได้ประกาศเอกราช แยกตัวออกจากอาเซอร์ไบจานและหลังจากทำสงครามอย่างดุเดือดมาเป็นเวลา 6 ปี ทั้งสองฝ่ายก็พร้อมที่จะลงนามคำสั่งหยุดยิง
ถึงแม้ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงและการเจรจาสันติภาพหลายครั้ง ภายใต้การเป็นคนกลางของกลุ่มมินสค์สังกัดองค์การความมั่นคงและความร่วมมือยุโรปหรือโอเอสซีอีโดยรัสเซีย สหรัฐและฝรั่งเศสเป็นประธาน แต่การปะทะในเขตนี้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยนับตั้งแต่ปี 2008 ทั้งสองฝ่ายได้จัดการพบปะระดับสูงหลายครั้งเพื่อแก้ไขปัญหานี้ แต่ยังไม่สามารถบรรลุมาตรการใดๆเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างถือเขตพิพาทอยู่ในอธิปไตยของตนและไม่ยอมรับแผนการไกล่เกลี่ย
จากการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงครั้งนี้ ทุกฝ่ายได้ให้คำมั่นที่จะให้ความเคารพข้อตกลงที่ได้บรรลุ รักษาสภาพเดิม แสวงหามาตรการที่สันติเพื่อแก้ไขการปะทะนี้ แต่คำประกาศที่แข็งกร้าวของทั้งสองฝ่าย ตลอดจนการแซกแทรงจากประเทศที่เกี่ยวข้องได้ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคนี้ร้อนแรงมากขึ้นโดยฝ่ายอาเซอร์ไบจานได้ย้ำว่า ถึงแม้ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุคำสั่งหยุดยิง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อาเซอร์ไบจานจะละทิ้งเจตนาฟื้นฟูอธิปไตยเหนือเขตนาร์กอโน-คาราบัค พร้อมทั้งยืนยันว่า ไม่ลังเลที่จะทำการตอบโต้ทันทีถ้าหากอาร์เมเนียละเมิดข้อตกลงหยุดยิงที่เพิ่งบรรลุ ในขณะเดียวกัน อาร์เมเนียก็ได้ยืนยันว่า จะปกป้องชมรมชาวอาร์เมเนียในเขตนี้ แถมยังประกาศว่า ถ้าหากการปะทะในเขตพิพาทไม่ยุติลงและบานปลายออกไป อาร์เมเนียก็จะรับรองเอกราชของสาธารณรัฐ นาร์กอโน-คาราบัค


ยากที่จะคาดการณ์ถึงผลกระทบจากการปะทะระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน - ảnh 2
บ้านเรือนที่ถูกทำลายจากการพิพาทในนาร์กอโน-คาราบัค (AFP)

ผลที่ตามมายากที่จะคาดการณ์ได้
การปะทะระหว่างอาเซอร์ไบจานกับอาร์เมเนียนำไปสู่การแซกแทรงจากหลายประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรัสเซียและตุรกี ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างอังการากับมอสโคว์ยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นหลังจากเกิดเหตุเครื่องบินรบ Su-24 ของรัสเซียถูกยิงตก การพิพาทระหว่างอาร์เมเนียซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของรัสเซียกับอาเซอร์ไบจานที่ได้รับการสนับสนุนจากตุรกีเป็นข้ออ้างเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายแสดงความแข็งแกร่งและอิทธิพล ในขณะที่หุ้นส่วนจากภายนอกต่างเรียกร้องให้อาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียต้องใช้ความอดกลั้นและปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง แต่ตุรกีได้ออกมาประกาศสนับสนุนอาเซอร์ไบจานด้วยทุกวิธีทางโดยปิดชายแดนที่ติดกับอาร์เมเนีย ขัดแขวงความสัมพันธ์ด้านการค้าและเศรษฐกิจของอาร์เมเนียกับภายนอก สำหรับอาร์เมเนีย รัสเซียเป็นพันธมิตรที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดโดยหลังจากเกิดสงครามในช่วงปี 1988-1994 อาร์เมเนียได้ควบคุมเขตนี้ซึ่งที่นี่มีฐานทัพของรัสเซียและรัสเซียสนับสนุนอาร์เมเนียทั้งด้านการเมืองและการทหาร ดังนั้นไม่น่าแปลกใจที่ในวันที่ 7 เมษายน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมีตรี เมดเวเดฟ ได้เดินทางไปเยือนอาร์เมเนียเพราะถึงแม้ปัญหานาร์กอโน-คาราบัคของอาร์เมเนียไม่ถูกระบุในข้อตกลงของพันธมิตรรัสเซีย-อาร์เมเนีย แต่รัสเซียก็ไม่สามารถนิ่งเฉยได้เพราะถ้าหากสถานการณ์ในอาร์เมเนียเลวร้ายลง ผลประโยชน์ของรัสเซียก็จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า ทุกยุทธนาการณ์ทางทหารที่เกิดขึ้นจะทำให้การปะทะในเขตร้อนระอุนี้บานปลายอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้โดยมีการเข้าร่วมของหลายฝ่ายและ สถานการณ์การสู้รบที่รุนแรงมากขึ้นอาจจะนำไปสู่ผลร้ายที่ยากจะคาดการณ์ได้และอาจขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและเสถียรภาพของเขตคอเคซัสใต้และทั้งทวีปยุโรป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด