อิหร่านพยายามแสวงหาพันธมิตรในแถบลาตินอเมริกา

ประธานาธิบดีอิหร่าน มามุด อามาดีเนจัดกำลังอยู่ในระหว่างการเยือน4ประเทศลาตินอเมริกา  ซึ่งถือเป็นก้าวเดินที่มีความสำคัญของเตหะรานเพื่อเรียกร้องการสนับสนุนทั้ง ในด้านการเมืองและเศรษฐกิจจากประเทศต่างๆในแถบนี้ในขณะที่ความสัมพันธ์ ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐกำลังอยู่ในภาวะเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียดและ อิหร่านกำลังถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากทั้งสหรัฐและฝ่ายตะวันตก.
        ประธานาธิบดีอิหร่าน มามุด อามาดีเนจัดกำลังอยู่ในระหว่างการเยือน4ประเทศลาตินอเมริกา  ซึ่งถือเป็นก้าวเดินที่มีความสำคัญของเตหะรานเพื่อเรียดร้องการสนับสนุนทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจจากประเทศต่างๆในแถบนี้ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและสหรัฐกำลังอยู่ในความเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียดและอิหร่านต้องรับคำสั่งคว่ำบาตทางเศรษฐกิจจากทั้งสหรัฐและฝ่ายตะวันตก.

           

อิหร่านพยายามแสวงหาพันธมิตรในแถบลาตินอเมริกา - ảnh 1
ประธานาธิบดีอิหร่านเยือนเวเนซูเอลา- ภาพจากอินเตอร์เนต

         สำหรับทั้ง4ประเทศที่ประธานาธิบดีอิหร่านได้เดินทางไปเยือนคือ      เวเนซูเอลา นิการากัว คิวบาและเอกวาดอร์นั้น ต่างเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ไม่ค่อยใกล้ชิดกับสหรัฐและในช่วงหลายปีมา นี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศเหล่านี้ก็ได้เดินทางไปเยือนเตหะรานอย่าง ต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตและเศรษฐกิจ ดังนั้นการเยือนครั้งนี้ของประธานาธิบดีอามาดีเนจัด ก็เพื่อมุ่งเเสวงหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มพลังที่เข้มแข็งในการเผชิญหน้ากับสหรัฐ โดยเป้าหมายแรกของการเยือนคือกรุงคารากัสเพราะเมื่อ1ปีก่อนสหรัฐได้ประกาศคว่ำบาตต่อ บริษัททน้ำมันของเวเนซูเอลาเนื่องจากได้ส่งเรือบรรทุกสินค้าไปยังอิหร่านถึงสองรอบ ส่วนเมื่อปี2008สหรัฐได้คว่ำบาตรต่อธนาคารของอิหร่านในคารากัสด้วย ข้อหาได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการพัฒนาอาวุธของอิหร่าน และล่าสุดนี้สหรัฐก็ได้ประกาศเนรเทศกงสูลใหญ่เวเนซูเอลาประจำไมอามีเพราะสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสายลับของคิวบาและอิหร่านที่โจมตีระบบ คอมพิวเตอร์ของสำนังานกลางสหรัฐเช่น ทำเนียบขาว หน่วยข่าวกรองซีไอเอหรือเพนตากอนในขณะที่เขารับหน้าที่เป็นผู้ช่วยทูตฝ่าย วัฒนธรรมของเวเนซูเอลาประจำเม็คซีโกเมื่อ5ปีที่แล้ว  ซึ่งท่าทีต่างๆของสหรัฐได้ทำให้อิหร่านและเวเนซูเอลามีความสนิทกันมากขึ้นโดย ก่อนการเยือนนายอามาดีเนจัดก็ได้กล่าวยกย่องประธานาธิบดีเวเนซูเอลา ว่าเป็นวีรชนต่อต้านลัทธิจักรวรรรดินิยม พยายามรับใช้ประชาชาติตนและยุติการพึ่งพาทางเศรษฐกิจและการเมืองจากประเทศลา ตินอเมริกาอื่นๆ นอกจากนั้น ประธานาธิบดีอิหร่านยังชื่นชมประธานาธิบดีนิการากัวว่าเป็นนักปฏิวัติต่อ ต้านอำนาจเผด็จการ ยืนหยัดแนวทางเอกราช ความก้าวหน้าและความยุติธรรมของประเทศ  ซึ่งอันที่จริงการจับมือกันของบรรดาผู้นำประเทศต่างๆที่ไม่ใช่พันธมิตรของ สหรัฐในลาตินอเมริกานั้นเป็นเรื่องที่สหรัฐไม่พอใจจึงได้ออกมาเตือนว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบันไม่ควรมีการกระชับความสัมพันธ์กับอิหร่านทั้งในด้าน การเมืองและเศรษฐกิจ ทางด้านประธานาธิบดีอูโกจาเวตก็ได้ตอบกลับคำเตือนนี้ว่าบรรดาประเทศลาตินอเม ริกามีสิทธิ์ตัดสินใจอย่างอิสระในการจะส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศใด และเห็นว่าสหรัฐควรให้ความสนใจแก้ไขปัญหาภายในของตนมากกว่าการแทรกแซงกิจการ ของประเทศอื่น

อิหร่านพยายามแสวงหาพันธมิตรในแถบลาตินอเมริกา - ảnh 2
กล่าวปราศรัยที่คารากัส -ภาพจากอินเตอร์เนต

            ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญทางการเมือง ในขณะที่สหรัฐและประเทศตะวันตกพยายามเพิ่มมาตรการลงโทษอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อโดดเดี่ยวอิหร่านนั้น ประเทศในแถบลาตินอเมริกากลับไม่สนใจต่อความสัมพันธ์กับสหรัฐดังนั้นวิธีการ ผลักดันความร่วมมือนี้จะช่วยให้อิหร่านสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่มีความเข้ม แข็งและหากถูกสหภาพยุโรปคว่ำบาตรด้านการสนองน้ำมันแก่ประเทศพันธมิตรแล้ว อิหร่านก็จะมีตลาดใหม่คือลาตินอเมริกามาทดแทน ซึ่งนี่ยังไม่รวมถึงการที่ประเทศพันธมิตรเหล่านี้อาจจะให้การสนับสนุนอิหร่า คัดค้านสหรัฐและประเทศอื่นๆส่งเรือรบไปยังเขตอ่าวที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงในภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นในการเยือนนี้อิหร่านกับ4ประเทศลาตินจะลงนามในสัญญาร่วมมือด้าน พลังงานและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรวมไปถึงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลัง น้ำในเอกวาดอร์  ส่วนเอกวาดอร์จะะร่วมมือกับอิหร่านในการซื้อขายอาวุธยุทโธปกรณ์ กับนิการากัว อิหร่านตกลงจะสนับสนุนการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำและลงทุนพัฒนาท่าเรือทะเล  ขณะนี้การลงทุนของอิหร่านในลาตินอเมริกานั้นยังมีไม่มากแต่คาดว่าหลังการ เยือนนี้ทุกอย่างจะมีความเปลี่ยนแปลง

            ในทางเป็นจริง การเผชิญหน้าระหว่างเตหะรานและวอชิงตันกำลังตึงเครียดเป็นอย่างมากและมีแนว โน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยท่าทีที่แข็งกร้าวที่สุดเมื่อเร็วๆนี้ของสหรัฐคือการลงนามรัฐบัญญัติว่า ด้วยการคว่ำบาตรเมื่อปลายปี2011ซึ่งจะสร้างอุปสรรคและลดรายได้จากการขาย น้ำมันของอิหร่าน ดังนั้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่มีการเผชิญหน้ากับตะวันตกใน ขณะนี้ถือเป็นทางเลือกที่ฉลาดของทางการอามาดีเนจัด  เพื่อมุ่งส่งสาร์นที่แข็งกร้าวถึงสหรัฐและตะวันตกว่า อิหร่านยังมีพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนอีกมากและมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ จะไม่มีผล และถ้าหากเกิดสงครามเขตอ่าวขึ้นอิหร่านก็ไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพังฝ่ายเดียว./.

 Anh Huyen-VOV5

          

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด