ศึกเลือกตั้งที่ร้อนแรงในอังกฤษ

(VOVworld) – วันที่ 7 พฤษภาคม อังกฤษจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญที่สุดในรอบ 5 ปีเพื่อเลือกรัฐบาลชุดใหม่พร้อมกับนโยบายใหม่ที่จะกำหนดแนวทางการพัฒนาในอีกเกือบ 10 ปีต่อจากนี้  ขณะนี้ การแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆกำลังมีขึ้นอย่างร้อนแรงและยังไม่สามารถคาดเดาผลได้เพราะผลการสำรวจประชามติหลายครั้งปรากฎว่า สองพรรคการเมืองใหญ่ๆของอังกฤษต่างได้รับคะแนนสนับสนุนคู่คี่กัน

(VOVworld) – วันที่ 7 พฤษภาคม อังกฤษจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญที่สุดในรอบ 5 ปีเพื่อเลือกรัฐบาลชุดใหม่พร้อมกับนโยบายใหม่ที่จะกำหนดแนวทางการพัฒนาในอีกเกือบ 10 ปีต่อจากนี้  ขณะนี้ การแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆกำลังมีขึ้นอย่างร้อนแรงและยังไม่สามารถคาดเดาผลได้เพราะผลการสำรวจประชามติหลายครั้งปรากฎว่า สองพรรคการเมืองใหญ่ๆของอังกฤษต่างได้รับคะแนนสนับสนุนคู่คี่กัน

ศึกเลือกตั้งที่ร้อนแรงในอังกฤษ - ảnh 1
นายเดวิด คาเมรอนและนาย เอ็ด มิลิแบนด์ (Photo walesonline.co.uk)
เช่นเดียวกันกับการเลือกตั้งเมื่อ 5 ปีก่อน มีความเป็นไปได้สูงที่พรรคการเมืองต่างๆในอังกฤษจะต้องจับมือกันเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเพราะทั้งพรรคอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเดวิด คาเมรอนและพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของนาย เอ็ด มิลิแบนด์ต่างถูกประเมินว่า จะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากในการเลือกผู้แทน 650 ที่นั่งของสภาล่างอักฤษเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเดี่ยว
การแข่งขันของสองพรรคการเมืองใหญ่
สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ในอังกฤษคือการแข่งขันระหว่างสองพรรคการเมืองใหญ่คือพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงานฝ่ายค้าน โดยทั้งสองพรรคต่างย้ำถึงนโยบายทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยศักยภาพเพื่อให้ได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอักฤษ
จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเมื่อเร็วๆนี้สะท้อนให้เห็นว่า คะแนนสนับสนุนของสองพรรคดังกล่าวสูสีกันโดยผลการสำรวจประชามติขององค์การ Opinium ปรากฎว่า พรรคอนุรักษ์นิยมของนายเดวิด คาเมรอนได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 36 ส่วนพรรคแรงงานของนาย เอ็ด มิลิแบนด์ ได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 32 ส่วนผลการสำรวจขององค์การ YouGov ปรากฎว่า พรรคแรงงานกำลังได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 36 ซึ่งสูงกว่าพรรคอนุรักษ์นิยมร้อยละ 3 ผู้สังเกตการณ์เห็นว่า ทั้งสองพรรคกำลังมีคะแนนสบับสนุนไล่เลี่ยกันและต่างพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อดึงเสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในขณะที่พรรคอนุรักษ์นิยมที่กุมอำนาจเน้นหาเสียงเลือกตั้งโค้งสุดท้ายโดยใช้วิธีเคาะประตูบ้านนั้น พรรคแรงงานกลับได้เน้นหาเสียงสนับสนุนจากชนชั้นกลางด้วยนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ การเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำ ชลอการเก็บภาษีนิติบุคคลและชลอการปรับขึ้นราคาพลังงาน ยุติสถานการณ์การฉวยโอกาสของสัญญา “zero hours workers”หรือแรงงานรับจ้างชั่วคราว เพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของแรงงาน ส่วนนโยบายของพรรคอนุรักษ์นิยมได้ย้ำถึงการให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการแก้ไขปัญหาขาดดุลงบประมาณเพื่อจัดทำงบประมาณเกินดุล นอกจากความสนใจในด้านอื่นๆ เช่น การเพิ่มการลงทุนในด้านการบริการสาธารณสุขแห่งชาติแล้ว พรรคอนุรักษย์นิยมของนายกรัฐมนตรีคาเมรอนยังให้คำมั่นว่า จะให้ความสนใจต่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านหลังแรก จัดตั้งโรงเรียนที่ไม่เก็บค่าเทอม ยกเลิกการเก็บภาษีเงินได้ส่วนบุคคลต่อแรงงานที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำ
ศึกเลือกตั้งที่ร้อนแรงในอังกฤษ - ảnh 2
การรณงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคแรงงาน (Photo Reuters)
ยากที่จะคาดเดาผลการเลือกตั้งได้
ปัจจุบัน เสียงสนับสนุนต่อพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษ์นิยมกำลังคู่คี่กัน แม้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นของอังกฤษจะอยู่บนภาพของเศรษฐกิจภูมิภาคที่กำลังไม่สู้ดีนัก ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีต่อนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอนและพรรคอนุรักษ์นิยมในการเลือกตั้งครั้งนี้แต่ในทางกลับกันรัฐบาลและพรรคอนุรักษ์นิยมยังถูกตำหนิจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านต่างๆเพราะว่า การฟื้นฟูของเศรษฐกิจยังไม่สามารถปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอังกฤษให้ดีขึ้นมากนัก ในตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดทำงบประมาณสมดุล รัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยมต้องปฏิบัตินโยบายรัดเข็มขัดโดยลดสวัสดิการสังคม ซึ่งได้ส่งผลในทางลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนหนึ่ง ซึ่งพรรคแรงงานได้โจมตีจุดอ่อนนี้โดยกล่าวตำหนิพรรคอนุรักษ์นิยมว่า “ก่อให้เกิดวิกฤตคุณภาพชีวิต”ในอังกฤษและเรียกร้องให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทำการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตาม นโยบายการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคแรงงานทำให้ประชาชนหลายคนสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของพรรคนี้ในการแก้ไขวิกฤตโดยไม่เกิดความผิดพลาดซ้ำรอยที่ต้องกู้เงินและใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคืออังกฤษควรถอนตัวศออกจากสหภาพยุโรปหรืออียูหรือไม่เพราะว่า มีชาวอังกฤษจำนวนมากไม่พอใจต่อการบริหารของคณะกรรมการยุโรปหรืออีซี โดยหลายคนมีเหตุผลที่จะเชื่อว่า สถานะและอิทธิพลในโลกของอังกฤษจะไม่ได้รับผลกระทบเพราะในความเป็นจริง อังกฤษมีอำนาจมากมาย ดังนั้น เพื่อเรียกการสนับสนุนจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง พรรคอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอนได้ให้คำมั่นว่า ถ้าหากได้ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้จะจัดการหยั่งเสียงประชามติในปี 2017 เกี่ยวกับการที่อังกฤษจะออกจากอียูหรือไม่ นโยบายการหาเสียงของพรรคอนุรักษ์นิยมได้ระบุว่า ถ้าหากแยกตัวออกจากอียู อังกฤษจะมีเสรีในการจัดทำข้อตกลงการค้ากับประเทศอื่นๆ การช่วยเหลือแรงงานอักฤษ การควบคุมพรมแดน ปรับปรุงเศรษฐกิจ สร้างงานทำมากขึ้นและฟื้นฟูอาชีพที่เป็นจุดแข็ง  ในขณะเดียวกัน พรรคแรงงานโดยนาย เอ็ด มิลิแบนด์เป็นหัวหน้าได้กำหนดในเบื้องต้นว่า ถ้าหากพรรคแรงงานสามารถกลับมากุมอำนาจ จะไม่มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับอนาคตของอังกฤษในอียู
วงการนักวิเคราะห์สถานการณ์แสดงความคิดเห็นว่า ไม่ว่าพรรคใดได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในวันที่ 7 เดือนนี้ ก็ยังคงต้องเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่เพราะไม่มีพรรคใดได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของตนเอง แต่แน่นอนว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญในอังกฤษและรัฐบาลชุดใหม่ต้องปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและในการกำหนดเส้นทางการพัฒนาใหม่ของประเทศในเวลาข้างหน้า./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด