อียูเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ที่จะมีก้าวเดินแรกหลัง Brexit

(VOVworld) – วันที่ 28 มิถุนายน ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม สหภาพยุโรปหรืออียูได้จัดการประชุมครบองค์นัดพิเศษเพื่ออนุมัติมติเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษหรือ Brexit การประชุมได้มีขึ้นก่อนการประชุมผู้นำอียูเพื่อเสนอก้าวเดินที่จำเป็นต่อไปของอียูเพื่อค้ำประกันไม่ให้กลุ่มตกเข้าสู่วิกฤต

(VOVworld) – วันที่ 28 มิถุนายน ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม สหภาพยุโรปหรืออียูได้จัดการประชุมครบองค์นัดพิเศษเพื่ออนุมัติมติเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษหรือ Brexit การประชุมได้มีขึ้นก่อนการประชุมผู้นำอียูเพื่อเสนอก้าวเดินที่จำเป็นต่อไปของอียูเพื่อค้ำประกันไม่ให้กลุ่มตกเข้าสู่วิกฤต

อียูเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ที่จะมีก้าวเดินแรกหลัง Brexit - ảnh 1
รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษและสหรัฐในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน (AFP)


การตัดสินใจถอนตัวออกจากอียูของชาวอังกฤษเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ยุโรป เพราะอังกฤษเป็นสมาชิกสำคัญของอียูจึงได้สร้างความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ต่อกลุ่มและส่งผลกระทบในทางลบอย่างรุนแรงต่อการผสมผสานในระยะต่อไป
ประสบอุปสรรคมากมายหลัง Brexit
การประชุมผู้นำอียูที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายนถือเป็นหนึ่งในการประชุมที่น่าเสียใจที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียู เพราะในการประชุมครั้งนี้ บรรดาผู้นำอียูได้หารือเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษหรือ Brexit รวมถึงกระบวนการะถอนตัวดังกล่าว ซึ่งคาดว่า จะใช้เวลา 2 ปีเพื่อเสร็จสิ้นกระบวนการนี้ตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาลิสบอนเกี่ยวกับอียู แต่ตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์ กระบวนการนี้กำลังประสบอุปสรรคมากมาย เพราะอียูไม่เคยเผชิญกับแผนการขอถอนตัวออกจากกลุ่มของประเทศสมาชิกมาก่อน ดังนั้นอียูจึงไม่มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหานี้อย่างทันที แถมนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิดคาเมรอน ที่ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งได้เผยว่า จะไม่ปฏิบัติก้าวเดินอย่างเป็นทางการเพื่อให้อังกฤษถอนตัวออกจากอียู หากมอบให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษ การลงประชามติเมื่อเร็วๆนี้ไม่มีข้อผูกมัดทางนิตินัย ดังนั้น นักการเมืองบางคนกำลังเสนอให้รัฐสภาอังกฤษลงคะแนนก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติกระบวนการถอนตัวออกจากอียูหรือ Brexit ส่วนทางการสกอตแลนด์ได้เผยว่า อาจจะจัดการลงคะแนนเพื่อคัดค้าน Brexit เพราะตามข้อตกลงระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ กฎหมายที่อังกฤษประกาศใช้เพื่ออนุมัติการตัดสินใจออกจากอียูจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติของทั้ง 3 เขตดังกล่าว ในขณะที่ผู้นำอียูอยากให้ Brexit ดำเนินไปอย่างรวดเร็วเพื่อจำกัดผลกระทบ ดังนั้น ความวิตกกังวลในปัจจุบันคือ ความเห็นของลอนดอนและสมาชิกของอียูเกี่ยวกับช่วงเวลาและวิธีการที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากอียู
ผลกระทบในทางลบจาก Brexit
Brexit ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจและการเมืองของอังกฤษและอียู สำหรับอังกฤษ การถอนตัวออกจากอียูจะทำให้ขอบเขตเศรษฐกิจของประเทศนี้ลดลงร้อยละ 3.8-7.5 อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะการลาออกของนายกรัฐมนตรีอังกฤษอาจเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตภายในพรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ตลอดจนระบบการเมืองของอังกฤษ  มีหลายความคิดเห็นได้แสดงความวิตกกังวลว่า Brexit จะนำไปสู่ภาวะถดถอยหรือวิกฤตเศรษฐกิจ ส่วนสำหรับอียู ในสภาวการณ์ที่ยุโรปยังคงต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ การเงินและปัญหาที่สร้างความไม่พอใจอื่นๆ เช่นผู้อพยพและลัทธิการก่อการร้าย Brexit ได้ทำให้เกิดคำถามต่อประสิทธิภาพและความมั่นคงของยุโรปเพิ่มมากขึ้น ในด้านเศรษฐกิจ อียูจะรับผลกระทบไม่น้อย เพราะ 27 ประเทศสมาชิกที่เหลือของอียูจะต้องเพิ่มงบประมาณในส่วนที่ขาดไปของอียูหลังการถอนตัวของอังกฤษ  ในด้านการค้า ปัจจุบันประเทศสมาชิกที่เหลือของอียูกำลังได้เปรียบดุลการค้ากับอังกฤษ 1 แสนล้านยูโร่ ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ Brexit จะสร้างการกีดกันทางการค้าระหว่างลอนดอนกับอียู พร้อมทั้งทำให้การขยายตัวด้านเศรษฐกิจของอังกฤษลดลงและเงินปอนด์อ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อการส่งออกของอียูไปยังอังกฤษ
อยู่เคียงข้างกันหลัง Brexit
ปัจจุบัน เสถียรภาพคือสิ่งที่สำคัญของ 27 ประเทศสมาชิกอียู ตลอดจนอังกฤษ ดังนั้น หน้าที่ที่เร่งด่วนในปัจจุบันคือ ต้องทำเช่นไรเพื่อรักษาโครงสร้างของกลุ่มอียูในอนาคต ปกป้องเขตยูโรโซน ป้องกันผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นต่อเงินปอนด์และตลาดการเงิน ดังนั้น กิจกรรมการทูตแบบลูกกระสวยของบรรดาผู้นำอียูกำลังมีขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายวันที่ผ่านมา
ในการพูดคุยผ่านทางโทศัพท์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน นาย ฟรังซัวส์ ออลลองด์  ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและนาง แองเกลา แมร์เกิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้เห็นพ้องเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขสถานการณ์หลังการลงประชามติเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนในอังกฤษ โดยทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันถึงความจำเป็นที่จะมีปฏิบัติการเพื่อป้องกันความเสียหายภายในกลุ่มอียู ปัจจุบัน เยอรมนีและฝรั่งเศสได้เสร็จสิ้นการจัดทำเอกสาร 10 หน้ากระดาษที่เกี่ยวข้องถึงความมั่นคง การอพยพและลี้ภัย งานทำและการขยายตัวเพื่อให้ประเทศสมาชิกหารือ ต่อจากนั้นได้มีการจัดการพบปะไตรภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีอิตาลี ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีโดยย้ำถึงความสำคัญของการแสวงหามาตรการรับมือผลกระทบจาก Brexit ภายในกลุ่ม
แน่นอนว่า ในเวลาที่จะถึง ปัญหา Brexit จะถูกนำมาหรือมากขึ้น อังกฤษถอนตัวออกจากอียูจะนำเสถียรภาพมาสู่ยุโรปหรือไม่ นี่คือคำถามที่บรรดาผู้นำอียูกำลังพยายามหาคำตอบ และทุกคนกำลังรอคอยว่า ในการประชุมผู้นำอียูครั้งนี้ อียูจะบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เพื่อมีก้าวเดินแรกหลัง Brexit เพื่อประดองไม่ให้อียูเดินผิดทิศทาง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด