อิรักเผชิญกับวิกฤติซ้ำซ้อน

(VOVworld ) –  นับตั้งแต่ทหารอเมริกันกลุ่มสุดท้ายถอนตัวออกจากอิรักเมื่อเดือนธันวาคมปี๒๐๑๑ ประเทศนี้กำลังตกเข้าสู่ภาวะความรุนแรงที่เลวร้ายที่สุดซึ่งคุกคามต่อการคงอยู่ของรัฐปัจุบันเนื่องจากการลุกขึ้นสู้ของกลุ่มมุสลิมในอิรักที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสในขณะเดียวกันก็มีการแย่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนทำให้อิรักตกเข้าสู่สถานการณ์ที่ย่ำแย่เป็นอย่างมาก

(VOVworld)–นับตั้งแต่ทหารอเมริกันกลุ่มสุดท้ายถอนตัวออกจากอิรักเมื่อเดือนธันวาคมปี๒๐๑๑ ประเทศนี้กำลังตกเข้าสู่ภาวะความรุนแรงที่เลวร้ายที่สุดซึ่งคุกคามต่อการคงอยู่ของรัฐปัจุบันเนื่องจากการลุกขึ้นสู้ของกลุ่มมุสลิมในอิรักที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสในขณะเดียวกันก็มีการแย่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนทำให้อิรักตกเข้าสู่สถานการณ์ที่ย่ำแย่เป็นอย่างมาก

อิรักเผชิญกับวิกฤติซ้ำซ้อน - ảnh 1
ประชาชนเดินขบวนสนับสนุนนายกรัฐมนตรีนูรี อัลมาลิกี(Photo:AP )

ความพ่ายแพ้ของทหารอิรักต่อกลุ่มไอเอสทำให้อิรักกลายเป็นจุดร้อนของการปะทะที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาค

ทางการอิรักไม่สามารจัดการกับปัญหาของกลุ่มไอเอส

จากการฉกฉวยความชงักงันทางการเมืองและความตึงเครียดระหว่างฝ่ายต่างๆตั้งแต่เดือนมิถุนายน กลุ่มไอเอสได้บุกยึดพื้นที่หลายแห่งในอิรักและกำลังขยายอิทธิพลในเขตภาคเหนือโดยใช้รถถังและอาวุธหนักที่ยึดจากทหารจนทำให้ชาวอิรักนับหมื่นคน โดยเฉพาะ ชาวคริสต์และชนกลุ่มน้อยยาซิดี้ที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามต้องอพยพลี้ภัย ในการโจมตีครั้งต่างๆ กลุ่มไอเอสยังสังหารชนกลุ่มน้อยยาซิดี้เกือบ๕๐๐คน นายโมฮัมเหม็ด เซีย อัล ซูดานี รัฐมนตรีดูแลด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า กลุ่มไอเอสได้มีปฏิบัติการที่เหี้ยมโหดป่าเถื่อนต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมที่ไม่อาจยกโทษให้ได้  ในบริเวณที่ไอเอสเดินผ่านหรือยึดครองมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโศกนาฏกรรมต่อมนุษย์ เมื่อวันที่๓เดือนนี้ กลุ่มไอเอสได้ยึดเขื่อนโมซุลซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดของอิรักโดยปราศจากการตอบโต้ใดๆจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลซึ่งได้เพิ่มความเสี่ยงที่ทางการแบกแดดอาจจะถูกโค่นล้มเพราะ การบุกยึดเขื่อนนี้เป็นสัญาเตือนว่ากลุ่มไอเอสอาจบุกเข้านครใหญ่ๆ และแทบทุกวันตำรวจได้รับแจ้งเหตุลักพาตัว วางระเบิดและฆาตกรรมจากฝีมือของกลุ่มไอเอสในเมืองและหมู่บ้านต่างๆ      

ต่อสถานการณ์นี้ สหรัฐได้เปิดโจมตีทางอากาศโดยได้ทำลายอาวุธจำนวนมากของไอเอสแต่นี่ถือเป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อถ่วงเวลากลุ่มไอเอสเท่านั้นและไม่สามารถแก้ปัญหาในระยะยาวให้แก่อิรักได้ซึ่งนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้กล่าวเตือนว่า จะไม่มีมาตรการแก้ไขวิกฤติในอิรักอย่างรวดเร็วได้

สงครามบนเวทีการเมือง

ในขณะที่วิกฤตจากกลุ่มไอเอสยังมองไม่เห็นจุดสิ้นสุด อิรักก็ถูกวิกฤตทางการเมืองซ้ำเติมอีกโดยเมื่อวันที่๑๑เดือนนี้ นายฟูอัด มัสซุมประธานาธิบดีอิรักได้แต่งตั้งนายอัล อาบาดี รองประธานรัฐสภาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่และจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ในขณะที่นายนูรี อัลมาลิกียังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ การที่นายอัล อาบาดีได้รับมอบหมายหน้าที่ให้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อลดความแตกแยกทางการเมืองภายในได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ สหรัฐและอีกหลายประเทศซึ่งสาเหตุมาจากนโยบายที่ผิดพลาดและการบริหารแบบเผด็จการของนายกรัฐมนตรีนูรี อัลมาลิกีในตลอด๘ปีที่บริหารประเทศ นายนูรี อัลมาลิกีไม่มีแนวทางไกล่เกลี่ยปรองดองชาติหลังสงครามหากยังก่อความแตกแยกระหว่าง๓กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนาในอิรักและการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ การเจริญเติบโตของกลุ่มไอเอสแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของทางการอิรัก รวมทั้งผู้นำอิรักก็ไม่ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูบูรณะประเทศและการสร้างความปรองดองในสังคมหลังเหตุรุนแรงและปะทะที่ยาวนาน

อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีนูรี อัลมาลิกีไม่ยอมรับการตัดสินใจดังกล่าวและประกาศว่า จะพยายามดำรงตำแหน่งอีกวาระซึ่งทำให้วิกฤตในทุกด้านจองอิรักที่มีความรุนแรงมากขึ้นในขณะที่อิรักต้องการรัฐบาลที่มีความสามัคคี และเอกภาพเพื่อต่อต้านสงครามครูเสดของไอเอส

๑๑ปี นับตั้งแต่สหรัฐโค่นล้มระบอบของอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน อิรักยังไม่สามารถหลุดพ้นจากวังวนของการใช้ความรุนแรงและการแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย ความยากลำบากในการับมือกับกลุ่มไอเอสและความขัดแย้งบนเวทีการเมืองปัจจุบันยิ่งทำให้อิรักยากที่จะรอดพ้นจากการปะทะ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด