เพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา

(VOVWORLD) - เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้ประชุมกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือเกี่ยวกับการเพิ่มผลิตภาพแรงงานเวียดนาม โดยย้ำว่า นี่คือประเด็นชี้ขาดของทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาเหมือนเวียดนามเพราะผลิตภาพแรงงานเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่สำคัญเพื่อประเมินอัตราการพัฒนาของประเทศ และท้องถิ่น
เพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา - ảnh 1(chinhphu.vn)

ผลิตภาพแรงงานของเวียดนามมีการขยายตัวที่น่ายินดีอย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่ปี 2011 มาจนถึงปัจจุบัน ผลิตภาพแรงงานของเวียดนามได้เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า จากเกือบ 3 พันดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปี 2011 ขึ้นเป็นกว่า 8 พันดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปี 2023 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของภูมิภาคและกำลังเข้าใกล้กับระดับของประเทศอื่นๆ โดยธนาคารโลกรายงานว่า ความเท่าเทียมกันของอำนาจการซื้อหรือ PPP ในระยะปี 2021 – 2022 ผลิตภาพแรงงานของเวียดนามได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยะล 4 ต่อปี สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกคือร้อยละ 2 และติดอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์ที่ตัวเลขนี้อยู่ที่ร้อยละ 5.8

การเพิ่มผลิตภาพแรงงานได้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเวียดนาม โดยเฉพาะเพิ่มรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ในไตรมาสแรกของปีนี้ รายได้เฉลี่ยของแรงงานเวียดนามอยู่ที่ 322 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 24 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากการที่เวียดนามได้กำหนดอย่างชัดเจนว่า ควบคู่กับกลไกและระบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาแหล่งบุคลากรเป็น 1 ใน 3 ก้าวกระโดดเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะในมติของการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ สมัยที่ 13 ที่ประกาศเมื่อปี 2021 ได้ย้ำว่า ต้องการพัฒนาแหล่งบุคลากรควบคู่กับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยหลักที่สร้างพื้นฐานให้แก่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานอย่างรวดเร็วและยั่งยืน โดยรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ปฏิบัติกลไก นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ที่น่าสนใจคือเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีได้ลงนามอนุมัติ “โครงการแห่งชาติเกี่ยวกับการเพิ่มผลิตภาพแรงงานถึงปี 2030” โดยตั้งเป้าไว้ว่า ผลิตภาพแรงงานจะกลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้แก่การขยายตัวอย่างรวดเร็วและยั่งยืน พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างเต็มที่

เน้นถึงด้านหลักๆ เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน

ถึงแม้ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ถ้าหากประเมินตามค่าสัมบูรณ์ ผลิตภาพแรงงานของเวียดนามยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยในปี 2022 ผลิตภาพแรงงานเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 11.4 ของสิงคโปร์ ร้อยละ 24.7 ของสาธารณรัฐเกาหลีและร้อยละ 26.3 ของญี่ปุ่น อีกทั้งช่องว่างยังสูงมาก โดยปัจจัยพื้นฐานของการเพิ่มผลิตภาพแรงงานอย่างรวดเร็วและยั่งยืน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การโยกย้ายแรงงานจากเขตชนบทไปยังเขตตัวเมือง เป็นต้น ยังไม่มีก้าวกระโดดอย่างจริงจัง  ในสภาวการณ์ที่การแข่งขันนับวันรุนแรงมากขึ้นในขณะที่การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเพิ่มผลิตภาพแรงงานถือเป็นปัจจัยชี้ขาดต่อทุกประเทศ รวมทั้งเวียดนาม ดังนั้น นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้กำชับให้สหพันธ์แรงงานเวียดนาม องค์กรแรงงานทุกระดับ ชมรมสถานประกอบการ กระทรวง หน่วยงาน ท้องถิ่นและแรงงานแต่ละคนเน้นปฏิบัติหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้

“เดินหน้าในการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล การปรับเปลี่ยนแห่งสีเขียว พัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจแบ่งปัน เศรษฐกิจเชิงปัญญา หน่วยงานและด้านที่เพิ่งโดดเด่น สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคม เดินหน้าในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก ใช้โอกาสต่างๆ อย่างเต็มที่ ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะและความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและประกอบธุรกิจ เดินหน้าในขบวนการแข่งขันรักชาติเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ส่งเสริมความคิดริเริ่มต่างๆ ในการบริหาร การจัดการผลิตและประกอบธรุกิจ เป็นต้น”

นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ยังย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างก้าวกระโดดในการพัฒนาแหล่งบุคลากร โดยเฉพาะการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงและการสอนอาชีพ สร้างก้าวกระโดดในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรม โดยเฉพาะในด้านที่เพิ่งโดดเด่น ค้ำประกันสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบธรรมของแรงงาน

การเพิ่มผลิตภาพแรงงานคือหน้าที่สำคัญ ทั้งมีลักษณะเร่งด่วนและเป็นยุทธศาสตร์ในระยะยาวของทั้งระบบการเมือง อันเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดที่จะช่วยให้เวียดนามสามารถทัดเทียมกับประเทศพัฒนาในภูมิภาคและโลก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด