ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขส่งเสริมบทบาทของชนเผ่าต่างๆ

(VOVWorld) – ปัญหาชนเผ่าและความสามัคคีระหว่างชนเผ่ามีบทบาทยุทธศาสตร์อย่างยาวนานในนโยบายของพรรคและรัฐเวียดนาม และก็ได้รับการระบุในร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขที่กำลังได้รับการทำประชาพิจารณ์ และได้รับความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก

(VOVWorld) – ปัญหาชนเผ่าและความสามัคคีระหว่างชนเผ่ามีบทบาทยุทธศาสตร์อย่างยาวนานในนโยบายของพรรคและรัฐเวียดนาม และก็ได้รับการระบุในร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขที่กำลังได้รับการทำประชาพิจารณ์ และได้รับความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก

ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขส่งเสริมบทบาทของชนเผ่าต่างๆ - ảnh 1
ชนเผ่าต่างๆมีความเสมอภาค ความสามัคคี ความเคารพและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อร่วมกันพัฒนา (Photo:Internet )

ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขเป็นการสานต่อข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ และแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของมติสมัชชาพรรคสมัยที่๑๐ และสมัยที่๑๑เกี่ยวกับปัญหาชนเผ่าและงานด้านชนเผ่าซึ่งตามนั้น ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นประเทศที่มีชนเผ่าต่างๆอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีความเสมอภาค ความสามัคคี ความเคารพและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อร่วมกันพัฒนา ห้ามการเหยียดหยามและแบ่งแยกชนเผ่า ชนเผ่าต่างๆมีสิทธิใช้ภาษา ตัวหนังสือ อนุรักษ์และส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี เอกลักษณ์วัฒนธรรมอันดีงามของตน รัฐปฏิบัตินโยบายพัฒนาในทุกด้าน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ทุกชนเผ่าส่งเสริมพลังภายใน ผสมผสานเข้ากับการพัฒนาของประเทศ  รัฐปฏิบัตินโยบายพัฒนาในทุกด้าน ยกระดับคุณภาพชีวิตทางวัตถุและจิตใจของพี่น้องประชาชนชนกลุ่มน้อย ไม่มีการจำแนกพลเมืองที่เป็นชนกลุ่มน้อยว่า เป็นส่วนใหญ่หรือส่วนน้อย ระดับการพัฒนาสูงหรือต่ำแต่ต่างมีความเสมอภาคทั้งสิทธิผลประโยชน์และภาระหน้าที่ในทุกด้านของชีวิต 

อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับนโยบายชนเผ่า ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวควรแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของประธานโฮจิมินห์และหลักการต่างๆของพรรคคือ ชนเผ่าต่างๆในครอบครัวใหญ่เวียดนามมีความเสมอภาค ได้รับความเคารพ ความสามัคคีกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อร่วมกันพัฒนาและก้าวหน้า  ควรเชิดชูบทบาทของรัฐในการค้ำประกันการปฏิบัตินโยบายพัฒนาในทุกด้าน ยกระดับคุณภาพชีวิตทางวัตถุและจิตใจของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป อำนวยความสะดวกเพื่อให้ชนกลุ่มน้อยพัฒนาพลังภายใน ตามทันกับการพัฒนาของประเทศ อีกทั้งระบุชัดถึงสิทธิและภาระหน้าที่ของชนกลุ่มน้อยเพื่อเลี่ยงการพึ่งพาอาศัยนโยบายของรัฐเพียงอย่างเดียว นายLù Văn Queหัวหน้าสภาที่ปรึกษาเกี่ยวกับชนเผ่า แห่งแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามกล่าวว่า“ต้องเชิดชูบทบาทของรัฐในการค้ำประกันการปฏิบัติและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ชนเผ่าต่างๆร่วมกันพัฒนา ชนกลุ่มน้อยต้องส่งเสริมพลังภายในเพื่อพัฒนา ขจัดแนวคิดพึ่งพาอาศัยรัฐ ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการกำหนดหลักการขั้นพื้นฐานในนโยบายชนเผ่าของพรรคและรัฐเช่นนี้ถือว่า มีความสมบูรณ์แบบและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงซึ่งถ้าใครไม่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและมองข้ามหลักการใดหลักการหนึ่งจะถือว่า ละเมิดนโยบายชนเผ่า”

ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขส่งเสริมบทบาทของชนเผ่าต่างๆ - ảnh 2
ชนกลุ่มน้อยส่งเสริมพลังภายในเพื่อพัฒนา(Photo:Internet )

ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวควรระบุว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีหลายชนเผ่า ปัญหาชนเผ่าและความสามัคคีระหว่างชนเผ่ามีความสำคัญระดับยุทธศาสตร์และยาวนานเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพเกี่ยวกับจิตสำนึกและปฏิบัติการตั้งแต่พรรคถึงประชาชนทุกชั้นชน การไกล่เกลี่ย ปรองดองและความสามัคคีระหว่างชนเผ่าและศาสนาต่างๆเป็นกุญแจเพื่อสร้างเสถียรภาพและพัฒนาประเทศ  ชนเผ่าต่างๆมีความเสมอภาค สามัคคี ช่วยเหลือกันเพื่อร่วมกันพัฒนาซึ่งเป็นหลักการที่เสมอต้นเสมอปลาย มีความสำคัญยุทธศาสตร์ยาวนาน เพื่อส่งเสริมศักยภาพและจุดแข็งของแต่ละชนเผ่า รองศาสตราจารย์ ดร.Bùi Xuân Đính นักวิจัยชาติพันธุ์วิทยากล่าวว่า“ร่างรัฐธรรมนูญควรระบุว่า ส่งเสริมบทบาทของชนชาติเวียดนามเพราะ การพัฒนาของประเทศมีกฏทั่วไปคือถือการพัฒนาของคนส่วนใหญ่เป็นแนวทางของการพัฒนาซึ่งเป็นกฏที่แน่นอนของประเทศต่างๆที่มีหลายชนเผ่า แต่ควบคู่กับการส่งเสริมบทบาท ความคล่องตัว ความคิดสร้างสรรค์ของชนชาตินั้น ควรส่งเสริมบทบาทชนกลุ่มน้อยและเขตชนกลุ่มน้อยด้วย”

ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขส่งเสริมบทบาทของชนเผ่าต่างๆ - ảnh 3
รองศาสตราจารย์ ดร.Bùi Xuân Đính นักวิจัยชาติพันธุ์วิทยา(Photo:Internet )

ภายหลังกว่า๒๐ปีที่ปฏิบัติรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ ปัญหาชนเผ่าและความสามัคคีชนเผ่าได้รับการระบุในกฏหมาย อำนวยความสะดวกเพื่อให้พี่น้องประชาชนพัฒนาในทุกด้าน การสืบสานและเพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาชนเผ่าในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะมีส่วนร่วมส่งเสริมบทบาทของชนเผ่าต่างๆในกระบวนการสร้างและพัฒนาประเทศ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด