เวียดนามประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่อไปในปี 2012

การทูตด้านวัฒนธรรมของเวียดนามในปี 2011ได้สามารถระดมพลังทุกแหล่ง มีส่วนร่วมต่อการจัดกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศ คนและวัฒนธรรมเวียดนามออกสู่สายตาของเพื่อนมิตรชาวต่างชาติ ดังนั้นในปี 2012 นี้ หน่วยงานการทูตเวียดนามจึงได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะทำการประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่อไป
            ถึงแม้ว่ายังไม่มีการจัดกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่เหมือนเมื่อปี 2010 แต่งานด้านการทูตทางวัฒนธรรมในปี 2011 ก็ได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดควบคู่ไปกับการทูตทางการเมืองและการทูตทางเศรษฐกิจเพื่อให้เพื่อนมิตรชาวต่างชาติมีความเข้าใจเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น โดยสำนักงานตัวแทนของเวียดนามประจำประเทศต่างๆได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลาย เช่น การรำลึก 100 ปีวันที่ประธานโฮจิมินห์เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศสในระหว่างการแสวงหาหนทางกู้ชาติ  65 ปีวันที่ประธานโฮจิมินห์เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสในฐานะประธานแห่งรัฐเวียดนาม โดยเฉพาะผลสำเร็จของการทูตทางวัฒนธรรมในปี 2011 ได้มีส่วนร่วมต่อการที่ยูเนสโก้ให้การรับรอง 12 มรดกรูปธรรมและนามธรรมของเวียดนาม นาย Nguyen Thanh Son รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ประธานคณะกรรมการยูเนสโก้ประจำเวียดนามยืนยันว่า             “ นี่คือความภาคภูมิใจของประชาชนทั่วประเทศ  โดยผ่านสถานที่ท่องเที่ยว ประเพณีและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาน การทูตวัฒนธรรมได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่องานด้านการทูตในภาพรวมรวมและช่วยให้การทูตทางการเมืองบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ สร้างภาพลักษณ์และสถานะที่มั่นคงให้แก่เวียดนามบนเวทีโลก ซึ่งสมกับเกียรติประวัติวัฒนธรรมอันดีงามนับพันปีของประเทศเวียดนาม

           

เวียดนามประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่อไปในปี 2012 - ảnh 1
ปี 2011 ยังเป็นปีแรกที่งานด้านการทูตวัฒนธรรมได้ถูกระบุในเอกสารของการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 11 ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติยุทธศาสตร์การทูตวัฒนธรรมจนถึงปี 2020 โดยระบุว่า “ต้องสร้างสรรค์ความรู้เกี่ยวกับการผสมผสานวัฒนธรรม มีความเชื่อมโยงระหว่างการทูตวัฒนธรรมกับการทูตทางการเมืองและการทูตเศรษฐกิจ  พยายามประชาสัมพันธ์เพื่อให้เพื่อนมิตรต่างประเทศมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเวียดนาม  เข้าร่วมระเบียบการวัฒนธรรมพหุภาคีและใช้ประโยชน์จากโครงการและความคิดริเริ่มของยูเนสโก้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ยกระดับสถานะและบทบาทของเวียดนามให้สูงขึ้น” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นฝ่ายรุกและการเข้าร่วมอย่างเข้มแข็งของเวียดนามในการผสมผสานเข้ากับกระแสวัฒนธรรมโลก นาย Nguyen Thanh Son เผยต่อไปว่า             “ในเวลาที่ผ่านมาสถานะของเวียดนามได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังนั้นเราควรมีการผสมผสานอย่างมั่นคงและกว้างขว้างกับประชาคมโลก  ในช่วงก่อนเราทำการผสมผสานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงประเทศ รักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางสังคม แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ เราจะต้องเป็นเพื่อนมิตรของทุกประเทศ รักษาเอกลักษณ์ จุดยืนในด้านแนวทาง ยืนหยัดแนวความคิดโฮจิมินห์และแนวทางสังคมนิยม

            เกี่ยวกับการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างการทูตวัฒนธรรมกับงานด้านชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ นาย Nguyen Thanh Son ได้ยืนยันว่า นั่นคือหน้าที่สำคัญที่ทางกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามจะปฏิบัติต่อไปในปี 2012  ถ้าหากเราทำการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศต่างๆในโลกก็หมายความว่าเราจะรับวัฒนธรรมจากประเทศเหล่านั้นด้วย  ดังนั้นต้องมีการคัดเลือกเพื่อผสมผสานแต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของชาติ โดยในหลายปีที่ผ่านมา ทางกระทรวงได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมเวียดนาม พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสอนภาษาเวียดนามให้แก่ชาวต่างชาติในประเทศต่างๆ พร้อมทั้งจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น “ค่ายฤดูร้อนเวียดนาม” “วสันต์ฤดูแห่งปิตุภูมิ” เป็นต้น เพื่อให้การช่วยเหลือและพัฒนาความสามัคคีของชมรมชาวเวียดนามที่พำนักอาศัยในต่างประเทศ  นาย Nguyen Thanh Son กล่าวย้ำว่า             “หน้าที่สำคัญในปี 2012 นี้คือ ต้องพัฒนาพลังของกลุ่มคนและคณะในท้องถิ่นเพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งพวกเรายังคงสนับสนุนการต้อนรับพี่น้องชาวเวียดนามกลับประเทศ เพิ่มการพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างสื่อมวลชนภายในประเทศกับต่างประเทศเพื่อให้ชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทันการณ์  ผมมีความปรารถนาว่า ในปี 2012 นี้ ชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศจะมุ่งใจสู่ประเทศยิ่งขึ้นโดยสงวนทั้งทรัพย์สิน สติปัญญาและจิตใจให้แก่ปิตุภูมิ

           

เวียดนามประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่อไปในปี 2012 - ảnh 2
ในด้านการทูต บางครั้งต้องใช้วัฒนธรรมเดินนำการเมืองก่อน เช่นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เป็นต้น ดังนั้นวัฒนธรรมอาจเป็นสะพานเชื่อมเพื่อให้สองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และหลังจากสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายจะช่วยให้ทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น ดังนั้น การทูตวัฒนธรรมถือเป็นพลังที่ยืดหยุ่น โดยในประวัติศาสตร์ของเวียดนาม เราได้ใช้การทูตวัฒนธรรมเพื่อแก้ไขการปะทะและสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรอย่างยั่งยืนกับหลายประเทศ ดังนั้น การสร้างสรรค์ยุทธศาสตร์ที่ยาวนานให้แก่การทูตวัฒนธรรมถือเป็นการสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การยกระดับสถานะของเวียดนามบนเวทีโลก./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด