วิกฤตหนี้ของกรีซดูเหมือนจะยังไม่มีทางแก้ไขอย่างเด็ดขาด

(VOVworld)- วันที่20กุมภาพันธ์ รัฐมนตรีการคลังเขตยูโรโซนได้ประชุมหารือ ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมเพื่อพิจารณาข้อตกลงเกี่ยวกับการมอบวงเงินช่วยเหลือรอบ ที่2มูลค่า1แสน3หมื่นล้านยูโรให้แก่กรีซ ตลอดจนการที่บรรดาเจ้าหนี้เอกชนยกหนี้มูลค่า1แสนล้านยูโรให้กรีซแต่ถึงอย่าง ไรก็ดีดูเหมือนว่าปัญหาหนี้สาธารณะนี้จะยังไม่สามารถแก้ไขอย่างเด็ดขาดและ กำลังมีความยุ่งยากมากขึ้น.

(VOVworld)- วันที่20กุมภาพันธ์ รัฐมนตรีการคลังเขตยูโรโซนได้ประชุมหารือ ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมเพื่อพิจารณาข้อตกลงเกี่ยวกับการมอบวงเงินช่วยเหลือรอบที่2มูลค่า1แสน3หมื่นล้านยูโรให้แก่กรีซ ตลอดจนการที่บรรดาเจ้าหนี้เอกชนยกหนี้มูลค่า1แสนล้านยูโรให้กรีซแต่ถึงอย่างไรก็ดีดูเหมือนว่าปัญหาหนี้สาธารณะนี้จะยังไม่สามารถแก้ไขอย่างเด็ดขาดและกำลังมีความยุ่งยากมากขึ้น.

วิกฤตหนี้ของกรีซดูเหมือนจะยังไม่มีทางแก้ไขอย่างเด็ดขาด - ảnh 1
เพื่อกอบกู้ไม่ให้กรีซกลายเป็นประเทศที่ผิดนัดชำระหนี้ คณะกรรมการยุโรปหรือ อีซี ธนาคารกลางยุโรปหรือ อีซีบี และกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟก็ได้เสนอให้กรีซปฏิบัติมาตรการรัดเข็มขัดหลายประการและในครั้งนี้เพื่อที่จะได้รับวงเงินช่วยเหลือมูลค่า1แสน3หมื่นล้านยูโร รัฐบาลกรีซต้องอนุมัติกลุ่มมาตรการสุดท้ายที่อียูและไอเอ็มเอฟเสนอที่จะช่วยปรับลดค่าใช้จ่ายงบประมาณอีก325ล้านยูโร โดยจะปรับลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและการป้องกันประเทศมูลค่า100ล้านยูโร ปรับลดเงินบำนาญขั้นพื้นฐานของผู้ที่เกษียณราชการ   ค่าประกันเงินออมของผู้เกษียณอายุ ลดการอุปถัมภ์ให้แก่ครอบครัวที่มีลูกหลายคนและค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ  พร้อมกันนั้นคือการสร้างแรงกดดันให้เจ้าหนี้ภาคเอกชนคือธนาคารและบริษัทประกันภัยต่างๆยกหนี้ตั้งแต่ร้อยละ21-70ให้แก่กรีซ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านี่เป็นเงื่อนไขที่มีความรัดกุมเพื่อลดหนี้สาธารณะของกรีซจากระดับ160%ของจีดีพีลงเหลือ120%ในปี2020 แต่จากสถานการณ์ที่เป็นจริงนั้นดูเหมือนยากที่จะบรรลุเป้าหมายต่างๆดังกล่าวได้เพราะวงเงินช่วยเหลือต่างๆนั้นจะพอช่วยให้กรีซอยู่รอดในภาวะหนี้สินเท่านั้นไม่รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยวงเงินช่วยเหลืองวดแรกมูลค่า1แสน1หมื่นล้านยูโรนั้นกรีซได้นำไปใช้ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหมดและเงิน2ใน3ของวงเงินงวดที่2นี้ก็จะใช้ในเป้าหมายเดียวกันเพื่อไม่ให้กรีซกลายเป็นประเทศผิดนัดชำระหนี้ในวันที่20มีนาคมนี้ และที่สำคัญคือเมื่อกรีซปฏิบัติมาตรการรัดเข็มขัดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจถดถอยมากขึ้นเท่านั้นเนื่องจากทุกมาตรการที่ปฏิบัติมีแต่มุ่งปรับลดค่าใช้จ่ายเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณในขณะที่เศรษฐกิจไม่มีการขยายตัวรวมไปถึงการที่กรีซต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ8.8 ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ และสิ่งนี่ก็เป็นสาเหตุทำให้จีดีพีของกรีซลดลงอย่างต่อเนื่องในรอบ4ปี โดยเมื่อปี2011ลดร้อยละ6เมื่อเทียบกับปีก่อนและตามการพยากรณ์ของไอเอ็มเอฟจีดีพีของกรีซในปี2012นี้จะลดลงอีกร้อยละ4

ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาคนว่างงานและการขาดดุลงบประมาณ คือเรื่องเลวร้ายที่กรีซกำลังต้องรับมือ ส่วนมาตรการและวงเงินช่วยเหลือที่ยุโรปและไอเอ็มเอฟได้ให้คำมั่นนั้นแม้จะยังไม่ทันเห็นผลแต่ก็ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างลึกต่อทุกชั้นชนในสังคมและทำให้กรีซตกสู่ภาวไร้เสถียรภาพ โดยนับตั้งแต่ที่อีซี อีซีบีและไอเอ็มเอฟเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ ค่าแรงภายในประเทศก็ลดลงร้อยละ14.3 เฉพาะข้าราชการได้ถูกปรับลดเงินเดือนร้อยละ9 ส่วนหน่วยงานบริการโรงแรมและร้านอาหารลดลงร้อยละ33 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจของเยอรมนีได้ให้ข้อสังเกตุว่า ถ้าอัตราดังกล่าวลดลงอีกก็จะส่งผลกระทบให้แก่ด้านการเมือง โดยเมื่อวันที่19ที่ผ่านมา องค์กรที่เป็นตัวแทนแรงงานต่างๆได้จัดการเดินขบวน ณ กรุงเอเธนส์และนครใหญ่ๆอีกหลายแห่งเพื่อคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลโดยเฉพาะการปรับลดเงินเดือนและเงินบำนาญที่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน  จากปัญหาที่ยากที่จะหาทางออกของกรีซนั้น ก็มีผู้เชี่ยวชาญและนักการเมืองหลายคนได้พูดถึงเรื่องที่กรีซยอมถอนตัวออกจากยูโรโซนซึ่งถือเป็นมาตรการที่ดีที่สุดสำหรับกรีซเพื่อที่จะกอบกู้ทั้งยูโรโซนและสหภาพยุโรปในขณะนี้./.

Doan Trung- VOV5

 

 

 

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด