อนาคตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในยุค อาเบะโนมิกส์

(VOVworld)-วันนี้ 29ตุลาคม กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟได้จัดการสัมมนาเกี่ยวกับ อาเบะโนมิกส์หรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของนายกฯชินโซอาเบะ ซึ่งภายหลังตกอยู่ในภาวะเงินฝืดมาเกือบ2ทศวรรษ เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เคยอยู่อันดับสองของโลกนั้นกำลังก้าวเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่เข้มแข็งและอาเบะโนมิกส์ถูกคาดหวังว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากวงจรแห่งความซบเซา

(VOVworld)-วันนี้ 29ตุลาคม กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟได้จัดการสัมมนาเกี่ยวกับ อาเบะโนมิกส์หรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของนายกฯชินโซอาเบะ ซึ่งภายหลังตกอยู่ในภาวะเงินฝืดมาเกือบ2ทศวรรษ เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เคยอยู่อันดับสองของโลกนั้นกำลังก้าวเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่เข้มแข็งและอาเบะโนมิกส์ถูกคาดหวังว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากวงจรแห่งความซบเซา
อนาคตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในยุค อาเบะโนมิกส์ - ảnh 1
อาเบะโนมิกส์ถูกคาดหวังว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากวงจรแห่งความซบเซา(tapchitaichinh.vn)

อาเบะโนมิกส์เป็นแผนการปฏิรูปที่มากไปด้วยเป้าหมายที่นายกฯชินโซอาเบะได้ประกาศใช้นับตั้งแต่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกฯสมัยที่2 ซึ่งมีความแตกต่างกับนโยบายของบรรดาผู้นำรุ่นก่อนโดยสิ้นเชิงเพราะถือเป็นมาตรการกระตุ้นขั้นแรงผ่านการปฏิบัติ3นโยบายหลักคือ การผ่อนคลายการเงิน ผลักดันการใช้จ่ายและการพัฒนาเศรษฐกิจขนานใหญ่
ซึ่งตามคำแถลงที่นายอาเบะได้ประกาศในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนั้น แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจนี้จะเป็นโอกาสที่ดีให้ญี่ปุ่นรักษาความเข้มแข็งในเวทีโลก ในขณะเดียวกัน อาเบะโนมิกส์ก็ได้รับความสนใจจากประชามติโลกเพราะหากแผนการนี้ประสบความสำเร็จก็จะไม่เพียงแต่นำมาซึ่งผลประโยชน์ให้แก่ญี่ปุ่นเท่านั้นหากยังเป็นพลังกระตุ้นการขยายตัวในทั่วโลกอีกด้วย

ที่มาของอาเบะโนมิกส์

หวนมองกลับไปในสถานการณ์ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาในญี่ปุ่น นับตั้งแต่ฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และหุ้นแตกช่วงต้นปี1990 บริษัทต่างๆของญี่ปุ่นก็เริ่มให้ความสนใจกับการปรับลดหนี้และย้านฐานผลิตยังต่างประเทศ การที่เงินเดือนไม่ขึ้นหรือขึ้นเพียงเล็กน้อยอย่างล่าช้าได้ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องประหยัดเต็มที่ซึ่งส่งผลให้จีดีพีของญี่ปุ่นในรอบ2ทศวรรษที่ผ่านมาแทบไม่มีการขยายตัว บวกกับภาวะวิกฤตด้านนิวเคลียร์ปี2011 เหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่ส่งผลเสียอย่างร้ายแรงได้ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นยิ่งถดถอยเต็มที ในสภาวการณ์นั้นการปรับแนวโน้มการขยายตัวจึงถือว่ายากที่จะสำเร็จและนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้นายกฯญี่ปุ่นหลายคนต้องออกจากตำแหน่ง แม้แต่นายอาเบะเองก็เคยประสบความล้มเหลวในวาระแรกเมื่อปี2006ที่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้เพียง12เดือนเท่านั้น  และมาจนถึงปัจจุบัน หากอาเบะโนมิกส์ประสบความสำเร็จก็จะเป็นการค้ำประกันให้นายกฯคนที่6ของญี่ปุ่นคนนี้มั่นใจดำรงตำแหน่งให้ครบตามวาระในรอบ6ปีต่อไป

ผลเบื้องต้น

ยังเร็วเกินไปเพื่อที่จะยืนยันถึงประสิทธิภาพของนโยบายที่นายอาเบะได้เดินหน้าปฏิบัติ แต่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจนถึงขณะนี้ ความสำเร็จประการแรกของอาเบะโนมิกส์คืกสามารถสร้างความคาดหวังในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับการฟื้นฟูอย่างเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ซึ่งตามผลการสำรวจประชามติของสำนักข่าวเกียวโดปรากฎว่า ผู้ตอบคำถามร้อยละ65มีความคาดหวังว่านโยบายนี้จะนำมาซึ่งประสิทธิผลอย่างจริงจัง และความหวังนี้ได้ช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นญี่ปุ่นให้มีการขยายตัวอย่างเป็นประวัติการซึ่งขัดกับบรรยากาศที่เงียบเหงาของตลาดหุ้นโลก โดยดัชนีโตปิกของตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นร้อยละ61ภายหลังเกือบ1ปีที่นายกฯอาเบะขึ้นดำรงตำแหน่ง นโยบายผ่อนคลายทางการเงินและเพิ่มการใช้จ่ายได้มีส่วนร่วมปรับค่าเงินเยนในตลาดและเป็นครั้งแรกในรอบ4ปีที่ผ่านมาอัตราการแลกเปลี่ยนกับเงินเหรียญสหรัฐอยู่ที่กว่า100เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ30เมื่อเทียบกับปี2012 ซึ่งได้ช่วยส่งผลให้ภาคการส่งออกมีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานผลิตหลักในประเทศคือรถยนต์และอิเล็กทรอนิกได้รับประโยชน์มากที่สุดเพราะมีราคาถูกกว่าตลาดต่างประเทศ
เพื่อผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดใช้งบมูลค่ากว่า9หมื่นพันล้านเหรียญสหรัฐให้แก่ปี2013 นายกฯอาเบะยังให้คำมั่นผลักดันการลงทุนภาคเอกชนและกิจกรรมของกลุ่มสถานประกอบการ วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่5ปีต่อไป กำหนดเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมให้แก่ภาคต่างๆเช่น ในรอบ3ปีข้างหน้าจะเพิ่มยอดการลงทุนให้แก่สถานประกอบการอีกร้อยละ10และเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรอีก1.5ล้านเยนจากกว่า3.8ล้านเยนในปี2012ภายใน10ปีข้างหน้า ตลอดจนลดภาษีรายได้สถานประกอบการ ปฏิรูปตุลาการและจัดตั้งระบบใหม่เพื่อการพัฒนา

ผลกระทบที่อาจจะตามมา

อย่างไรก็ดี ตามการวิเคราะห์ของนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ แผนการปฏิรูปทุกแผนจะต้องมีความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจตามมา โดยตามการวิเคราะห์ของไอเอ็มเอฟ นโยบายอาเบะโนมิกส์กำลังต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆโดยเฉพาะผลกระทบจากการเพิ่มการใช้จ่ายต่อหนี้สาธารณะก้อนมหาศาลที่ใหญ่กว่าขนาดของเศรษฐกิจญี่ปุ่น2เท่าและเงินเฟ้อในระดับสูงอาจจะทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำได้สู่การเพิ่มค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย
แต่ถึงกระนั้น ไอเอ็มเอฟก็ยังมีความเห็นที่สดใสเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใหญ่อันดับ3ของโลกนี้จากการปฏิบัติโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่และการกระตุ้นความต้องการจากตลาดต่างประเทศ ซึ่งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องอาจจะช่วยให้ทางการของนายอาเบะเพิ่มภาษีการบริโภคตั้งแต่ปี2014และสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวที่ร้อยละ2.5ในปี2013ไปจนถึงปลายเดือนมีนาคมปี2014ได้ จากก้าวเดินที่นายอาเบะที่กำลังดำเนินการนั้น ประชามติสามารถตั้งความหวังว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มกลับเข้าสู่เส้นทางแห่งการฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด