เวียดนามประยุกต์ใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเลนินอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ

(VOVworld) –  ในเวียดนามกำลังมีกิจกรรมหลายอย่างเพื่อสรุปผล๓๐ปีการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ หวนมองดูระยะทางแห่งประวัติศาสตร์ที่มีผลงานสำคัญมากมาย บรรดานักทฤษฎีเวียดนามเห็นว่า เวียดนามจะไม่สามารถปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประสบผลสำเร็จได้ถ้าไม่ประยุกต์ใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของท่านวลาดีเมีย อีลิช เลนินผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของชนชั้นกรรมาชีพและประชาชนผู้ใช้แรงงานในโลกอย่างมีความคิดสร้างสรรค์

(VOVworld) –  ในเวียดนามกำลังมีกิจกรรมหลายอย่างเพื่อสรุปผล๓๐ปีการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ หวนมองดูระยะทางแห่งประวัติศาสตร์ที่มีผลงานสำคัญมากมาย บรรดานักทฤษฎีเวียดนามเห็นว่า เวียดนามจะไม่สามารถปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประสบผลสำเร็จได้ถ้าไม่ประยุกต์ใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของท่านวลาดีเมีย อีลิช เลนินผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของชนชั้นกรรมาชีพและประชาชนผู้ใช้แรงงานในโลกอย่างมีความคิดสร้างสรรค์

เวียดนามประยุกต์ใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเลนินอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ - ảnh 1
ท่านวลาดีเมีย อีลิช เลนิน(Photo:baodongnai.com)

เมื่อหวนมองดูกระบวนการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ ชาวเวียดนนามจำนวนมากคงไม่ลืมช่วงระยะเวลาหนึ่งที่มีชื่อว่า“อุปถัมภ์” ซึ่งในตลอดช่วงปี๑๙๗๐ถึงปี๑๙๘๖ การถือครองกรรมสิทธิ์ของเอกชนได้ถูกแทนที่ด้วยการถือครองกรรมสิทธิ์ของรัฐและของส่วนรวมซึ่งส่งผลให้ การผลิตเกษตรล่าช้าและการขาดแคลนธัญญาหารอย่างต่อเนื่อง โรงงานและวิสาหกิจส่วนใหญ่ตกเข้าสู่สภาพ“ไม่มีผลกำไร” การจำหน่ายชะงักงัน ตลาดเกิดสับสนและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและดัชนีราคาขายปลีกในปี๑๙๘๖อยู่ที่๗๗๔,๗%  ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอยู่ในสภาพย่ำแย่ ส่วนในชนบท มีนับล้านครอบครัวที่ขาดแคลนอาหาร การทุจริตในสังคมเพิ่มขึ้นและ ประชาชนเกิดความไม่พอใจ

จิตสำนึกเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเลนิน

            บนเจตนารมณ์“กล้ายอมรับสถานการณ์ที่เป็นจริง” ที่ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม สมัยที่๖ เมื่อเดือนธันวาคมปี๑๙๘๖ได้มีมติที่ถูกต้องเกี่ยวกับระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยม โดยพรรคตระหนักได้ดีถึงการประยุกต์ใช้และพัฒนาแนวความคิดและทฤษฎีของเลนินเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจใหม่หรือNEPอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งก่อนอื่นคือ การยอมรับความหลากหลายทางเศรษฐกิจ เมื่อปี๑๙๗๙ เวียดนามได้เชิญศาสตราจารย์ ภาคีสมาชิกสถาบันบัณฑิตย์สถาน ดร.เศรษฐศาสตร์ชั้นนำของสหภาพโซเวียต ซึ่งปัจจุบันคือสหพันธรัฐรัสเซียมาแนะนำนโยบายเศรษฐกิจใหม่ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับกลางและระดับสูงของเวียดนาม จนถึงปลายเดือนธันวาคมปี๑๙๘๒ ภายใต้ชี้นำของท่านเจื่อง จิงประธานรัฐสภา ได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิจัยนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเวียดนาม ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจท่านหวอด่ายเหลือกซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มกล่าวว่า“ในระยะแรกของภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบวางแผนมาเป็นเศรษฐกิจเชิงสินค้าและการเงิน นโยบายเศรษฐกิจใหม่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยมีแนวความคิดสำคัญสองประการ ๑คือพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับการเงิน ๒คือประยุกต์ใช้ลัทธินายทุนของรัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งในช่วงประวัติศาสตร์นั้น ถ้าพวกเราใช้ทัศนะเศรษฐกิจเชิงตลาด๒ทัศนะเพื่อปฏิเสธเศรษฐกิจวางแผนและถ้ามิใช่ทัศนะของเลนิน แน่นอนว่า ทัศนะนั้นจะไม่ได้รับการยอมรับ”

ศาสตราจารย์ ดร.เจิ่นหงอกเฮียน อดีตรองผู้อำนวยการสถาบันรัฐศาสตร์แห่งชาติโฮจิมินห์ที่ได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจเพื่อวิจัยนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเลนินกล่าวว่า “นโยบายเศรษฐกิจใหม่เป็นแนวทางเดียวที่จะเปลี่ยนจากประเทศที่ล้าหลังมาเป็นประเทศที่พัฒนา นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงเป็นเศรษฐกิจเชิงตลาด แต่สิ่งที่ยากลำบากที่สุดคือต้องตามทันและพัฒนาให้ทัดเทียมกับประเทศที่ก้าวหน้าในโลก หลังความยากลำบากในเบื้องต้น มีบางประเทศ เช่น จีน เวียดนามและประเทศยุโรปตะวันออกบางประเทศได้เปลี่ยนมาเป็นเศรษฐกิจเชิงตลาด ปัญหาอยู่ที่ว่า ต้องประยุกต์ใช้แนวทางเดินลัดนี้เช่นไรซึ่งเป็นความท้าทายต่อพรรครัฐบาลต่างๆ”

ประยุกต์ใช้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา

ระดมทุกแหล่งพลังเพื่อพัฒนาการเกษตร ถือการเกษตรเป็นแนวร่วมที่นำหน้า พัฒนาเศรษฐกิจภาคต่างๆอย่างเข้มแข็ง ดำเนินตามกลไกตลาด และแนวทางสังคมนิยม ยอมรับเศรษฐกิจทุกภาคโดยมีการสอดแทรกการถือกรรมสิทธิในรูปแบบต่างๆ ให้ความดูแลเอาใจใส่ต่อผลประโยชน์ที่จำเป็นของผู้ใช้แรงงาน นั่นคือ การประยุกต์ใช้ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามบนพื้นฐานของนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเลนินและแนวคิดของนโยบายเศรษฐกิจใหม่ยังได้รับการพัฒนาให้อยู่ในระดับสูงโดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจท่านหวอด่ายเหลือกให้ข้อสังเกตุว่า เทป

“ปัจจุบัน พวกเราได้ปฏิบัติเนื้อหาของนโยบายเศรษฐกิจใหม่ให้อยู่ในระดับสูง โดยในช่วงปี๑๙๘๙ถึงปี๑๙๙๐ แนวทางที่พวกเรายอมรับมิใช่เศรษฐกิจเชิงสินค้าหากเป็นเศรษฐกิจเชิงตลาดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ๒คือ พวกเราได้เปิดประเทศและผสมผสานเข้ากับโลก ส่วนทัศนะของเลนินหยุดอยู่แค่การใช้ลัทธินายทุนในการสัมปทานเท่านั้น อย่างไรก็ดี นโยบายเศรษฐกิจใหม่ได้ช่วยขจัดกลไกแบบคำสั่ง การทำงานแบบขุนนาง รัฐอุปถัมภ์ เปิดทางให้แก่ทัศนะใหม่ซึ่งถือเป็นมาตรการที่บรรดาชาวคอมมิวนิสต์ยอมรับในระยะแรกของภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่”

            ภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ในเวียดนามได้รับการปฏิบัติมาเกือบ๓๐ปีและประสบผลสำเร็จดังที่เห็นในทุกวันนี้ บรรดานักทฤษฎีในเวียดนามเห็นพ้องกันว่า นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเลนินมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเวียดนามในระยะแรกของภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ปรับเปลี่ยนจากสิ่งเก่าๆมาเริ่มสิ่งใหม่ๆที่มีทั้งอุปสรรคและความท้าทาย ./.

Hương Giang– Thu Hoa

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด