อังกฤษถอนตัวออกจากเขตยูโรโซนและสหภาพศุลกากรพร้อมกัน
Hong Van -VOV5 -  
(VOVWorld)-
ในบทปราศรัยที่ได้รับการประเมินว่า มีความสำคัญที่สุดนับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เมื่อวันที่๑๗มกราคม นาง เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ยืนยันเป็นครั้งแรกว่า อังกฤษจะถอนตัวออกจากเขตยูโรโซน พร้อมทั้ง ประกาศแผนการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือBrexit รวม๑๒ข้อ การประกาศดังกล่าวของนาง เทเรซา เมย์เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่แข็งกร้าวของอังกฤษ โดยไม่ต้องการบรรลุข้อตกลงที่ครึ่งๆกลางๆกับอียูและทำการกำหนดแผนการBrexitอย่างชัดเจน
(VOVWorld)-
ในบทปราศรัยที่ได้รับการประเมินว่า มีความสำคัญที่สุดนับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เมื่อวันที่๑๗มกราคม นาง เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ยืนยันเป็นครั้งแรกว่า อังกฤษจะถอนตัวออกจากเขตยูโรโซน พร้อมทั้ง ประกาศแผนการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือBrexit รวม๑๒ข้อ การประกาศดังกล่าวของนาง เทเรซา เมย์เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่แข็งกร้าวของอังกฤษ โดยไม่ต้องการบรรลุข้อตกลงที่ครึ่งๆกลางๆกับอียูและทำการกำหนดแผนการBrexitอย่างชัดเจน
นาง เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ (Photo: AFP)
|
ประชามติกำลังรอคอยบทปราศัยของนายกรัฐมนตรีนานมาแล้วเพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางที่อังกฤษยืนหยัดเพื่อดำเนินการถอนตัวออกจากอียูและอังกฤษกำลังเตรียมพร้อมเข้าร่วมการเจรจากับอียูตามกำหนด ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้กระบวนการเจรจาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาวะHard Brexit
ภาวะHard Brexit มีความหมายว่า อังกฤษจะถอนตัวออกจากทั้งเขตยูโรโซนและสหภาพศุลกากร ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอังกฤษกับอียูจะดำเนินไปตามข้อกำหนดขององค์การการค้าโลกหรือWTO โดยอังกฤษจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างเสรี ควบคุมปัญหาผู้อพยพ ได้รับทุกผลประโยชน์อย่างสมบูรณ์และไม่ต้องแบ่งความรับผิดชอบกับอียู
จุดยืนของนายกรัฐมนตรีอังกฤษเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับอียูหลังจากที่ชาวอังกฤษตัดสินใจถอนตัวออกจากอียูเป็นสิ่งที่ถูกคาดการณ์ไว้แล้ว โดยอังกฤษได้เลือกวิธีการถอนตัวออกจากเขตยูโรโซนและสหภาพศุลกากรไปพร้อมกับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในเวลาที่จะถึง บทปราศรัยของนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ย้ำว่า อังกฤษจะไม่ปฏิบัติตามแบบข้อตกลงใดๆที่มีอยู่หากมีความประสงค์ที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าในทุกด้านกับอียูที่อนุญาตให้อังกฤษเข้าถึงตลาดยุโรปอย่างเสรีและยกเลิกกำแพงกีดกัทางการค้า นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้แสดงท่าทีที่แข็งกร้าวของตนเมื่อย้ำว่า การไม่ลงนามข้อตกลงใดๆจะดีกว่าการลงนามข้อตกลงที่ไม่ดี แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่า อังกฤษมีความประสงค์ที่จะแสวงหากลไกการเป็นสมาชิกแบบคู่ร่วมมือหรือเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของอียูแต่อังกฤษอยากเป็นหุ้นส่วนใหม่ที่มีความเสมอภาคของอียู พร้อมทั้ง เตือนว่า ประเทศสมาชิกอียูไม่ควรใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออังกฤษเนื่องจากปัญหาBrexit เพราะจะเป็นการกระทำที่สร้างความเสียหายให้แก่อียู พร้อมทั้ง ให้คำมั่นว่า พร้อมลงนามข้อตกลงฉบับใหม่กับประเทศต่างๆในโลก
แน่นอนว่า คำประกาศของนายกรัฐมนตรีอังกฤษเป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่แข็งกร้าวของอังกฤษที่ไม่อยากบรรลุข้อตกลงแบบครึ่งๆกลางๆกับอียู ดังนั้น เพื่อปฏิบัติแนวทางดังกล่าว นาง เทเรซา เมย์ได้ชี้ชัดถึง๑๒เป้าหมายการเจรจากับ๒๗ประเทศสมาชิกอียูที่เกี่ยวข้องถึงกระบวนการBrexit โดยย้ำว่า อังกฤษจะถอนตัวออกจากเขตยูโรโซนและสหภาพศุลกากรแต่จะพยายามบรรลุข้อตกลงด้านศุลกากรฉบับใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนการค้า สมทบเงินเข้างบประมาณของอียูต่อไปแต่อยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ควบคุมเขตชายแดนและจำนวนพลเมืองอียูที่เข้าอังกฤษ ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอียูและธำรงเขตการเดินทางร่วมระหว่างอังกฤษกับไอร์แลนด์
|
การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ไม่ใช่การแยกตัวออกจากยุโรป
ถึงแม้ อังกฤษได้ยืนยันวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่โลกและแสวงหาหุ้นส่วนใหม่ทั่วโลกแต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษก็ได้ประกาศว่า อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ไม่ใช่แยกตัวออกจากยุโรป โดยยุโรปยังคงเป็นพันธมิตรที่สำคัญและหุ้นส่วนการค้าของอังกฤษ นาย โดนัล ทุสค์ ประธานสภายุโรปได้ประเมินว่า บทปราศรัยดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ระบุถึงสิ่งที่อังกฤษต้องการในกระบวนการBrexit พร้อมทั้ง เผยว่า ๒๗ประเทศสมาชิกอียูจะสามัคคีกันและเตรียมความพร้อมให้แก่การเจรจาหลังจากที่อังกฤษปฏิบัติมาตราที่๕๐ของสนธิสัญญาลิสบอนเพื่อเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียู ส่วนนาง อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้ชื่นชมความชัดเจนในบทปราศรัยของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ พร้อมทั้ง เผยว่า บรรดาประเทศสมาชิกที่เหลือของอียูจะทำการเจรจาบนเจตนารมณ์แห่งการไกล่เกลี่ย
การประกาศดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้มีขึ้น ณ อาคารแลนแคสเตอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่นาง มาร์กาเร็ต แทตเชอ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษเคยประกาศยกย่องเขตยูโรโซน โดยนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้แสดงความหวังว่า เมื่อหวนมองอดีตและปัจจุบัน ชาวอังกฤษรุ่นหลังจะเห็นว่า รัฐบาลอังกฤษพยายามสร้างสรรค์อนาคตที่สดใสกว่าเพื่อพัฒนาประเทศอังกฤษให้เข้มแข็งมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ดี นาง เทเรซา เมย์จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคอื่นๆอีก โดยเฉพาะ การรอคำวินิจฉัยคือการรอคอยการตัดสินใจของศาลสูงสุดอังกฤษเกี่ยวกับการที่รัฐบาลอังกฤษจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐสภาก่อนที่จะปฏิบัติมาตราที่๕๐ของสนธิสัญญาลิสบอนเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียูหรือไม่ โดยคำตอบจะมีในเดือนมกราคมนี้และมีความเป็นไปได้สูงที่บรรดาส.ส.จะไม่ลงคะแนนที่ขัดกับผลการลงประชามติ ซึ่งหมายความว่า อังกฤษจะปฏิบัติมาตราที่๕๐ในปลายเดือนมีนาคมนี้ตามกำหนด.
Hong Van -VOV5