หัวเลี้ยวที่อันตรายในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน

(VOVWORLD) - การตอบโต้ด้านเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐกับจีนเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมได้ส่งผลให้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐย่างเข้าสู่ระยะอันตรายใหม่ และทำให้เห็นว่า ทั้งสองฝ่ายยังไม่อยากลดความตึงเครียด ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจโลกยังคงต้องรับมือกับความเสี่ยงต่างๆต่อไป
หัวเลี้ยวที่อันตรายในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน - ảnh 1ภาพประกอบ

ความตึงเครียดระหว่างสองมหาอำนาจของโลกคือสหรัฐกับจีนไม่เพียงแต่อยู่ในด้านสงครามการค้าเท่านั้น หากยังรวมถึงด้านการเมืองด้วย ซึ่งส่งผลให้โลกต้องเผชิญกับความไร้เสถียรภาพและความวุ่นวายโดยเฉพาะเมื่อสหรัฐและจีนได้เพิ่มการเผชิญหน้าทางยุทธศาสตร์มากขึ้น

การตอบโต้อย่างต่อเนื่อง

ภายในเวลาแค่หนึ่งวัน โลกต้องเผชิญกับการตอบโต้ที่เข้มแข็งที่สุดของจีนนับตั้งแต่ทำสงครามการค้ากับสหรัฐ ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการตัดสินใจของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เพิ่มการเก็บภาษีร้อยละ 10 ต่อสินค้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้ โดยนี่เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่จีนได้ปล่อยให้ค่าเงินหยวนลอยตัวร้อยละ 2 มาอยู่ที่ 7 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ราคาสินค้าของจีนถูกลงเพื่อปกป้องสถานประกอบการจีนจากมาตรการทางภาษีดังกล่าว

ในขณะเดียวกัน สถานประกอบจีน ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของอุตสาหกรรมการเกษตรสหรัฐได้ตัดสินใจยุติการนำเข้าสินค้าการเกษตรของสหรัฐ ทำให้สหรัฐต้องระบุว่าจีนเป็นนักปั่นค่าเงินและจะร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟยับยั้งการแข่งขันที่ไม่ไปร่งใสทุกรูปแบบของจีน โดยกระทรวงการคลังสหรัฐได้เผยว่า การตัดสินใจดังกล่าวของจีนละเมิดคำมั่นที่ให้ไว้กับกลุ่มจี 20 โดยเฉพาะการปล่อยให้ค่าเงินหยวนลอยตัว

การประกาศของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส่งผลให้ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ประธานาธิบดีสหรัฐรุ่นก่อนๆพยายามหลีกเลี่ยงเพราะอาจทำให้ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้น

ผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ จีนและโลก

เศรษฐกิจสหรัฐ จีนและโลกได้รับผลกระทบในทางลบทันทีหลังการทวีหลังภาวะความตึงเครียดดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 5 กันยายน ตลาดหุ้นสหรัฐได้ปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบปี มีการเทขายหุ้นภาคเทคโนโลยี หน่วยงานการผลิตอุตสาหกรรมและสินค้าอุปโภคบริโภค และการปล่อยค่าเงินหยวนลอยตัวจะกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ต้องพิจารณาการปรับลดดอกเบี้ยครั้งใหม่

อีกด้านหนึ่ง การปล่อยค่าเงินหยวนลอยตัวก็ทำให้จีนได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมหนักต้องกู้เงินดอลลาร์เพื่อประกอบธุรกิจ ดังนั้น ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลงจะส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ต้องชำระหนี้มากขึ้น ส่วนบริษัทที่ต้องกำหนดราคามีสินค้าโดยอ้างอิงตามค่าเงินดอลลาร์ เช่น น้ำมันก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น เมื่อประเทศมหาอานาจปล่อยให้ค่าเงินลอยตัวจะทำให้นักลงทุนมีความกังวลเป็นอย่างมาก

ควบคู่กับสหรัฐและจีน ตลาดโลกก็ได้รับผลเสียหายต่างๆ โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียและยุโรปต่างปรับตัวลดลง ส่วนอัตราการแลกในระดับ 7 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐถือเป็นระดับสูงสุดสำหรับตลาดโลก ซึ่งถ้าหากมากไปกว่านี้ นักลงทุนจะมีปฏิกิริยาในเชิงลบ รวมถึงถ้าหากจีนปล่อยให้เงินหยวนลอยตัวต่อไป ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องแข่งขันกับจีนในด้านเดียวกันก็จะถูกกดดันให้ต้องปล่อยค่าเงินลอยตัวเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น การใช้จ่ายลดลง กระแสหมุนเวียนเงินสดผ่านชายแดนผิดปรกติ รวมถึงอาจมีคำสั่งเก็บภาษีใหม่และมาตรการคุ้มครองการค้าต่างๆ เกิดขึ้น

ส่วนในรายงานประเมินผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนเมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมา องค์กร Grant Thornton ได้ระบุว่า ไม่ว่าสงครามการค้านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรแต่รูปแบบการค้าของภูมิภาคอาจเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล สถานประกอบการทุกแห่งควรพิจารณามาตรการเพื่อค้ำประกันการขยายตัวในสภาวการณ์ที่ต้องเผชิญหน้ากับการชลอตัวทางการค้าในระยะยาวและต้องรับมือกับความท้าทายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการระงับของห่วงโซ่อุปทานและการปฏิรูปเทคโนโลยี

ทั้งนี้และทั้งนั้นได้แสดงให้เห็นว่า ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนอาจจะยังมีความผันผวนต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อภูมิภาค สร้างความไร้เสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจโลกและทำลายความไว้วางใจในเอเชีย – แปซิฟิก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด