ร่วมมือกันเพื่อสันติภาพและความมีเสถียรภาพในทะเลตะวันออก

( VOVworld )-การสัมมนาทางวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งที่ ๔ ในหัวข้อ “ ทะเลตะวันออก ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงและการพัฒนาในภูมิภาค ” ที่กำลังมีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ทางภาคใต้ของเวียดนามเพื่อหารือถึงบทบาทอันสำคัญของทะเลตะวันออก ผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องและการพิพาททางทะเลตะวันออกในช่วงที่ผ่านมาจากมุมมองด้านกฎหมายสากลและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ที่ประชุมมีวัตถุประสงค์ทำความกระจ่างแจ้งเกี่ยวกับต้นเหตุของปัญหาที่เกี่ยวข้องกันทะเลตะวันออก ข้อเสนอต่อรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพิพาทโดยตรงหรือทางอ้อมเพื่อขยายความร่วมมือ 

( VOVworld )-การสัมมนาทางวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งที่ ๔ ในหัวข้อ “ ทะเลตะวันออก ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงและการพัฒนาในภูมิภาค ” ที่กำลังมีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ทางภาคใต้ของเวียดนามเพื่อหารือถึงบทบาทอันสำคัญของทะเลตะวันออก ผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องและการพิพาททางทะเลตะวันออกในช่วงที่ผ่านมาจากมุมมองด้านกฎหมายสากลและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ที่ประชุมมีวัตถุประสงค์ทำความกระจ่างแจ้งเกี่ยวกับต้นเหตุของปัญหาที่เกี่ยวข้องกันทะเลตะวันออก ข้อเสนอต่อรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพิพาทโดยตรงหรือทางอ้อมเพื่อขยายความร่วมมือ  สำหรับเวียดนามจะใช้เวทีการสัมมนานี้เพื่อยืนยันถึงความพยายามตนในการยืนหยัดแก้ไขการพิพาททางทะเลด้วยมาตรการอย่างสันติ โดยยึดกฎหมายสากลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก

ร่วมมือกันเพื่อสันติภาพและความมีเสถียรภาพในทะเลตะวันออก - ảnh 1
วิทยากรและเจ้าหน้าที่ระดับสูง ๑๐๐ ท่านจาก ๒๗ ประเทศและดินแดนเข้าร่วมการสัมมนา

การประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งนี้เป็นการต่อยอดการประชุม ๓ ครั้งที่ผ่านมา โดยครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี ๒๐๐๙ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากวิทยากรเวียดนามและต่างประเทศ ผู้แทนประมาณ ๒๐๐ ท่านไม่ว่าจะเป็นวิทยากรและเจ้าหน้าที่ระดับสูง ๑๐๐ ท่านจาก ๒๗ ประเทศและดินแดน ตัวแทนคณะทูตานุทูตประจำเวียดนาม ๓๐ ท่านได้เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้

ในช่วงที่ผ่านมา การสัมมนาเกี่ยวกับทะเลตะวันออกมักจะได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากทะเลแห่งนี้มีบทบาทสำคัญต่อสันติภาพ ความมีเสถียรภาพและการพัฒนาในภูมิภาค  ดร.เหงวียนห่งทาว ผู้เชี่ยวชาญศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทะเลตะวันออกของมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย อดีตรองหัวหน้าคณะกรรมการชายแดนแห่งชาติให้เหตุผลว่า  “ ปัญหาทะเลตะวันออกเป็นปัญหาระหว่างประเทศเพราะนี่คือเส้นทางทะเลที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรทั้งสองแห่งและอยู่ตรงกลางภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่มีเศรษฐกิจกำลังเคลื่อนไหว  เป็นเขตทะเลของทุกประเทศในบริเวณโดยรอบทะเลตะวันออกและชาวประมงของประเทศเหล่านี้ได้ประกอบอาชีพประมงมาหลายชั่วคน มีหลายประเทศมีสิทธิผลประโยชน์ในเขตทะเลนี้ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพในการเดินเรือทะเลหรือการใช้น่านฟ้า ดังนั้นสิทธิผลประโยชน์ดังกล่าวไม่เพียงแต่สำหรับประเทศที่ตั้งอยู่โดยรอบทะเลตะวันออกเท่านั้น หากรวมไปถึงประเทศอื่นๆอีกด้วย

จากความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและฐานะทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะยุทธศาสตร์บริเวณทะเลตะวันออกมักจะเกิดการพิพาทบ่อยครั้ง แต่ไม่นานมานี้ การพิพาทดังกล่าวมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นควบคู่กับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและทางทหารของบางประเทศมหาอำนาจที่เกี่ยวข้องเป็นทวีคุณ ซึ่งการประกาศผลการวิจัยของวิทยากรและนักศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์และกฎหมายสากลได้มีส่วนร่วมในการลดการพิพาทในทะเลตะวันออกให้เหลือน้อยที่สุดและช่วยให้กระแสประชามติเข้าใจต้นเหตุของการพิพาทและความตึงเครียด อันเป็นการมีส่วนร่วมต่อผู้วางนโยบายในการที่จะต้องคำนึกถึงผลประโยชน์ของชาติก่อนที่จะมีการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับทะเลตะวันออก  นายดั่งดิ่งกวิ้ว ผู้อำนวยการสถาบันการทูตเวียดนามเผยว่า  “ ประเด็นที่ได้หยิบยกขึ้นมาหารือ การประเมินและข้อเสนอต่างๆมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรักษาสันติภาพ ความมีเสถียรภาพและการพัฒนาในทะเลตะวันออก   ซึ่งการศึกษาและการหารือดังกล่าวได้ทำให้ทะเลตะวันออกได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ  ต้นเหตุของการพิพาทและเหตุที่เกิดขึ้นในทะเลตะวันออกถูกวิเคราะห์อย่างละเอียดและประเมินอย่างมีภาวะวิสัยหลักฐานทางวิชาการจะช่วยให้กระแสประชามติภายในแต่ละประเทศที่เกี่ยวข้องและกระแสประชามติระหว่างประเทศได้รับข้อมูลอย่างสมบูรณ์จากหลากหลายแง่มุม

การประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งที่ ๔ มีขึ้นในขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศฉลองครบรอบ ๓๐ ปีการลงนามในอนุสัญญาสากลของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทะเล และครบรอบ ๑๐ ปีการลงนามแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีตลอดจนการที่อาเซียนกับจีนได้ตกลงกันเกี่ยวกับการร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีเพื่อเสนอช่องทางและมาตรการต่างๆให้แก่การวิจัยและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการซึ่งจะส่งผลดีต่อสาธารณะชนและทำให้บรรดาผู้นำประเทศมีนโยบายขยายความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในทะเลตะวันออก สำหรับเวียดนาม ในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามได้เสนอสมมุติฐานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอธิปไตยของตนเพื่อทำให้ประชาคมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศมีความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ต่อความถูกต้อง  รศ.ดร.เหงวียนบ๊าเยี้ยน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาวิจัยกฎหมายทะเลและการเดินเรือนทะเลสากลของมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยเห็นว่า  “ นี่เป็นมาตรการที่ดีที่สุดที่ทำให้คนเวียดนาม ประชาคมระหว่างประเทศเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง ความเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมายของเวียดนาม รวมทั้งทำให้เพื่อนมิตรชาวจีนเข้าใจอย่างถูกต้องด้วย  พวกเราจะประกาศหลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อยืนยันถึงอธิปไตยของเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป

มาตรการที่ถือว่าดีที่สุดเพื่อลดการพิพาทเรื่องอธิปไตยในทะเลให้เหลือน้อยที่สุดคือ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการศึกษาประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์และประเมินผ่านแง่มุมทางนิตินัยและทางวิชาการจะมีส่วนร่วมต่อการแก้ไขความขัดแย้ง ซึ่งจะไม่ทำให้ปัญหาซับซ้อนมากขึ้นหากเป็นแนวโน้มของยุคโลกาภิวัตน์ที่ขาดมิได้  และความพยายามของเวียดนามในการจัดสัมมนา ๔ ครั้งที่ผ่านมาก็เพื่อเป้าหมายดังกล่าว ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด