เพื่อโลกที่ปลอดภัยและไม่มีอาวุธนิวเคลียร์

(VOVWORLD) - เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาความพยายามเพื่อส่งเสริมการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์หรือ TPNW ได้บรรลุก้าวเดินที่ยิ่งใหญ่เมื่อสหประชาชาติได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าฮอนดูรัสได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญา TPNW ซึ่งกลายเป็นประเทศลำดับที่ 50 ที่ได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อทำให้ TPNW จะมีผลบังคับใช้ในอีก 90 วันต่อจากนี้  หลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆได้ออกมาชื่นชมโดยถือว่า นี่เป็นพื้นฐานเพื่อค้ำประกันให้แก่อนาคตปลอดภัยของโลก
เพื่อโลกที่ปลอดภัยและไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ - ảnh 1สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ (TPNW) จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2021 (ploughshares.org

สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ได้รับการอนุมัติในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมปี 2017 โดยมี 122 ประเทศสมาชิกและดินแดนให้การสนับสนุน และจนถึงปัจจุบันมี 84 ประเทศสมาชิกที่ลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ แต่เพื่อที่จะมีผลบังคับใช้จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 50 ประเทศสมาชิกให้สัตยาบัน

ขจัดอาวุธนิวเคลียร์เพื่ออนาคตที่ปลอดภัยมากขึ้น

ในแถลงการณ์นาย Peter Maurer ประธานคณะกรรมการสภากาชาดสากลหรือICRC ได้ประกาศว่า การที่ TPNW มีเงื่อนไขที่สมบูรณ์เพื่อมีผลบังคับใช้คือ "ชัยชนะของมนุษยชาติและเปิดความหวังในอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น”  ส่วนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศหรือ ICAN (ไอแคน)ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมให้สหประชาชาติอนุมัติTPNW และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2017 ได้ประกาศว่าฮอนดูรัสเป็นประเทศลำดับที่ 50 ที่ให้สัตยาบัน TPNW ทำให้สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้และสร้าง "นิมิตหมายทางประวัติศาสตร์"

ในขณะเดียวกัน นายอันโตนิโอ กูเตอเรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ได้ยืนยันว่าการปลดอาวุธนิวเคลียร์เป็นเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ของสหประชาชาติตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเพื่อความมั่นคงของมนุษยชาติและโลกต้องเดินร่วมกันบนเส้นทางที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม เนื่องในโอกาสที่มีเพิ่มอีก 3 ประเทศที่ให้สัตยาบัน TPNW นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ระบุว่า "ความเสี่ยงจากการจงใจใช้อาวุธนิวเคลียร์ด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือการคำนวณผิดพลาดนั้นกำลังอยู่ในระดับสูงมากเพราะแนวโน้มดังกล่าวกำลังเกิดขึ้น"และ"วิธีเดียวที่จะขจัดความเสี่ยงด้านนิวเคลียร์คือการขจัดอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง"

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ การที่สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์มีสามารถมีผลบังคับใช้ถือเป็นข่าวที่ดีในสภาวการณ์ที่สองประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์มากใหญ่ที่สุดในโลกคือสหรัฐและรัสเซียยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการขยายอายุของสนธิสัญญาลดอาวุธโจมตีทางยุทธศาสตร์ฉบับใหม่หรือ New STARTซึ่งเป็นกลไกเพื่อควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ที่สำคัญที่สุดระหว่างสองประเทศนี้

เพื่อโลกที่ปลอดภัยและไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ - ảnh 2เหตุระเบิดจากขีปนาวุธนิวเคลียร์ (SPUTNIK) 

ความกังวลที่ยังปรากฎ

ที่สร้างความกังวลให้กับโลกนั้นไม่เพียงแต่เกิดจากความชะงักงันในการเจรจาระหว่างสหรัฐกับรัสเซียเกี่ยวกับสนธิสัญญา New START เท่านั้น หากฝ่ายที่สนับสนุนโลกที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ยังกังวลต่อปัญหาที่ 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซียและจีน ยังไม่เข้าร่วมสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ แม้แต่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก็ยังปฏิเสธที่จะเข้าร่วม TPNW ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม นาย Katsunobu Kato ปลัดสำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ประกาศว่าญี่ปุ่นจะไม่เข้าร่วม TPNW และยืนยันว่า "ญี่ปุ่นมีเป้าหมายเดียวกันกับสนธิสัญญาฉบับนี้คือ ขจัดอาวุธนิวเคลียร์ แต่มีวิธีการเข้าถึงปัญหาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ญี่ปุ่นจะไม่ลงนามสนธิสัญญานี้"

นอกจากนั้น ประชามติยังกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของมนุษยชาติเมื่อกระบวนการปลดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีหรือการเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านก็ประสบอุปสรรค ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆที่ครอบครองนิวเคลียร์ เช่น อินเดีย-ปากีสถานได้มีความตึงเครียดและมีความเสี่ยงที่อาจนำอาวุธนิวเคลียร์ออกมาใช้ และการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ที่เพิ่มมากขึ้น

ในฐานะประเทศที่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากสงคราม เวียดนามมีแนวทางสร้างสรรค์โลกที่มีสันติภาพ เสถียรภาพและไม่มีอาวุธนิวเคลียร์  โดยสารที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามในปัญหานี้ยังได้รับการระบุอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ล่าสุด ในการประชุมคณะกรรมการเพื่อการลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ (คณะกรรมการ1) ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เปิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม เอกอัครราชทูต ดั่งดิ่งกวี๊หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามในสหประชาชาติ ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมในนามอาเซียน โดยยืนยันว่าอาเซียนสนับสนุนความพยายามของนานาประเทศเกี่ยวกับการต่อต้านการเผยแพร่และการลดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ปฏิบัติมติฉบับต่างๆที่เกี่ยวข้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอย่างเคร่งครัดเพื่อมุ่งสู่โลกที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ อีกทั้งแสดงความวิตกกังวลของอาเซียนเกี่ยวกับการคงอยู่ของอาวุธนิวเคลียร์ตลอดจนผลที่ตามมาจากการใช้อาวุธชนิดนี้ อาเซียนแสดงความเห็นว่า การขจัดอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงเป็นมาตรการเดียวเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามสนธิสัญญาการไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ หรือ NPT อย่างจริงจัง มุ่งสู่การประชุมสรุปNPT ครั้งที่ 10 ในปี 2021./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด