สถานการณ์การเมืองที่ซับซ้อนในลิเบีย

(VOVWORLD) - สถานการณ์ในประเทศลิเบียทวีความตึงเครียดมากขึ้นในช่วงวันที่ผ่านมา โดยในตลอด 9 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่หลังการโค่นล้มผู้นำลิเบีย โมอัมมาร์ กัดดาฟี ประเทศลิเบียได้ตกเข้าสู่ภาวะความแตกแยกระหว่างฝ่ายต่างๆที่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอก ดังนั้น ได้มีการย้ำถึงมาตรการที่สันติให้แก่ลิเบียหลายครั้งในการเจรจาครั้งต่างๆ แต่ถึงกระนั้นจากสถานการณ์ที่เป็นจริง อาจต้องใช้เวลานานเพื่อให้ประชาชนลิเบียจะได้มีชีวิตอยู่ในสันติภาพและเป็นเจ้าของของประเทศได้

สถานการณ์การเมืองที่ซับซ้อนในลิเบีย - ảnh 1ตุรกีให้คำมั่อยู่เคียงข้างกับรัฐบาลสามัคคีประชาชาติลิเบียในกรุงทริโปลี (Anadolu) 

ลิเบียตกเข้าสู่สถานการณ์การเมืองแตกแยกและความรุนแรงขยายตัวนับตั้งแต่การโค่นล้มผู้นำ โมอัมมาร์ กัดดาฟี เมื่อปี 2011 โดยฝ่ายตะวันตกเป็นผู้ดำเนินการ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตลอด 9 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า รถถังและปืนใหญ่ไม่สามารถเป็นมาตรการแก้ไขวิกฤตในลิเบียได้

ความตึงเครียดจากปัจจัยภายนอก

ที่ประเทศลิเบียกำลังมีสองระบบการบริหารที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังติดอาวุธต่างๆ โดยรัฐบาลสามัคคีประชาชาติลิเบียหรือ GNA ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติและกองกำลังติดอาวุธตุรกีซึ่งกำลังเคลื่อนไหวในกรุงทริโปลี ส่วนกองกำลังที่ประกาศว่าเป็นกองทัพแห่งชาติลิเบีย LNA ที่สนับสนุนทางการในภาคตะวันออกและได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ UAE รัสเซียและอียิปต์ สถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นนับตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2019 เมื่อนายพล Haftar เปิดยุทธนาการทางทหารเพื่อยึดอำนาจควบคุมกรุงทริโปลีจาก GNA และจนถึงเดือนกรกฎาคมปี 2020 ความตึงเครียดได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนเมื่อปรกฎความเสี่ยงเผชิญหน้าของทหารระหว่างตุรกีกับอียิตป์ในลิเบีย

ขณะนี้ GNA ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางการอังการากำลังขยายการควบคุมในพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตตะวันตกภาคเหนือในลิเบียซึ่งเมื่อก่อนอยู่ภายใต้การควบคุมของ LNA อีกทั้งขับไล่การโจมตีเพื่อควบคุมกรุงทริโปลีของ LNA นอกจากนั้น GNA ยังประกาศว่า จะโจมตีและยึดคืนอำนาจการควบคุม Sirte ซึ่งเป็นประตูสู่บ่อน้ำมันในภาคตะวันออกของลิเบียและฐานทัพอากาศ Jufra ก่อนหน้านั้น ตุรกีได้ส่งทหารนับพันนายจากซีเรียไปยังลิเบียเพื่อสนับสนุน GNA ซึ่งท่าที่นี้ถูกมองว่า “เป็นน้ำหยดสุดท้ายที่ทำให้น้ำล้นแก้ว” สร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมากให้แก่ทางการไคโร นาย อับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ประธานาธิบดีอียิปต์ได้เตือนว่า ทางการไคโรมีสิทธิ์ที่ชอบด้วยกฎหมายในการแทรกแซงสถานการณ์ลิเบีย และย้ำว่า Sirte และ Al-Jufra เป็น “เขตสีแดง” ต่อความมั่นคงแห่งชาติของอียิปต์

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐสภาอียิปต์ได้เห็นพ้องอนุมัติการมอบสิทธิแก่ประธานาธิบดีในการระดมกองกำลังติดอาวุธของประเทศนี้ไปปฏิบัติหน้าที่สู้รบนอกชายแดนเพื่อปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ ตามความเห็นของประธานาธิบดีอียิปต์ การแทรกแซงกิจกายภายในลิเบียของประเทศนี้เพื่อปกป้องความมั่นคงแห่งชาติของอียิปต์ ลิเบียและภูมิภาค โดยเฉพาะค้ำประกันความมั่นคงในเขตชายแดนทางทิศตะวันตกของประเทศนี้ และฟื้นฟูเสถียรภาพในลิเบีย

ในขณะเดียวกัน สภาความมั่นคงแห่งชาติตุรกีหรือ MGK ได้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นสนับสนุนรัฐบาลสามัคคีประชาชาติลิเบียหรือ GNA ในกรุงทริโปลี และให้คำมั่นว่า “อยู่เคียงข้างกับประชาชนลิเบีย ต่อต้านทุกปฏิบัติการที่ก้าวร้าว” และตุรกี “จะไม่ย่อท้อปฏิบัติก้าวเดินที่จำเป็น” ซึ่งคำประกาศของตุรกีได้สื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจมีการเผชิญหน้าโดยตรงกับอียิปต์

สถานการณ์การเมืองที่ซับซ้อนในลิเบีย - ảnh 2กองกำลังสนับสนุนรัฐบาลลิเบียซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสหประชาชาติในเขต Qasr bin Ghashir ทางภาคใต้กรุงทริโปลี (THX) 

เรียกร้องคลี่คลายความตึงเครียด

การปะทะในลิเบียนับวันมีความรุนแรงมากขึ้นด้วยการแทรกแซงของกองกำลังจากภายนอก ในสภาวการณ์นี้ ตัวแทนของสหประชาชาติได้ติดต่อกับฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเนื่องจากสาส์นที่เสมอต้นเสมอปลายของสหประชาชาติต่อทุกฝ่ายในลิเบียและต่างประเทศคือไม่สามารถมีมาตรการด้านการทหารต่อวิกตฤตลิเบียและไม่มีทางเลือกใดนอกเหนือจากมาตรการทางการเมือง

ในขณะเดียวกัน นับเป็นครั้งแรกที่ 3 ประเทศในยุโรปคือเยอรมนี ฝรั่งเศสและอิตาลีข่มขู่ว่า จะคว่ำบาตรฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในลิเบียถ้าหากการกระทำละเมิดคำสั่งคว่ำบาตรทางทะเล ทางบกและทางอากาศยังคงเกิดขึ้นต่อไป ผู้นำเยอรมนี ฝรั่งเศสและอิตาลีเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในลิเบียพร้อมกองกำลังสนับสนุนจากต่างชาติยุติการปะทะทันทีและยุติการปฏิบัติการด้านทหารในปัจจุบัน

รัสเซียเรียกร้องให้ “หยุดยิงทันทีและระงับทุกการปะทะในลิเบีย” เพื่อฟื้นฟูการสนทนาทางการเมืองทั่วประเทศเพื่อยุติวิกฤต

ในตลอด 9 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ในลิเบียยังคงวุ่นวายและไม่มีทางออก และทวีความตึงเครียดมากขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงแม้ทุกฝ่ายต่างยืนยันว่า มาตรการที่สันติเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อแก้ไขการปะทะในลิเบีย แต่ในขณะที่ประชาชนรอคอยการยุติการปะทะ ทุกฝ่ายและกองกำลังต่างชาติกลับเดินหน้าแสวงหาผลประโยชน์ของตน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด