วาระใหม่ของประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่เต็มไปด้วยความท้าทาย

(VOVWORLD) -หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 24 เมษายน ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงจะบริหารประเทศต่ออีกสมัยเป็นเวลา 5 ปี แต่อย่างไรก็ดี บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความแตกแยกภายในประเทศ

วาระใหม่ของประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่เต็มไปด้วยความท้าทาย - ảnh 1ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง (Photo: AFP/TTXVN)

ตามการประกาศของกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศส นาย เอ็มมานูเอล มาครง อายุ 44 ปี   ตัวแทนของพรรคอองมาร์ช (LREM)ได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 58.55 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่ 2  ส่วนคู่แข่งคือนาง มารี เลอเพน ได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 41.45    

การเสริมสร้างความสมานฉันท์กับประชาชน

บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า การดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 นี้ของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงต้องเผชิญกับอุปสรรคไม่น้อย    โดยต้องส่งเสริมความสามัคคีสมานฉันท์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการเสริมสร้างความสมานฉันท์กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่สนับสนุนฝ่ายขวาจัด  ซึ่งนาง มารี เลอเพนเคย กล่าวถึงเรื่องนี้หลังการเลือกตั้ง โดยบอกว่าเสียงสนับสนุนของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงที่ลดลงในการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะของฝ่ายค้าน ดังนั้น ในการกล่าวปราศรัยต่อหน้าผู้สนับสนุนเมื่อค่ำวันที่ 24 เมษายน ณ กรุงปารีส ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงจึงได้ย้ำว่า ความรับผิดชอบของตัวเขาคือต้องหาคำตอบเกี่ยวกับความไม่พอใจและความขัดแย้งที่ทำให้ชาวฝรั่งเศสสนับสนุนฝ่ายขวาจัด พร้อมทั้งยืนยันว่า เขาต้องการที่จะเป็นประธานาธิบดีของชาวฝรั่งเศสทุกคน

ถ้าหากประสบความสำเร็จในการสร้างความสมานฉันท์กับผู้ที่สนับสนุนฝ่ายขวาจัด ก็จะเป็นความได้เปรียบสำหรับประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ก่อนที่จะเดินหน้าปฏิบัติแผนการปฏิรูปต่างๆ โดยเฉพาะ การปฏิรูปการจ่ายเงินบำนาญและการเพิ่มอายุการเกษียณราชการจาก 62 ปีเป็น 65 ปี  ซึ่งอาจถูกคัดค้านจากประชาชน โดยผู้ที่คัดค้านแผนการปฏิรูปเงินบำนาญได้เตือนว่า จะบังคับให้ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ต้องยอมรับอายุเกษียณราชการคือ 64 ปี แต่มีบางคนเห็นว่า แม้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการชุมนุมแต่ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ก็จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืน

อีกหนึ่งปัญหาที่ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงต้องแก้ไขในวาระนี้คือปัญหาราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงได้กำหนดเพดานค่าไฟฟ้าและลดค่าไฟไปจนถึงหลังการเลือกตั้ง   ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่เมืองมาร์เซย์  ประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครงได้ประกาศว่า จะปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของฝรั่งเศส แต่นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเป้าหมายของนาย มาครงเนื่องจากทั้งนาย เอ็มมานูเอล มาครงและนาง มารี เลอเพนต่างไม่ได้กล่าวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในการโต้วาทีผ่านทางสถานีโทรทัศน์ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สอง

ในเดือนมิถุนายนนี้ จะมีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภาฝรั่งเศส โดยผลการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อปี 2017  สร้างความได้เปรียบให้แก่ประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครงแต่ผลการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งนี้ยากที่จะคาดเดาได้     บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า ประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครง ได้รับอานิสงค์จากเสียงคัดค้านนาง  มารี เลอเพน ด้วย    ดังนั้น เวทีการเมืองฝรั่งเศสกำลังเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใกล้ชิดกับอียูของประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครง   กลุ่มฝ่ายชาตินิยมของนาง  มารี เลอเพน  และกลุ่มฝ่ายซ้ายของนาย Melenchon   ซึ่งแต่ละกลุ่มได้รับเสียงสนับสนุน 1 ใน 3 เสียง  ซึ่งการบริหารประเทศของรัฐบาลยากที่จะราบรื่นเนื่องจากจะมีเสียงคัดค้านในรัฐสภาถึง 2ใน 3   ในการกล่าวปราศรัยต่อหน้าผู้สนับสนุน นาง มารี เลอเพนได้เผยว่า จะเตรียมความพร้อมให้แก่การเลือกตั้งรัฐสภาที่จะถึง

  ความท้าทายในการยืนยันบทบาทของฝรั่งเศสในยุโรป

การส่งเสริมความใกล้ชิดกับยุโรปเป็นหนึ่งในเป้าหมายของประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครง   นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2017 โดยอยากเปลี่ยนแปลงนโยบายการเดินทางระหว่างประเทศสมาชิกอียู มีอัตราภาษีร่วมในกลุ่ม พัฒนาเทคโนโลยีและผลักดันการปกป้องประเทศสมาชิกอียู มุ่งสู่ยุโรปที่กระตือรือร้นและมียุทธศาสตร์ร่วมกัน  ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการประเมินว่า มีความทะเยอทะยาน และต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อยจากประเทศสมาชิกอียู

แต่อย่างไรก็ดี ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดต่อประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครงคือสถานการณ์ในยูเครน  ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านความมั่นคง ระเบียบภูมิรัฐศาสตร์และยุทธศาสตร์ต่างๆในยุโรป ก่อนเกิดการปะทะ ประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครง   พร้อมผู้บริหารคณะกรรมาธิการยุโรปได้วางแผนการจัดการประชุมสุดยอดด้านกลาโหมครั้งแรกของอียูในเดือนมีนาคมปี 2022 ณ กรุงปารีส มุ่งสู่การพัฒนาอียูให้เป็นพันธมิตรด้านกลาโหม   แต่ในการพบปะ ณ พระราชวังแวร์ซาย เมื่อวันที่ 11 มีนาคม บรรดาผู้นำยุโรปกลับต้องหารือกันเฉพาะเรื่องสถานการณ์ในยูเครนและการรับมือของยุโรป บทบาทของนาโต้ได้รับการฟื้นฟูและบรรดาประเทศสมาชิกอียูไม่กล่าวถึงการจัดตั้งกองกำลังทหารร่วม ในฐานะเป็นประเทศที่รณรงค์การพึ่งพาตนเองเชิงยุทธศาสตร์ของอียู ทั้งฝรั่งเศสและประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครง   จะประสบอุปสรรคมากมายในการผลักดันการปฏิบัติแผนการนี้ในขณะที่สถานการณ์การปะทะในยูเครนยังคงมีความซับซ้อนมาก  ซึ่งปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ในวาระแรก ความท้าทายเพื่อเสริมสร้างสถานะในยุโรปหรืออัตราผู้สนับสนุนที่ลดลงได้แสดงให้เห็นว่า ประธานาธิบดี  เอ็มมานูเอล มาครง   ต้องเผชิญกับอุปสรรคไม่น้อยในวาระที่ 2 นี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด