วางพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่การขยายตัวอย่างยั่งยืน

วันที่2ธันวาคม ฟอรั่มสถานประกอบการเวียดนาม ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำปีนอกรอบการประชุมกลุ่มที่ปรึกษาบรรดาผู้อุปถัมภ์หรือ ซีจีปี2011ได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอย โดยในปีนี้ประเด็นที่สำคัญมิได้เน้นด้านจำนวนเงินโอดีเอที่บรรดาประเทศผู้ อุปถัมภ์ได้ให้คำมั่นต่อเวียดนามเท่านั้นแต่จะเน้นถึงความสนใจในการสนทนา เกี่ยวกับมาตรการเพื่อปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและวางพื้นฐานให้เศรษฐกิจ เวียดนามพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต.

            วันที่2ธันวาคม ฟอรั่มสถานประกอบการเวียดนาม ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำปีนอกรอบการประชุมกลุ่มที่ปรึกษาบรรดาผู้อุปถัมภ์หรือซีจีปี2011ได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอย โดยในปีนี้ประเด็นที่สำคัญมิได้เน้นด้านจำนวนเงินโอดีเอที่บรรดาประเทศผู้อุปถัมภ์ได้ให้คำมั่นต่อเวียดนามเท่านั้นแต่จะเน้นถึงความสนใจในการสนทนาเกี่ยวกับมาตรการเพื่อปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและวางพื้นฐานให้เศรษฐกิจเวียดนามพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต.

            ตามรายงานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามของธนาคารโลกเมื่อวันที่30พฤศจิกายนนี้  เศรษฐกิจมหภาคของเวียดนามได้เข้าสู่ภาวะมีเสถียรภาพซึ่งเป็นผลจากความพยายามอย่างเข้มแข็งของรัฐบาล โดยเฉพาะการปฏิบัติมติที่11เกี่ยวกับการควบคุมเงินเฟ้อปรับเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจมหภาคและรักษาสวัสดิการสังคมนั้นได้เริ่มมีประสิทธิผลเมื่อดัชนีเงินเฟ้อได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนที่ผ่านมา ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการบริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการขยายตัวของทั้งประเทศ ราคาสินค้าและอาหารในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นได้ช่วยเอื้อประโยชน์ให้แก่การส่งออกของเวียดนาม ในขณะเดียวกันหน่วยงานธนาคารก็ได้ปฏิบัติมาตรการการเงินที่รัดกุมและระมัดระวังเพื่อควบคุมการขยายตัวด้านการชำระและสินเชื่อให้ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางไว้ในมติที่11 มีส่วนร่วมต่อการจำกัดภาวะเงินเฟ้อและชลอการขึ้นราคาสินค้าในตลาด ซึ่งนับเป็นการสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้เวียดนามดำเนินนโยบายต่างๆเพื่อธำรงเสถียรภาพของเศรษฐกิจในเวลาข้างหน้า นาย ดีปาร์ค มิสซ์รา หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจของธนาคารโลกแสดงความเห็นว่า

            ในปี2011 จากสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย เวียดนามสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ในระดับต่ำในช่วงปลายปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาตรการต่างๆที่ปฏิบัติมีประสิทธิผล นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยในธนาคารก็เริ่มลดลงซึ่งก็เป็นการยืนยันว่านโยบายควบคุมการเงินของเวียดนามมีประสิทธิภาพ.

            ถึงอย่างไรก็ดี เวียดนามยังไม่สามารถวางใจได้เนื่องจากภาวะเสถียรภาพขณะนี้ยังไม่มั่นคงและเวียดนามจะต้องรับมือกับการท้าทายอีกหลายอย่างทั้งในระยะกลางและยะระยาวเช่น ปัญหางบประมาณขาดดุลหรือปัญหาหนี้ต่างประเทศที่ถึงแม้จะยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัยแต่ก็เป็นอัตราที่สูง รวมไปถึงความเสี่ยงในด้านการเงินเนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่อในช่วงปีที่ผ่านมา ดอกเบี้ยเงินกู้สูงและทักษะการบริหารด้านความเสี่ยงของระบบธนาคารเวียดนามไม่เข้มแข็งซึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามที่อาจจะสร้างความไร้เสถียรภาพครั้งใหญ่ถ้าไม่ได้รับการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า ข้อจำกัดที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามในขณะนี้คือปัญหาด้านการเงินดังนั้นเวียดนามต้องให้ความสนใจปรับเปลี่ยนและปฏิรูปโครงสร้างระบบธนาคารซึ่งถ้าทำได้ดีเวียดนามก็จะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจมหภาคอย่างยั่งยืนเพื่อการขยายตัวที่มีประสิทธิภาพได้

            ต้องมีมาตรการแก้ไขเพื่อให้ระบบธนาคารของเวียดนามมีความเข้มแข็งและน่าเชื่อถือ ความเสี่ยงของธนาคารต่างๆต้องได้รับการประเมินอย่างถูกต้องบนพื้นฐานการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ทั้งระบบธนาคาร ซึ่งในนั้นหน้าที่การตรวจสอบถือว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากจะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถติดตามและรับทราบถึงสัญญาณที่ไม่ดีในระบบธนาคารเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

            ปัจจุบันนี้ ทางธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศรวมทั้งศูนย์การเงินระหว่างประเทศได้ทำการหารือกับทางรัฐบาลเวียดนามเพื่อจัดทำโครงการประเมินระบบการเงินและธนาคารเวียดนามเพื่อมีการแนะนำมาตรการปฏิรูปที่เหมาะสมต่อไป

นอกจากประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเงินและธนาคารแล้ว การปฏิรูปสถานประกอบการภาครัฐก็เป็นเนื้อหาที่ฟอรั่มสถานประกอบการเวียดนามและการประชุมซีจีปีนี้ให้ความสนใจ โดยการปฏิรูปต้องได้รับการดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไปและควบคู่กับการปฏิรูประบบธนาคารและการลงทุนภาครัฐจึงจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพสูง เพราะการปฏิรูปสถานประกอบการภาครัฐมิใช่ทำการยกเลิกหากเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สถานประกอบการต่างๆเพื่อเอื้อให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ตามการพยากรณ์ปีนี้เศรษฐกิจเวียดนามจะมีการขยายตัวในระดับร้อยละ5.8 ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ายินดีในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกมีความซบเซา แต่ปัจจุบันนี้ เวียดนามต้องให้ความสนใจต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจและจำกัดการขยายตัวในระยะสั้นดังนั้นที่ประชุมครั้งนี้จะให้ความสนใจในการแสวงหาแนวทางการพัฒนาพื้นฐานเพื่อให้เวียดนามไม่ต้องพึ่งพาแต่การอุปถัมภ์จากต่างประเทศเท่านั้นหากสามารถเตรียมพร้อมแหล่งเงินทุนในเชิงรุกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเนื่องจากเวียดนามได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางแล้ว../.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด