อุปสรรคในการนำสันติภาพมาสู่เยเมน

(VOVworld)การเจรจาสันติภาพในเยเมนภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติมีความเสี่ยงที่จะตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันอีกครั้ง เนื่องจากกองกำลังฮูธีซึ่งเป็นกองกำลังนิกายชีอะห์ที่มีความแข็งแกร่งที่สุดในเยเมนได้ปฏิเสธแผนการสันติภาพของสหประชาชาติ และเสนอจัดตั้งรัฐบาลสามัคคีในเยเมนเป็นเงื่อนไขหลักในการเจรจา นอกจากนั้น สถานการณ์ความรุนแรงในสนามรบที่เพิ่มมากขึ้นได้ทำให้ความคาดหวังเกี่ยวกับสันติภาพในเยเมนยิ่งเปราะบางมากขึ้น

(VOVworld)การเจรจาสันติภาพในเยเมนภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติมีความเสี่ยงที่จะตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันอีกครั้ง เนื่องจากกองกำลังฮูธีซึ่งเป็นกองกำลังนิกายชีอะห์ที่มีความแข็งแกร่งที่สุดในเยเมนได้ปฏิเสธแผนการสันติภาพของสหประชาชาติ และเสนอจัดตั้งรัฐบาลสามัคคีในเยเมนเป็นเงื่อนไขหลักในการเจรจา นอกจากนั้น สถานการณ์ความรุนแรงในสนามรบที่เพิ่มมากขึ้นได้ทำให้ความคาดหวังเกี่ยวกับสันติภาพในเยเมนยิ่งเปราะบางมากขึ้น

อุปสรรคในการนำสันติภาพมาสู่เยเมน - ảnh 1
นาย Ismail Oukd Cheikh Ahmed ทูตพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหาเยเมน (THX)

วิกฤตในเยเมนอาจเรียกได้ว่า เป็นสงครามกลางเมืองที่บานปลายพร้อมความเสี่ยงที่สถานการณ์ไร้เสถียรภาพจะยืดเยื้อต่อไป เพราะทุกแผนการเจรจาสันติภาพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันต่างประสบความล้มเหลว ถึงแม้จะมีสันนิบาตอาหรับหรือสหประชาชาติเป็นคนกลางก็ตาม เยเมนตกเข้าสู่สถานการณ์ไร้เสถียรภาพหลังการโค่นล้มประธานาธิบดี อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ เมื่อปี 2012 และจนถึงขณะนี้ การปะทะในเยเมนได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,400 คนและประชาชนประมาณ 2.8 ล้านคนต้องทิ้งบ้านเรือนและประชากรร้อยละ 80 กำลังต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน
ความชะงักงันในการแสวงหาเสียงพูดเดียวกัน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม คณะผู้แทนของรัฐบาลเยเมนที่เข้าร่วมการเจรจาโดยสหประชาชาติเป็นคนกลางได้ตัดสินใจเดินทางออกจากคูเวตหลังจากกองกำลังฮูธีปฏิเสธแผนการสันติภาพของสหประชาชาติที่ใช้เวลาจัดทำนานหลายเดือนในการเจรจาสันติภาพในคูเวตเพื่อยุติการปะทะที่ทำให้ประชาชนเยเมนเสียชีวิตนับพันคน โดยแผนการดังกล่าวเรียกร้องให้กองกำลังฮูธีถอนตัวออกจากกรุงซานาหลังเข้าควบคุมเมืองนี้มานานตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2014 และวางอาวุธภายในเวลา 45 วัน ซึ่งแทนแผนการก่อนหน้านี้ที่เสนอโดยนาย Ismail Oukd Cheikh Ahmed ทูตพิเศษของสหประชาชาติให้จัดตั้งรัฐบาลสามัคคีในเยเมน รวมทั้งกองกำลังลุกขึ้นสู้ ซึ่งประธานาธิบดี อับ ราบบู มันซัวร์ ฮาดีของเยเมนไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายรัฐบาลเยเมนได้ตกลงแผนการใหม่นี้ กองกำลังฮูธีก็กลับปฏิเสธ พร้อมทั้งยืนยันอีกครั้งถึงข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาวคือ ทุกฝ่ายต้องเห็นพ้องในการจัดตั้งรัฐบาลสามัคคี โดยมีประธานาธิบดีคนใหม่และรัฐบาลชุดใหม่
ก่อนหน้านั้น การเจรจาสันติภาพเกี่ยวกับเยเมนโดยสหประชาชาติเป็นคนกลางได้ตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันหลายครั้ง เพราะทุกฝ่ายไม่สามารถเห็นพ้องในปัญหาหลักๆ โดยกองกำลังฮูธีได้เรียกร้องให้จัดตั้งรัฐบาลสามัคคีประชาชาติก่อนบรรลุมาตรการใดๆ ในขณะที่คณะผู้แทนของรัฐบาลเยเมนได้เรียกร้องให้ปฏิบัติมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยเรียกร้องให้กองกำลังฮูธีและพันธมิตรต้องถอนตัวออกจากเขตที่ยึดครองตั้งแต่ปี 2014 รวมทั้งกรุงซานาและวางอาวุธ
ความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อกองกำลังฮูธีและพันธมิตรคือพรรคสมัชชาใหญ่ประชาชาติทั่วประเทศหรือจีพีซีของอดีตประธานาธิบดี อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ ได้ร่วมประกาศจัดตั้ง “สภาการเมืองสูงสุด” เพื่อบริหารประเทศเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลเยเมนได้ถือท่าทีดังกล่าวคือการทำรัฐประหารครั้งใหม่ และประกาศว่าจะไม่ประนีประนอมเป็นอันขาด ในขณะเดียวกัน การปะทะระหว่างทหารเยเมนกับกองกำลังฮูธีในเขตชายแดนยังคงสร้างความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง

อุปสรรคในการนำสันติภาพมาสู่เยเมน - ảnh 2
โฆษกของกองกำลังฮูธี Mohammed Abdul-Salam (EPA)

ความขัดแย้งทางศาสนา
ความซับซ้อนของวิกฤตเยเมนมาจากความขัดแย้งทางศาสนา โดยที่เยเมนเช่นเดียวกับในภูมิภาคตะวันออกกลางได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมนิกายชีอะห์และชาวมุสลิมนิกายสุหนี่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความเชื่อที่แตกต่างกันเกี่ยวกับตัวศาสดา โมฮัมเหม็ด สถานการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้นตั้งแต่ปี 2009 เมื่อเยเมนกลายเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มอัลกออิดะห์ที่มีแนวคิดแบบนิกายสุหนี่ จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับชาวฮูธีนิกายชีอะห์ ดังนั้นกองกำลังฮูธีจึงเป็นกลุ่มนักรบต่อต้านกลุ่มอัลกออิดะห์ และเยเมนได้กลายเป็นสนามรบให้แก่ลัทธิหัวรุนแรงระหว่างกองกำลังของรัฐบาลกับกองกำลังฮูธีและกลุ่มอัลกออิดะห์
กองกำลังฮูธีนิกายชีอะห์ในภาคเหนือเยเมนเป็นหนึ่งในกองกำลังที่มีความแข็งแกร่งที่สุดในเยเมนและได้เผชิญหน้ากับรัฐบาลอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2009 เมื่อปี 2011 ประธานาธิบดี อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ ถูกโค่นล้ม และนาย อับ ราบบู มันซัวร์ ฮาดี ได้กลายเป็นประธานาธิบดีแทน ซึ่งได้รับการรับรองจากนานาชาติ เดือนมกราคมปี 2015 กองกำลังฮูธีได้ทำให้นาย ฮาดี ต้องลาออกจากตำแหน่งและเมื่อการสู้รบได้บานปลายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 นาย ฮาดี ต้องหนีไปยังเมืองอาเดน ในภาคใต้เยเมน และเดินทางไปยังซาอุดิอาระเบียเพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พันธมิตรรวม 10 ประเทศในอ่าวเปอร์เซียและอาหรับได้ทำการโจมตีทางอากาศเพื่อขัดขวางการเคลื่อนไหวไปยังภาคใต้ของกองกำลังฮูธี ซึ่งตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน ประเทศเยเมนได้ตกเข้าสู่วังวนแห่งความรุนแรงและการแบ่งแยกที่หาทางออกไม่ได้
ถึงแม้ประชาคมโลก ที่นำโดยสหประชาชาติได้พยายามเป็นอย่างมาก แต่กองกำลังต่างๆในเยเมนยังไม่สามารถแสวงหาเสียงพูดเดียวกันเกี่ยวกับสัดส่วนในกลไกรัฐบาลเปลี่ยนผ่าน ดังนั้น สันติภาพและเสถียรภาพในเยเมนยังไม่สามารถบรรลุได้ ซึ่งหมายความว่า ความตึงเครียดที่ซับซ้อนในตะวันออกกลางจะยังไม่สามารถแก้ไขได้ในเวลาที่จะถึงอย่างแน่นอน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด