หัวเลี้ยวหัวต่อของนาโตภายหลัง 70 ปีแห่งการคงอยู่
Huyền -  
(VOVWORLD) - การประชุมสุดยอดในโอกาสรำลึกครบรอบ 70 ปีวันก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต ได้เปิดขึ้นในวันที่ 3 ธันวาคม ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยที่ประชุมตั้งเป้าผลักดันความสามัคคีและกำหนดแนวทางให้แก่อนาคต แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้กำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาภายในกลุ่มภายหลัง 70 ปีนับตั้งแต่การก่อตั้ง
บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของนาโต (Getty) |
การประชุมมีการเข้าร่วมของผู้นำจาก 29 ประเทศสมาชิก รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีเยอรมนี แองเกลา แมร์เคิลและประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ตามประกาศก่อนการประชุม ที่ประชุมครั้งนี้จะออกแถลงการณ์ร่วมที่มีคำมั่นในการป้องกัน แต่ประชามติมีความสงสัยเกี่ยวกับผลงานนี้เพราะอุปสรรคที่นาโตกำลังต้องเผชิญไม่ใช่เรื่องง่ายในการฟันฝ่าเพื่อแสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ความท้าทายจากปัญหาภายในกลุ่ม
ก่อนการประชุมสุดยอดในกรุงลอนดอน หนึ่งในหัวข้อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการทหารของประเทศสมาชิกนาโตขึ้นเป็นร้อยละ 2 ของจีดีพีของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้งภายในกลุ่มนาโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยสหรัฐทั้งเพิ่มแรงกดดันและตำหนิว่า ประเทศยุโรปผลักภาระด้านงบประมาณของนาโตให้แก่สหรัฐมากเกินไป
นอกจากปัญหาความรับผิดชอบด้านงบประมาณแล้ว นาโตยังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆภายในกลุ่ม นั่นคือความขัดแย้งที่ลึกซึ้งระหว่างตุรกีกับพันธมิตรหลักในนาโต โดยเฉพาะกับสหรัฐที่เกี่ยวข้องถึงยุทธศาสตร์การทหารใหม่ของตุรกีในภาคเหนือซีเรียเมื่อเร็วๆนี้ ก่อนการประชุม 1 สัปดาห์ ตุรกีได้กำหนดเส้นตายต่อนาโตโดยเตือนว่า จะปฏิเสธทุกแผนการของพันธมิตรการทหารนี้ถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองที่เข้มแข็งเกี่ยวกับทัศนะต่อกองกำลังชาวเคิร์ดในซีเรีย ทัศนะที่แข็งกร้าวนี้ของตุรกีได้ทำให้นาโตประสบอุปสรรคมากขึ้นในการปฏิบัติแผนการป้องกันด้านการทหารให้แก่ประเทศยุโรปตะวันออกเพื่อขัดขวางภัยคุกคามจากรัสเซียหลังจากมอสโคว์ผนวกแหลมไครเมียเมื่อปี 2014
ถึงแม้เป็นสมาชิกของนาโต แต่ในเวลาที่ผ่านมา ตุรกีได้มีท่าทีต่างๆซึ่งทำให้นาโตไม่พอใจ เช่นการส่งทหารไปยังซีเรียเพื่อโจมตีกองกำลังชาวเคิร์ดซึ่งเป็นพันธมิตรของนาโตในการต่อต้านกลุ่มไอเอสและจับมือกับรัสเซียซึ่งเป็นคู่แข่งของกลุ่ม ท่าทีนี้ของประธานาธิบดีตุรกีได้ทำให้พันธมิตรและบรรดาผู้เชี่ยวชาญตั้งคำถามว่า ตุรกีควรอยู่ในองค์การนาโตต่อไปหรือไม่ แต่ถึงกระนั้น นาโตก็ไม่อยากยุติความสัมพันธ์กับตุรกีเพราะตุรกีเป็ประเทศที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ มีศักยภาพด้านการทหารและมีสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
การประชุมสุดยอดครั้งนี้ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาภายในของประเทศสมาชิก เช่น นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐกำลังถูกไต่สวนเพื่อถอดถอน ส่วนที่ฝรั่งเศส นาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสต้องแก้ไขการนัดหยุดงานทั่วประเทศในวันที่ 5 ธันวาคม ส่วนที่เยอรมนี รัฐบาลพันธมิตรของนายกรัฐมนตรี แองเกลาแมร์เคิล กำลังต้องเผชิญกับความไร้เสถียรภาพหลังจากพันธมิตรคือพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนีหรือ SPD มีคณะผู้บริหารชุดใหม่ ส่วนที่อังกฤษ นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน เหลืออีกไม่ถึง 1 เดือนก็จะต้องเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจะเป็นชี้ชะตากระบวนการ Brexit นอกจากนั้น ยังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์อิหร่านและโครงการท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ระหว่างเยอรมนีกับรัสเซีย
หัวเลี้ยวหัวต่อของนาโต้
ในสภาวการณ์ดังกล่าว การประชุมสุดยอดครั้งนี้จึงถือเป็นนิมิตหมายสำคัญเพราะไม่เพียงแต่เพื่อรำลึก 70 ปีการก่อตั้งนาโตเท่านั้น หากยังเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขความขัดแย้งในเวลาที่ผ่านมา เพื่อค้ำประกันให้องค์การนาโตกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง ก่อนการประชุม ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอ็ล มาครง ได้ยืนยันว่า นาโตกำลังประสบปัญหาเนื่องจากขาดการประสานงานในระดับสูงและขาดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ โฆษกของนาโตปฏิเสธเรียกการประชุมของพันธมิตรการทหารนี้ว่าการประชุมสุดยอด โดยกล่าวว่า นี่คือการประชุมที่มีระดับต่ำกว่า พร้อมทั้งเผยว่า อาจไม่มีการออกแถลงการณ์ร่วมและแผนการในอนาคตใดๆ
คำประกาศและการตำหนิที่รุนแรงของบางประเทศสมาชิกแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ความขัดแย้งของกลุ่มไม่ใช่เรื่องทีสามารถแก้ไขได้โดยง่าย นาโตกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยหัวต่อที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งการคงอยู่ซึ่งบรรดาผู้นำนาโตต้องกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ ตระหนักเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาต่อไปและคำตอบให้แก่ปัญหาที่ร้อนแรงทั้งปัญหาภายในกลุ่มและปัญหานอกกลุ่ม.
Huyền