ยุโรปเผชิญกับความเสี่ยงจากผู้ก่อการร้าย

(VOVworld)เหตุระเบิดหลายครั้งที่เกิดขึ้นในกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมซึ่งถือเป็นหัวใจของยุโรปได้ปรากฎให้เห็นถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับกองกำลังครูเสดยุโรปรุ่นใหม่ที่กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสกำลังสร้างขึ้นจนทำให้ยุโรปต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่รุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อนเหมือนปัจจุบัน

(VOVworld)เหตุระเบิดหลายครั้งที่เกิดขึ้นในกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมซึ่งถือเป็นหัวใจของยุโรปได้ปรากฎให้เห็นถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับกองกำลังครูเสดยุโรปรุ่นใหม่ที่กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสกำลังสร้างขึ้นจนทำให้ยุโรปต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่รุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อนเหมือนปัจจุบัน

ยุโรปเผชิญกับความเสี่ยงจากผู้ก่อการร้าย - ảnh 1
เหตุระเบิดในสนามบินกรุงบรัสเซลส์ (Reuters)

ได้มีผู้เสียชีวิต 34 คนและได้รับบาดเจ็บ 230 คนจากเหตุระเบิดหลายครั้ง ณ สนามบินซาเวนเท็มและสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมเมื่อเช้าวันที่ 22 มีนาคมซึ่งได้สร้างความสะเทือนใจให้คนทั้งโลก เหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นหลังจากตำรวจเบลเยี่ยมจับกุมตัวนาย Salah Abdeslam ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุระเบิดก่อการร้ายในกรุงปารีสเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนปี 2015 ไม่กี่วันและกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุก่อการร้ายในกรุงบรัสเซลส์แถมยังเตือนว่า วันแห่งความมืดมนต์จะเข้ามาถ้าหากฝ่ายตะวันตกมีการตอบโต้
ทำไมเบลเยี่ยมกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีก่อการร้าย

เบลเยี่ยม หัวใจของสหภาพยุโรปหรืออียูกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีก่อการร้ายเนื่องจากกรุงบรัสเซลส์ถือเป็นเป้าหมายที่อ่อนไหวที่สุดของยุโรปซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานของอียูและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้  องค์การและบริษัทระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของรัฐบาลเบลเยี่ยม จากกรุงบรัสเซลส์ นาโต้ได้ส่งเครื่องบินรบไปเข้าร่วมยุทธนาการต่อต้านกลุ่มไอเอสในตะวันออกกลาง
หลังจากเกิดเหตุก่อการร้ายที่นองเลือดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนปี 2015 ณ กรุงปารีส ตำรวจเบลเยี่ยมได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับตำรวจฝรั่งเศสและสำนักงานตำรวจยุโรปหรือยูโรโพลเพื่อไล่ล่าผู้ก่อการร้ายในกรุงบรัสเซลส์จนนำไปสู่การจับกุมตัวผู้ก่อการร้ายคนสำคัญ Salah Abdeslam ซึ่งทำให้สำนักงานต่อต้านการก่อการร้ายของฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมรู้สึกโล่งใจเสมือนสามารถแก้ไขอุปสรรคที่สำคัญในการสืบสวนเหตุระเบิดครั้งต่างๆในกรุงปารีส แต่การโจมตีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ในกรุงบรัสเซลส์ได้ทำให้กองกำลังต่อต้านการก่อการร้ายของเบลเยี่ยมและยุโรปรู้สึกตกใจเพราะเป็นที่ชัดเจนว่า ผู้ก่อการร้ายสามารถซ่อนตัวได้ดีในสภาวการณ์ที่ตำรวจเบลเยี่ยมระดมกำลังตามไล่ล่าอย่างเข้มงวดและการที่ผู้ก่อการร้ายทำการโจมตีตามสถานที่ที่ได้รับการรักษาความมั่นคงอย่างเข้มงวดอย่างสนามบินและสถานีรถไฟใต้ดินที่อยู่ใกล้สำนักงานของสหภาพยุโรปเหสือนเป็นคำท้าทายต่อเจ้าหน้าที่ของเบลเยี่ยม ตลอดจนผู้นำของยุโรป
การที่นาย Salah Abdeslam ผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายที่ถูกไล่ล่าที่เข้มงวดมากที่สุดในยุโรปสามารถหลบหนีในเขต Molembeek ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมเป็นเวลาถึง 4 เดือนได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กองกำลังหัวรุนแรงมีเครือข่ายที่มั่นคงเพื่อให้การช่วยเหลือสมาชิกและได้ตั้งฐานที่มั่นในใจกลางยุโรป

ยุโรปเผชิญกับความเสี่ยงจากผู้ก่อการร้าย - ảnh 2
เหตุระเบิดในสถานีรถไฟใต้ดิน (Reuters)

การโจมตีก่อการร้ายครั้งต่างๆในกรุงบรัสเซลส์ได้แสดงให้เห็นอีกครั้งว่า ยุโรปมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกโจมตี ตามรายงานสถิติล่าสุดของศูนย์วิเคราะห์การก่อการร้ายของฝรั่งเศสปรากฎว่า มีพลเมืองฝรั่งเศสกว่า 2 พันคน พลเมืองอังกฤษ 1600 คน พลเมืองเยอรมนี 800 คนและพลเมืองเบลเยี่ยมกว่า 530 คนถูกชักชวนเดินทางออกจากยุโรปเพื่อเข้าร่วมขบวนการครูเสดหัวรุนแรง เครือข่ายก่อการร้ายกำลังพยายามสร้างนักรบใหม่ด้วยการรับสมัครและฝึกอบรมให้แก่พลเมืองของยุโรปเพื่อส่งกลับประเทศทำการโจมตีก่อการร้ายโดยกำลังเหล่านี้มีเอกสารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ใช้ภาษาถิ่นอย่างคล่องแคล่วและคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมีทักษะในการใช้อาวุธ ถึงแม้สำนักงานต่อต้านการก่อการร้ายของยุโรปสามารถขัดขวางแผนการก่อการร้ายได้หลายครั้ง แต่ปัจจุบัน กองกำลังนี้กำลังทำงานหนักเกินไปและแน่นอนว่า ผู้ก่อการร้ายหลายคนหลบหนีได้สำเร็จ นอกจากนั้น ยุโรปกำลังต้องเผชิญกับสถานการณ์เยาวชนมุสลิมซึ่งถือเป็นแหล่งบุคลากรที่อุดมสมบูรณ์ของกระบวนการก่อการร้ายครูเสดที่มีความคิดว่า พวกเขาเป็นเหยื่อของอคติและการเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงานและในสังคม ตามผลการสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์และการเลือกปฏิบัติของสหภาพยุโรปปรากฎว่า เยาวชนมุสลิม1ใน3ตอบว่า เคยถูกเลือกปฏิบัติและผู้ที่มีท่าทีที่เข้มแข็งที่สุดต่อสถานการณ์นี้คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16-24 ปีโดยพวกเขามีความเป็นไปได้สูงที่จะตกงานและได้รับค่าจ้างต่ำกว่าชาวพื้นเมืองยุโรปจนทำให้พวกเขาตกเข้าสู่ภาวะยากจนอย่างไม่เสมอภาค
นอกจากนั้น ทุกวัน กระแสผู้อพยพจากตะวันออกกลางและแอฟริกายังคงเดินทางไปยังยุโรปและไม่มีสำนักงานที่เกี่ยวข้องใดที่สามารถควบคุมและแยกแยะได้ว่า ใครเป็นผู้อพยพที่หนีสงครามและความยากจนจริงและใครเป็นผู้ก่อการร้ายและสมาชิกของกลุ่มไอเอส จนถึงขณะนี้ ถึงแม้ได้มีการจัดการประชุมระดับสูงของอียูและระหว่างอียูกับหุ้นส่วนอื่นๆ เช่นตุรกีหลายครั้ง แต่อียูยังไม่สามารถหามาตรการใดเพื่อขัดขวางกระแสผู้อพยพเดินทางเข้าไปทวีปนี้ นโยบายของประเทศต่างๆเกี่ยวกับปัญหานี้ยังคงมีความแตกต่างกัน และความขัดแย้งและความแตกแยกภายในอียูกำลังเป็นข้อบกพร่องเพื่อให้ผู้ก่อการร้ายฉกฉวยผลักดันการเคลื่อนไหว.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด