หลายประเทศเร่งปล่อยงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19

(VOVWORLD) - ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 หลายประเทศได้อนุมัติงบประมาณมหาศาลอย่างไม่เคยมีมากก่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังมีความไปได้สูงที่จะเกิดการถดถอยด้านเศรษฐกิจ จึงทำให้ประชาคมโลกต้องมีมาตรการแก้ไขที่เข้มแข็งมากขึ้น
หลายประเทศเร่งปล่อยงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 - ảnh 1ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี มุนแจอินในการประชุมของสภาเศรษฐกิจฉุกเฉิน ณ กรุงโซลเมื่อวันที่ 24 มีนาคม (Photo Yonhap/ VNplus)

การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการผลิตและเศรษฐกิจของหลายประเทศ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในทั่วโลก ดังนั้นเพื่อยับยั้งและลดผลกระทบจากโรคระบาด หลายประเทศได้ใช้วงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ภัยคุกคามเกี่ยวกับการถดถอยด้านเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งถือเป็นความท้าทายของโลก

วงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล

สิ่งที่น่าสนใจในความพยายามช่วยเศรษฐกิจของหลายประเทศจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 คือแผนการอัดฉีดวงเงินนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งนักการเมืองสหรัฐกำลังปฏิบัติขั้นตอนต่างๆเพื่ออนุมัติวงเงินงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยวุฒิสภาสหรัฐได้อนุมัติวงเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ซึ่งเป็นวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ วงเงินนี้จะสนับสนุนการจ่ายเบี้ยประกันการว่างงานให้แก่ชาวอเมริกัน การปล่อยเงินกู้และสิทธิพิเศษให้แก่สถานประกอบการ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ นอกจากนี้ การจัดทำร่างกฎหมายที่บังคับให้บริษัทประกันภัยต้องเงินเอาประกันให้แก่การตรวจรักษาโรคโควิด -19 ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงการคลังและธนาคารกลางของสหรัฐหรือ FED กำลังวางแผนจัดวงเงินช่วยเหลือมูลค่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการรับมือโรคโควิด -19 รัฐบาลสหรัฐยืนยันว่า จะเพิ่มมาตรการสนับสนุนถ้าหาภาวะกวิกฤตไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นในอีก 10-12 สัปดาห์ข้างหน้า

ในขณะเดียวกัน ประเทศในยุโรปได้ประกาศวงเงิน 1 ล้าน 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยฝรั่งเศสประกาศวงเงินสูงที่สุดพร้อมให้คำมั่นว่า จะไม่ปล่อยให้บริษัทใดล้มละลาย โดยรัฐบาลจะเป็นคนค้ำประกันวงเงินกู้มูลค่านับแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ชะลอการเก็บภาษี ค่า เช่าสำนักงาน ค่าน้ำค่าไฟและก๊าซให้แก่สถานประกอบการขนาดย่อม ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 23 ที่ผ่านมา รัฐบาลเยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดของยุโรปได้อนุมัติวงเงินกว่า 1 แสน 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อรับมือผลกระทบจากโรคโควิด -19 พร้อมทั้งให้คำมั่นว่า จะสนับสนุนเงินอย่างน้อย 5 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในรูปแบบการค้ำประกันเงินกู้ให้ แก่สถานประกอบการและจัดสรรสภาพคล่องแบบไม่จำกัดให้แก่บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้ ส่วนสเปนได้ประกาศวงเงินฉุกเฉินมูลค่า 2 แสน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐและอังกฤษประกาศจะสนับสนุนวงเงินงวดแรกมูลค่า 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการต่างๆ

ที่ทวีปเอเชีย เมื่อวันที่ 24 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี มุนแจอิน ได้ประกาศแผนการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉินขึ้นเป็นสองเท่า คือประมาณ 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการ ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน เศรษฐกิจรายใหญ่อันดับที่สองของเอเชียคือญี่ปุ่นก็ประกาศวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ให้คำมั่นไว้ รวมทั้งวงเงินใช้จ่ายอย่างน้อย 1 แสน 3 หมื่น 7 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภัยคุกคามเกี่ยวกับการถดถอยยังอยู่ในระดับสูง

แต่อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจรายใหญ่ๆทั่วโลกได้ใช้วงเงินมหาศาลเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจแต่ยังมีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจโลกจะถดถอย โดยเมื่อวันที่ 23 ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ได้ให้ข้อสังเกตว่า ผลเสียหายจากโรคโควิด – 19 ต่อเศรษฐกิจโลกในปี 2020 อาจรุนแรงกว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2009 ซึ่งอาจต้องมีมาตรการรับมืออย่างไม่เคยมีมาก่อน ผู้อำนวยการใหญ่ไอเอ็มเอฟ Kristalina Georgieva เตือนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญผลเสียหายที่ร้ายแรงจากโรคโควิด – 19 และอาจต้องรับมือกับอัตราการขยายตัวที่ติดลบ

ในขณะเดียวกัน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moodys ได้พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจของกลุ่มจี 20 อาจถดถอยในปี 2020 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 โดยจีดีพีของจี 20 จะลดลงร้อยละ 0.5 สหรัฐลดลงร้อยละ 2 และกลุ่มยูโรโซนจะลดลงร้อยละ 2.2

นักวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นว่า การที่หลายประเทศได้ใช้วงเงินกระตุ้นมหาศาลเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจคือเรื่องที่จำเป็นแต่ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคโควิด – 19 และแนวโน้มโลกาภิวัตน์ของเศรษฐกิจนับวันกว้างลึกมากขึ้น มาตรการนี้จึงกลายเป็นเพียงมาตรการฉุกเฉินเพื่อช่วยแก้ไขภาวะที่ลำบากให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้วงเงินเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำเป็นต้องมีการประสานงานและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิผลระหว่างประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งก่อนอื่นคือต้องร่วมกันยับยั้งและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด