ยุโรปสะท้อนความแตกแยกในวิกฤตของเบลารุส

(VOVWORLD) - นอกจากความตึงเครียดระหว่างตุรกีกับกรีซในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน วิกฤตการเมืองในเบลารุสก็กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติทั้งในภูมิภาคและโลก โดยเฉพาะการที่ภายในสหภาพยุโรปกำลังเกิดความขัดแย้งในทัศนะเกี่ยวกับวิธีเข้าถึงวิกฤตนี้
ยุโรปสะท้อนความแตกแยกในวิกฤตของเบลารุส - ảnh 1ผู้ชุมนุมคัดค้นผลการเลือกตั้ง (kinhtedothi.vn)

วิกฤตการเมืองในเบลารุสมีจุดเริ่มต้นจากการชุมนุมประท้วงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเบลารุสเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น หลังจากมีการประกาศผลการเลือกตั้ง นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้ส่งโทรเลขแสดงความยินดีถึงประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก และยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นผลักดันความสัมพันธ์พันธมิตรที่ใกล้ชิดระหว่างรัสเซียกับเบลารุส ในขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปหรืออียูและประเทศตะวันตกต่างๆได้ออกมาสนับสนุนการชุมนุมของฝ่ายค้านที่ประท้วงผลการเลือกตั้ง อีกทั้งขู่ว่า จะใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อทางการเบลารุส แต่ภายในกลุ่มอียูกำลังมีความแตกแยกอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหานี้

ท่าทีของทางการอียู

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม หลังจากผลการเลือกตั้งได้รับการประกาศด้วยชัยชนะเป็นของประธานาธิบดี ลูกาเชนโก นักการทูตหลายคนของอียูและสหรัฐได้ประกาศว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีเบลารุสไม่มีความยุติธรรมและไม่มีความเป็นอิสระ โดยนาง เออร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไล (Ursula von der Leyen) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซีได้เตือนว่า จะใช้มาตรการคว่ำบาตรที่จำเป็นต่อเจ้าหน้าที่ของเบลารุสเนื่องจากได้ “ละเมิดคุณค่าของประชาธิปไตยและฉกฉวยใช้ประเด็นสิทธิมนุษยชน” ต่อจากนั้น ประธานสภายุโรป ชาร์ลส์ มิเชล (Charles Michel)  ได้ประกาศว่า อียูไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเบลารุสและ “อียูจะใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง สลายการชุมนุมและทุจริตในการเลือกตั้ง”

โดยภายหลังการเลือกตั้งในเบลารุส 10 วัน เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม บรรดาผู้นำอียูก็ได้จัดการประชุมฉุกเฉินผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตในเบลารุส แต่ประเทศสมาชิกอียูกำลังมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงวิกฤตในเบลารุส โดยเฉพาะการใช้มาตรการคว่ำบาตร จนถึงขณะนี้ อียูยังไม่สามารถมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรเบลารุส ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแตกแยกอย่างเด่นชัดภายในกลุ่มอียูต่อหนึ่งในปัญหาที่ร้อนระอุที่สุดของยุโรปในปัจจุบัน

ยุโรปสะท้อนความแตกแยกในวิกฤตของเบลารุส - ảnh 2 บรรดาผู้นำอียูก็ได้จัดการประชุมฉุกเฉินผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตในเบลารุส  ( anninhthudo.vn)

ความแตกแยกในทัศนะระหว่างประเทศสมาชิกอียู

ตามแหล่งข่าวต่างๆในยุโรป อียูกำลังจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลในเบลารุสที่ถูกอายัดทรัพย์สินหรือห้ามเดินทางเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องถึงความไร้เสถียรภาพในเบลารุส ซึ่งอาจมีเกือบ 20 คนหรือมากกว่านี้ จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม มีแค่ ประเทศสมาชิกอียูคือเอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนียที่มีคำสั่งห้ามนาย ลูกาเชนโก และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเบลารุส 29 คน เข้าประเทศ ในขณะที่ 24 ประเทศสมาชิกที่เหลือของอียูยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ

ที่น่าสนใจคือ ประเทศใหญ่ๆของอียู เช่นเยอรมนีและฝรั่งเศสมีความประสงค์เน้นผลักดันมาตรการทางการทูตในการแก้ไขวิกฤต ในคำประกาศเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม นาย เอ็มมานูเอล มากรง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้เสนอให้อียูเป็นคนกลางในการแก้ไขวิกฤตในเบลารุสในปัจจุบัน และแสดงความเห็นว่า การสนทนาเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับทัศนะนี้ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้ย้ำถึงความสำคัญของการธำรงการสนทนากับรัสเซียเกี่ยวกับสถานการณ์ในเบลารุส และยืนยันว่า ทางการมอสโคว์มีบทบาทสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ระดับโลก

ส่วนในฐานะพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของเบลารุส รัสเซียคัดค้านการแทรกแซงและการคว่ำบาตรต่อเบลารุส โดยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก ลาฟรอฟ ได้กล่าวหากลุ่มอิทธิพลจากต่างประเทศว่าฉกฉวยวิกฤตในปัจจุบันเพื่อแทรกแซงกิจการภายในของเบลารุส และย้ำว่า ไม่จำเป็นต้องมีคนกลางจากภายนอกเพื่อแก้ไขความไร้เสถียรภาพในเบลารุส ก่อนหน้านั้น ในการพูดคุยทางโทรศัพท์กับนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิลและประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มากรง เกี่ยวกับสถานการณ์ในเบลารุส ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้ยืนยันว่า การแทรกแซงจากภายนอกต่อกิจการภายในของเบลารุสจะทำให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียดและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด