สถานการณ์ของอิตาลีก่อนการลงประชามติ
Hong Van - VOV5 -  
(VOVWorld)-ในวันที่๔ธันวาคมนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอิตาลีจะเข้าร่วมการลงประชามติเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญในสภาวการณ์ที่มีความวิตกกังวลต่างๆ ซึ่งผลการลงประชามติครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อความมีเสถียรภาพทางการเมืองของอิตาลี โดยเฉพาะ อนาคตทางการเมืองของนาย มัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลีและอาจจะส่งผลกระทบต่อสหภาพยุโรปหรืออียูอีกด้วย
(VOVWorld)-ในวันที่๔ธันวาคมนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอิตาลีจะเข้าร่วมการลงประชามติเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญในสภาวการณ์ที่มีความวิตกกังวลต่างๆ ซึ่งผลการลงประชามติครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อความมีเสถียรภาพทางการเมืองของอิตาลี โดยเฉพาะ อนาคตทางการเมืองของนาย มัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลีและอาจจะส่งผลกระทบต่อสหภาพยุโรปหรืออียูอีกด้วย
นาย มัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลี (Photo: AFP)
|
ในการลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอิตาลีจะลงคะแนนสนับสนุนหรือคัดค้านการลดอำนาจของวุฒิสภาและเพิ่มอำนาจให้แก่ทางการส่วนกลาง ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี จะปรับลดจำนวนส.ว.จาก๓๑๕นายลงเหลือ๑๐๐นาย วุฒิสภาจะทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญและรัฐบัญญัติต่างๆที่ได้รับการปฏิบัติใน๒๐เขตของอิตาลี ส่วนสภาล่างอิตาลีมีหน้าที่จัดการลงคะแนนไว้วางใจและอนุมัติรัฐบัญญัติฉบับต่างๆ สองคือ ประชาชนอิตาลีจะต้องตัดสินใจว่า จะลดอำนาจของทางการปกครองท้องถิ่นทั้ง๖๓แห่งเพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ส่วนกลางหรือไม่เพื่อผลักดันการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอิตาลี
สาเหตุของการลงประชามติ
นาย มัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลีได้ถือการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะสร้างหัวเลี้ยวหัวต่อ โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาใหม่ให้แก่ประเทศอิตาลีในหลายทศตวรรษ พร้อมทั้ง ยืนยันว่า การปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อพัฒนาประเทศอิตาลีให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับตัวเข้ากับสหภาพยุโรปและเพิ่มทักษะความสามารถในการรับมือกับความท้าทายต่างๆในสภาวการณ์ที่กระบวนการโลกาภิวัตน์กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
สาเหตุที่ทำให้นายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซีมุ่งมั่นปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ ปัจจุบันวุฒิสภาและสภาล่างอิตาลีมีอำนาจเท่ากัน ซึ่งทำให้งานด้านนิติบัญญัติประสบอุปสรรค โดยไม่สามารถประกาศใช้นโยบายได้อย่างทันการณ์ ซึ่งขัดขวางกระบวนการปฏิรูปทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองของรัฐบาลอิตาลี ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะทำการแก้ไขอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาให้น้อยกว่าสภาล่างบวกกับการแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งฉบับใหม่ โดยกำหนดว่า พรรครัฐบาลที่ได้ที่นั่งข้างมากในรัฐสภาไม่ต้องจับมือกับพรรคอื่นๆจะทำให้นายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซีมีอำนาจในการปฏิบัติโครการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ตัวเขาให้การสนับสนุน ส่วนบรรดานักเศรษฐศาสตร์ได้ยืนยันว่า อิตาลีต้องปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การชุมนุมคัดค้านดเมื่อวันที่๒๗พฤศจิกายน
(Photo: vietnamplus.vn)
|
ก้าวเดินที่มีความเสี่ยงสูงแต่สอดคล้องของนายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี
จากความตั้งใจในการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง นายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี ได้วางเดิมพันอนาคตทางการเมืองของตนในการลงประชามติครั้งนี้ โดยนายมัตเตโอ เรนซี ได้ให้คำมั่นว่า จะลาออกจากตำแหน่งถ้าหากประชาชนลงคะแนนคัดค้าน ซึ่งฝ่ายคัดค้านได้ใช้สิ่งนี้เพื่อบังคับให้นาย มัตเตโอ เรนซีลาออกจากตำแหน่งถ้าเขาแพ้ในครั้งนี้ ส่วนภายในพรรคประชาธิปไตยหรือพีดีของนายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซีมีความเห็นที่แตกต่างกันก่อนการลงประชามติดังกล่าว สิ่งที่น่าสนใจคือ ผลการสำรวจประชามติ๔๐ครั้งที่ได้รับการประกาศก่อนวันที่๑๘พฤศจิกายนปรากฎว่า ฝ่ายคัดค้านการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญกำลังมีความได้เปรียบ โดยเมื่อวันที่๒๗พฤศจิกายน กลุ่มผู้คัดค้านนับหมื่นคนได้เข้าร่วมการชุมนุม โดยเรียกร้องให้ลงคะแนนคัดค้านการลงประชามติดังกล่าว
ความผันผวนครั้งล่าสุดก่อนการลงประชามติได้สร้างอุปสรรคต่ออนาคตทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี โดยถ้าหากพ่ายแพ้ในการลงประชามติ นายมัตเตโอ เรนซีก็จะยังคงเป็นผู้นำพรรคพีดี ถึงแม้ตัวนายมัตเตโอ เรนซีจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเศรษฐกิจอิตาลีก็เสี่ยงที่จะเลวร้ายลง โดยธนาคาร๘แห่งของอิตาลีมีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย ส่วนยอดหนี้เสียของอิตาลีกำลังอยู่ในระดับสูงคือ๔แสนล้านดอลลาร์สหรัฐและผลการลงประชามติใดๆที่ก่อความวุ่นวายให้แก่เวทีการเมืองของอิตาลี ก็จะสร้างความวุ่นวายในตลาดการเงินของประเทศนี้ด้วย
ในขณะเดียวกัน อียูกำลังเฝ้าติดตามผลการลงประชามติดังกล่าวของอิตาลีอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับที่๓ในเขตยูโรโซนเพราะถ้าหากนายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซีประสบความล้มเหลว พรรคขบวนการ ๕ ดาวหรือเอ็ม๕เอส ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภาและเป็นฝ่ายคัดค้านการปรับปรุงรัฐธรรมนูญก็จะมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นอย่างเข้มแข็ง สิ่งที่น่าสนใจคือ พรรคขบวนการ๕ดาวมีแนวทางที่ให้การสนับสนุนการถอนตัวออกจากอียูของอิตาลี
การลงประมติในวันที่๔ธันวาคมนี้ได้ทำให้ประเทศอิตาลีกำลังเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ซึ่งทำให้ประชามติต้องเฝ้าติดตามความผันผวนบนเวทีการเมืองของประเทศนี้อย่างใกล้ชิด.
Hong Van - VOV5