ระยะใหม่ในยุทธศาสตร์การปรับแกนหมุนสู่เอเชีย

(VOVworld)- นายแอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐกำลังเยือนสองประเทศพันธมิตรที่สำคัญในเอเชียคือญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งประชามติได้มองว่า การเยือนต่างประเทศครั้งแรกของนาย คาร์เตอร์ ในฐานะผู้นำเพนตากอน ก็เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้งถึงความสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับพันธมิตรและคำมั่นในการเคลื่อนแกนหมุนสู่เอเชียแปซิฟิกของทางการโอบามา


(VOVworld)- นายแอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐกำลังเยือนสองประเทศพันธมิตรที่สำคัญในเอเชียคือญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งประชามติได้มองว่า การเยือนต่างประเทศครั้งแรกของนาย คาร์เตอร์ ในฐานะผู้นำเพนตากอน ก็เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้งถึงความสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับพันธมิตรและคำมั่นในการเคลื่อนแกนหมุนสู่เอเชียแปซิฟิกของทางการโอบามา

ระยะใหม่ในยุทธศาสตร์การปรับแกนหมุนสู่เอเชีย - ảnh 1
นายแอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ(Reuter)

ในสภาวการณ์ที่ลัทธิมุสลิมหัวรุนแรงกำลังทวีการเคลื่อนไหวในอิรักและซีเรีย ประเทศเยเมนได้ตกเข้าสู่สงครามกลางเมืองและการที่รัสเซียได้แทรกแซงในปัญหาของภาคตะวันออกยูเครน สหรัฐก็ได้ตระหนักว่า จำเป็นต้องยืนยันสถานะของตนอีกครั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและการเยือนญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีครั้งนี้ก็เพื่อย้ำถึงความสนใจของสหรัฐต่อภูมิภาคเอเชีย โดยตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นรัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมเมื่อปี2011-2013 นายคาร์เตอร์ได้ให้การสนับสนุนแนวทางการเคลื่อนแกนหมุนสู่เอเชียและให้ความสำคัญกับบทบาทของเอเชียต่ออนาคตของสหรัฐ ดังนั้นในบทปราศรัยที่สำคัญครั้งแรกก่อนการเยือน นายคาร์เตอร์ได้ชี้ชัดว่าเหตุการณ์ใหญ่ต่างๆของโลกในปี2014จะไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางกระบวนการเคลื่อนแกนหมุนสู่เอเชียและนี่คือภูมิภาคที่จะช่วยสร้างอนาคตให้แก่สหรัฐ

กระชับและพัฒนาความสัมพันธ์พันธมิตรให้ทันสมัย

ที่ประชุมญี่ปุ่น เนื้อหาที่สำคัญประการหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะเน้นหารือคือการปรับแนวทางความร่วมมือด้านกลาโหมสหรัฐ-ญี่ปุ่นโดยจะเพิ่มบทบาทการเป็นฝ่ายรุกให้แก่กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในปัญหาความมั่นคงของเอเชีย ซึ่งจะมีการแก้ไขเอกสารแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันตนเองได้รับการแก้ไขครั้งแรกเมื่อปี1997ตามแนวทางขยายขอบเขตการสนับสนุนกันระหว่างสองฝ่ายที่สอดคล้องกับความพยายามของนายกฯ ชินโซอาเบะเพื่อลดอุปสรรคจากข้อจำกัดต่างๆในรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นต่อนโยบายทางทหารแห่งชาติและเอกสารนี้จะถูกนำมาหารือในการเจรจาระหว่างนายกฯญี่ปุ่นและประธานาธิบดีสหรัฐที่คาดว่าจะมีขึ้น ณ กรุงวอชิงตันในปลายเดือนนี้

ส่วนในการหารือทวิภาคีที่กรุงโซล สหรัฐจะยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นที่เข้มแข็งต่อความมั่นคงของสาธารณรัฐเกาหลี ตลอดจนจะมีการแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาของเปียงยาง นอกจากนั้นการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่ประเทศสิงคโปร์ก็ถือเป็นโอกาสเพื่อให้สหรัฐกระชับความเชื่อมโยงกับสิงคโปร์และหุ้นส่วนอื่นๆในเอเชียแปซิฟิก

การสร้างดุลยภาพแห่งยุทธศาสตร์ของสหรัฐ

ทั้งนี้ปัญหาองค์การรัฐอิสลามหรือไอเอสที่แต่งตั้งเองกำลังขยายการเคลื่อนไหวในอิรักและซีเรีย ประเทศเยเมนถลำลึกในสงครามกลางเมือง โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านสร้างความขัดแย้งให้แก่สหรัฐกับอิสราเอล ส่วนสถานการณ์ในยูเครนยิ่งทำให้วอชิงตันกับมอสโคว์แตกแยกตลอดจนวิกฤตความรุนแรงได้ทวีมากขึ้นที่ตะวันออกกลาง แอฟริกาและทั้งในยุโรปได้ทำให้ทำเนียบขาวต้องหันความสนใจมาทบทวนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของตน

ซึ่งในสภาวการณ์ที่ทหารสหรัฐได้ถอนกำลังออกจากอิรักตั้งแต่ปี2011 และการถอนกำลังในอัฟกานิสถานจะเสร็จสิ้นลงในปีนี้ สหรัฐกำลังหาทางย้ายกองกำลังทหารไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่ในขณะเดียวกันปัญหาเรื่องงบประมาณด้านกลาโหมที่ถูกปรับลดและการใช้ความรุนแรงขยายตัวทั้งในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือได้ทำให้ความพยายามมุ่งความสนใจไปยังเอเชียของสหรัฐไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเต็มที่แถมยังมีการชลอตัว ความวิตกกังวลต่อจีนที่นับวันเพิ่มมากขึ้นและความมั่นคงใหม่ในภูมิภาคกลับเป็นเรื่องที่เร่งรัดให้สหรัฐไม่อาจชลอความพยายามได้อีกต่อไป ดังนั้นในการเยือนครั้งนี้ ผู้นำเพนตากอนก็ไม่ปกปิดเป้าหมายของแผนการส่งกองทัพเรือสหรัฐร้อยละ60มายังในเอเชียแปซิฟิกในรอบ5-10ปีข้างหน้า โดยจะประจำการที่ประเทศฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย เป็นต้น แต่เพื่อที่จะปฏิบัติความทะเยอทะยานนี้ให้สำเร็จสหรัฐต้องแสวงหาแนวทางที่สามารถแก้ไขอุปสรรคทุกอย่างได้เสียก่อน อันดับแรกคือการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรที่เก่าแก่ในภูมิภาคนี้ด้วยก้าวเดินที่สำคัญอันดับแรกคือการลงทุนผลิตอาวุธที่ทันสมัยเช่น เครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆเพื่อค้ำประกันความมั่นคงของภูมิภาค นอกจากนั้นการอนุมัติข้อตกลงการเค้าเสรีข้ามแปซิฟิกหรือทีพีพีก็เป็นเรื่องที่สำคัญต่อการธำรงอิทธิพลของสหรัฐและความมีเสถียรภาพในภูมิภาค

ทั้งนี้ในสภาวการณ์ที่จีนกำลังได้เปรียบในการครองตลาดเศรษฐกิจและการเงินพร้อมทั้งขยายอิทธิพลด้วยการรณรงค์ให้35ประเทศซึ่งในนั้นมีหลายประเทศเป็นพันธมิตรของสหรัฐเข้าเป็นสมาชิกของธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชียหรือเอไอไอบีที่จีนเป็นผู้ก่อตั้งนั้นก็ยิ่งทำให้สกรัฐต้องเร่งรีบปฏิบัติถ้าหากไม่อยากเป็นฝ่ายช้ากว่าเพื่อนในการแข่งขันเพื่อขยายความสัมพันธ์หุ้นส่วนการค้า ดังนั้นเป็นอันว่า การเยือนประเทศพันธมิตรในเอเชียครั้งนี้ของผู้นำเพนตากอนได้เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า ทางการของนายโอบามากำลังเริ่มต้นระยะใหม่ในยุทธศาสตร์การปรับแกนหมุนสู่เอเชียแปซิฟิก และการปรับเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่างทำเนียบขาวกับหุ้นส่วนพันธมิตรควบคู่กับการผลักดันความร่วมมือทางการค้าจะช่วยให้สหรัฐมีความเชื่อมโยงมากขึ้นกับเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ถูกคาดการณ์ว่าจะมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงของโลกในอนาคต./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด