อิรัก - จุดร้อนใหม่ในตะวันออกกลาง

(VOVworld) - ประเทศอิรักได้กลายเป็นจุดร้อนของการปะทะในตะวันออกกลางภายในไม่กี่วันที่ผ่านมาโดยพื้นที่ 1ใน3 ได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มกบฎมุสลิมหัวรุนแรงที่มีเป้าหมายก่อตั้ง “รัฐอิสลามแห่งอิรักและตะวันออกใกล้” การปะทะในอิรักไม่เพียงแต่ทำให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนูรี อัลมาลิกีต้องปวดหัวเท่านั้นหากยังสร้างความท้าทายต่อบรรดาประเทศเพื่อนบ้านและยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง
(VOVworld) - ประเทศอิรักได้กลายเป็นจุดร้อนของการปะทะในตะวันออกกลางภายในไม่กี่วันที่ผ่านมาโดยพื้นที่ 1ใน3 ได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มกบฎมุสลิมหัวรุนแรงที่มีเป้าหมายก่อตั้ง “รัฐอิสลามแห่งอิรักและตะวันออกใกล้” การปะทะในอิรักไม่เพียงแต่ทำให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนูรี อัลมาลิกีต้องปวดหัวเท่านั้นหากยังสร้างความท้าทายต่อบรรดาประเทศเพื่อนบ้านและยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง
อิรัก - จุดร้อนใหม่ในตะวันออกกลาง - ảnh 1
(Photo Reuters)

กลุ่มกบฎชาวซุนนีย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมือปืนสังกัดกลุ่มกบฎที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและเลแวนต์หรือ ISILได้ยึดพื้นที่อันกว้าวใหญ่ในภาคตะวันตกของอิรัก  โดยเฉพาะนครสำคัญสองแห่งคือMosul ซึ่งเป็นนครใหญ่อันดับสองของอิรักและTikrit บ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ Saddam Hussein โดยนครสองแห่งนี้อยู่ห่างจากกรุงแบกแดดไม่มากนัก การยึดเมืองดังกล่าวได้ช่วยให้แผนการก่อตั้งรัฐอิสลามที่ครอบคลุมพื้นที่ของซีเรียและอิรักมีความเป็นไปได้สูงที่จะกลายเป็นความจริง
อิรักเสี่ยงตกเข้าสู่สงครามกลางเมือง ส่งผลให้ความมั่นคงในภูมิภาคถูกคุกคาม
หลังการยึดเมือง Mosul ISILได้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Twitter และเผยแพร่วีดีโอคลีปและแถลงการณ์อย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเป้าหมายการก่อตั้งรัฐอิสลามของตนเอง
สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเพราะ ISIL ไม่ใช่กองกำลังเดียวที่ทำการโจมตีอีรักแต่ยังมี กองกำลังของชาวเคิร์ดที่สามารถยึดนคร Kirkuk ซึ่งเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยน้ำมันของอิรักได้
จากสถานการณ์ที่การปะทะทวีความรุนแรงมากขึ้น ชาวอิรักเกือบ 1 ล้านคนต้องอพยพไปยังที่ปลอดภัย ส่วนบางประเทศ เช่น สหรัฐและออสเตรเลียได้ประกาศถอนเจ้าหน้าที่สถานทูตของตนออกจากเขตสู้รบและเตือนให้พลเมืองออกจากประเทศนี้ทันที
ชัยชนะอย่างต่อเนื่องของกองกำลังมุสลิมติดอาวุธ ISIL ไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามโดยตรงต่ออนาคตของรัฐอิรักเท่านั้นหากยังทำให้บรรดาประเทศเพื่อนบ้านและพันธมิตรของอิรักมีความวิกตกกังวลอีกด้วย เพราะศักยภาพด้านการทหารของรัฐบาลอิรักชุดปัจจุบันไม่สามารถปราบปรามกลุ่ม ISIL ได้ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุนทั้งรถถัง รถหุ้มเกราะและอาวุธทันสมัยจากสหรัฐก็ตาม สำหรับสหรัฐ กลุ่ม ISIL จะเป็นอันตรายอย่างจริงจังถ้าสามารถยึดดินแดนของอิรักได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่และเงินฝากหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐในธนาคาร Mosul และรัฐซุนนีย์ที่ควบคุมทั้งซีเรียและอิรักได้ก็จะส่งผลกระทบต่อทั้งภูมิภาค ทั้งนี้ทำให้ประชามติกังวลว่า อาจจะเป็นการกระตุ้นการลุกขึ้นของกลุ่มชาวเคิร์ดที่ในตุรกี ซีเรียและอิร่าน และเขตอื่นๆของอิรักก็อยากจัดตั้งรัฐของตนเองหรือไม่
อิรัก - จุดร้อนใหม่ในตะวันออกกลาง - ảnh 2
(Photo Getty Images)

แทรกแซงทางทหารหรือใช้มาตรการทางการทูต

ประเทศที่มีปฏิกิริยามากมายต่อสถานการณ์ความไม่สงบในอิรักคือสหรัฐ  ซึ่งต่อจากแถลงการณ์ของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน นาย John Kerry รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ยืนยันอีกครั้งว่า สหรัฐกำลังพิจารณาทุกวิธีการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในอิรัก ในขณะเดียวกัน ในจดหมายที่ส่งถึงสมาชิกรัฐสภา นายบารัก โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐได้แจ้งว่า จะส่งทหาร 275 นายไปช่วยเหลือและรักษาความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่สหรัฐและสถานทูตสหรัฐ ณ กรุงแบกแดด นอกจากนี้ยังมีคนเห็นเรือ USS Mesa Verde ที่บรรทุกนาวิกโยธินสหรัฐ 550 นายเข้าไปในเขตอ่าวเปอร์เซียเพื่อเตรียมพร้อมถ้าหากวอชิงตันตัดสินใจใช้มาตรการทางทหารเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลอิรัก ก่อนหน้านั้น สหรัฐได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก USS George H.W. Bush เข้าไปในอ่าวเปอร์เซีย แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากสหรัฐใช้มาตรการแทรกแซงทางทหารนั้นก็จะได้รับผลเสียหายมากกว่าได้รับประโยชน์ ซึ่งชัดเจนที่สุดคือ ชุมชนชาวซุนนีย์ในอิรักจะถือว่า สหรัฐกำลังสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามในการปะทะทางชาติพันธุ์ในอิรัก
ส่วนอังกฤษก็มีปฏิกิริยาตรงกันข้ามกับสหรัฐโดยประกาศอย่างชัดเจนว่าจะไม่แทรกแซงทางทหารเข้าในอิรักแต่จะให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและจะเป็นที่ปรึกษาในการต่อต้านการก่อการร้ายให้แก่รัฐบาลอิรักถ้าหากอิรักต้องการ ส่วนประเทศซาอุดิ อาระเบียก็ประกาศคัดค้านประเทศต่างๆที่เข้าแทรกแซงสถานการณ์ในอิรักโดยถือว่า วิกฤตในอิรักเป็นผลพวงจากการปฏิบัตินโยบาย “ แบ่งพรรคแบ่งฝ่าย”ในหลายปีที่ผ่านมา ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนเกี่ยวกับวิกฤตในอิรัก สันนิบาตรอาหรับได้ยืนยันถึงบทบาทสำคัญของการปรองดองอีกครั้งระหว่างกองกำลังการเมืองต่างๆในอิรักเพื่อแก้ไขสถานการณ์และรับมือกับกลุ่ม ISIL
สาเหตุความไม่สงบได้ถูกคาดไว้แล้ว
การที่อิรักตกเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่สงบในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ได้ถูกคาดไว้แล้ว นาย Tony Blair อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้เผยว่า สาเหตุอันเนื่องมากจากการแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายในรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งทำให้แบกแดดไม่มีความเป็นเอกภาพ ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ John Kerry ก็ยอมรับว่า การแทรกแซงของวอชิงตันจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อบรรดาผู้นำอิรักยุติความขัดแย้งกันและมุ่งสู่ความสามัคคีชนในชาติเพื่อรับมือกับกองกำลังลุกขึ้นสู้  หนังสือพิมพ์ The National Interest ของสหรัฐเห็นว่า ในตลอดหลายปีที่ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีนูรี อัล มาลิกี ไม่พยายามตอบสนองความต้องการของชุมนุมชาวซุนนีย์ ส่วนฝ่ายชีอะห์ของเขานับวันยิ่งมีจำนวนมากในกองทัพของอิรัก  มีชาวอิรักนิกายซุนนีย์หลายคนที่ไม่ชอบนายมาลิกีและถือว่ารัฐบาลของเขาเป็นรัฐบาลเผด็จการและเป็นลูกสมุน
แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า การลุกขึ้นสู้ของกลุ่มกบฎที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอัลกออิดะห์มีสาเหตุลึกๆคือการรุกรานอิรักของสหรัฐเมื่อปี 2003 เพราะได้สร้างช่องว่างด้านอำนาจและทำให้การปะทะชาติพันธุ์ในอิรักยืดเยื้อยาวนาน นอกจากนี้ แม้อิรักได้ประสบความสำเร็จต่างๆในการฟื้นฟู้เศรษฐกิจแต่ยังคงมีชาวอิรักประมาณ 2 ล้านคนหิวโหย อัตราทารกเสียชีวิต คนไม่รู้หนังสือและคนว่างงานยังอยู่ในระดับสูง
ประเทศอิรักกำลังถูกทำลายจากการใช้ความรุนแรงที่สาเหตุมาจากลัทธิชาติพันธุ์ ดังนั้น การแก้ไขสถานการณ์ในอิรักจึงเป็นปัญหาที่ยากมากสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด