(VOVWORLD) -สื่อต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ตุรกีประกาศว่า ได้ซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 จากรัสเซียแม้จะมีคำเตือนคว่ำบาตรจากสหรัฐในเวลาที่ผ่านมา ถ้าหากนี่เป็นเรื่องจริง แน่นอนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับตุรกีจะตึงเครียดมากขึ้นและโครงการร่วมมือระหว่างสองประเทศอาจถูกระงับอย่างไม่มีกำหนด
ระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 (Photo: TASS) |
สัญญาซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 มูลค่า 2. 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่างตุรกีกับรัสเซียที่ได้รับการลงนามเมื่อปี 2017 ระบุว่า รัสเซียจะส่งมอบระบบดังกล่าวให้แก่ตุรกีในปี 2019 หลังจากที่ประกาศเกี่ยวกับการซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 ตุรกีหวังว่า รัสเซียจะส่งมอบระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 ในเดือนกรกฎาคมนี้
แรงกดดันครั้งใหญ่จากสหรัฐ
นับตั้งแต่ที่ตุรกีมีแผนการซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 จากรัสเซีย ตุรกีต้องเผชิญกับแรงกดดันมากมายจากสหรัฐ โดยสหรัฐได้ออกคำเตือนหลายครั้งเพื่อขัดขวางสัญญาดังกล่าวและล่าสุดนี้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน รัฐสภาสหรัฐได้อนุมัติมติที่เรียกร้องให้ทางการสหรัฐปฏิบัติมาตรการคว่ำบาตรต่อตุรกีและเรียกร้องให้ตุรกีต้องยกเลิกแผนการซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 แล้วยังตำหนิสัญญานี้ว่า คุกคามเอกภาพความสัมพันธ์พันธมิตรสหรัฐ-ตุรกีและทำให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้อ่อนแอลง ก่อนหน้านั้น 2 วัน นาย Ellen Lord รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้เตือนว่า ถ้าหากตุรกีไม่ยกเลิกแผนการดังกล่าวสหรัฐจะส่งกลับนักบินตุรกีที่กำลังเข้าร่วมการฝึกขับเครื่องบินรบ F– 35 ในสหรัฐ พร้อมทั้ง ยกเลิกข้อตกลงที่การอนุญาตให้บริษัทตุรกีมีส่วนร่วมในการรับเหมาผลิตเครื่องบินรบ F– 35 ที่ได้ลงนามกันไว้และส่งมอบหน้าที่ของตุรกีในโครงการ F– 35 จะให้แก่ประเทศอื่นในปี 2020
ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อตุรกีเนื่องจากตุรกีมีแผนการซื้อเครื่องบิน F– 35 กว่า 100 ลำ รวมมูลค่าเกือบ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้ง บริษัทต่างๆของตุรกีที่ผลิตชิ้นส่วนของเครื่องบิน F– 35จำนวน 937 รายการจะถูกตัดชื่อออกจากโครงการ F– 35 ซึ่งจะสร้างรอยร้าวที่ลึกที่สุดในประวัติความสัมพันธ์พันธมิตรตุรกีกับสหรัฐ
นอกจากต้องเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐแล้ว บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้เผยว่า ตุรกีอาจไม่ได้เข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมที่สำคัญของนาโต้เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของข้อมูลโดยเมื่อวันที่ 3 เมษายน นาย ไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐยังออกคำเตือนว่า ตุรกีอาจถูกถอดถอนจากการเป็นสมาชิกของนาโต้ถ้าหากยังคงยืนกรานปฏิบัติตามสัญญาที่ลงนามกับรัสเซีย
ส่วนในด้านเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ประกาศยุติข้อตกลงให้สิทธิพิเศษด้านการค้ากับตุรกีโดยให้เหตุผลว่า ตุรกีไม่ใช่ประเทศที่กำลังพัฒนาทำให้สินค้าส่งออกของตุรกีไปยังสหรัฐไม่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีอีก
สาเหตุที่ทำให้สหรัฐพยายามขัดขวางสัญญาซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 ระหว่างตุรกีกับรัสเซียเพราะระบบป้องกันขีปนาวุธดังกล่าวสามารถตรวจพบและโจมตีใส่เครื่องบินล่องหนที่ทันสมัยที่สุดของสหรัฐได้ รวมทั้ง เครื่องบิน F– 35 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของพันตรี Dan Flatley ที่ออกมายอมรับว่า ระบบป้องกันขีปนาวุธ S – 400 สามารถตรวจพบเครื่องบิน F– 35 ได้
อีกอย่างหนึ่งก็คือ สหรัฐมีความวิตกกังวลเนื่องจากตุรกีได้ประกาศว่า จะใช้อาวุธนี้เพื่อติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธที่เป็นเอกเทศจากระบบป้องกันขีปนาวุธร่วมของนาโต้ (เหมือนระบบ S – 300 ของกรีซ บัลแกเรียและสโลวาเกีย)
ไม่สามารถขัดขวางความตั้งใจของตุรกี
นับตั้งแต่ถูกแรงกดดันจากสหรัฐ เจ้าหน้าที่ตุรกีไม่เคยประกาศยกเลิกแผนการดังกล่าว นาย ไตยิป เอร์โดอันประธานาธิบดีตุรกีได้ยืนยันอีกครั้งถึงความตั้งใจที่จะซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธดังกล่าวของรัสเซียเพื่อป้องกันทางอากาศของประเทศตนแล้วยังเผยว่า สิ่งนี้ก็หมายความว่า เขตดินแดนของนาโต้และสหภาพยุโรปหรืออียูจะเพราะฉะนั้นคำตำหนิที่ไม่ยุติธรรมและไร้มูลความจริงต่อนโยบายการต่างประเทศของตุรกีเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
ประธานาธิบดี ไตยิป เอร์โดอันยังเผยว่า ตุรกีได้บรรลุข้อตกลงซื้อระบบ S – 400 ของรัสเซียในขณะที่ตุรกีต้องจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงในเขตชายแดน โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือจากประเทศพันธมิตร ในหลายปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับตุรกีก็ได้ประสบปัญหาตึงเครียดมากขึ้นเนื่องจากปัญหาซีเรีย มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านและความตึงเครียดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ของสหรัฐถูกทางการตุรกีจับกุมตัวแต่แผนการซื้อระบบ S – 400 อาจถือว่าจะส่งผลเสียรุนแรงที่สุดต่อความสัมพันธ์สหรัฐ-ตุรกี.