เวียดนามพยายามรับมือกับเหตุภัยแล้งรุนแรง

(VOVworld) - เวียดนามกำลังต้องเผชิญกับเหตุภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมอย่างรุนแรงในตลอด นับสิบปีที่ผ่านมา โดยปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้ส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มสูง ขึ้น เกิดฝนทิ้งช่วงจนส่งผลกระทบต่อการผลิตเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งยังเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ไม่ว่าจะเป็นภาคกลางตอนใต้ เขตที่ราบสูงเตยเงวียน ทางทิศตะวันออกภาคใต้และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ปัจจุบันนี้ รัฐบาลเวียดนามและท้องถิ่นต่างๆกำลังเร่งมือแก้ไขผลเสียหายจากปัญหาภัยแล้ง ให้เหลือน้อยที่สุด
(VOVworld) - เวียดนามกำลังต้องเผชิญกับเหตุภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมอย่างรุนแรงในตลอดนับสิบปีที่ผ่านมา โดยปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้ส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น เกิดฝนทิ้งช่วงจนส่งผลกระทบต่อการผลิตเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งยังเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ไม่ว่าจะเป็นภาคกลางตอนใต้ เขตที่ราบสูงเตยเงวียน ทางทิศตะวันออกภาคใต้และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ปัจจุบันนี้ รัฐบาลเวียดนามและท้องถิ่นต่างๆกำลังเร่งมือแก้ไขผลเสียหายจากปัญหาภัยแล้งให้เหลือน้อยที่สุด
เวียดนามพยายามรับมือกับเหตุภัยแล้งรุนแรง - ảnh 1
ภัยแล้งในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน
ตอนนี้ สถานการณ์ภัยแล้งและน้ำทะเลซึมกำลังมีขึ้นอย่างรุนแรง โดยในภาคกลางตอนใต้ ในปี 2016 นี้ คาดว่าพื้นที่ 40,000 เฮ็กตาต้องยุติการผลิตข้าวและประชาชน 50,000 คนจะขาดแคลนน้ำบริโภค ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ปัญหาน้ำทะเลซึมได้เกิดขึ้นรุนแรงกว่าปีก่อนๆ โดยซึมลึกเข้ามาในพื้นดินประมาณ 90 ก.ม. ซึ่งลึกกว่าปีก่อนๆประมาณ 10-20 ก.ม. คาดว่าในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน อาจเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะทำให้ปัญหาภัยแล้งและน้ำทะเลซึมที่จังหวัดแทงฮว้า เหงะอาน กว๋างบิ่งและกว๋างจิรุนแรงมากขึ้น นายกาวดึ๊กฟาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า “พื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำทะเลซึมกว่าครึ่งหนึ่งเป็นพื้นที่ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในทางทิศใต้ของจังหวัดเกียนยาง พื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดก่าเมา บากเลียว ซอกจัง จ่าวิงห์และเบ๊นแจ ส่วนจังหวัดเห่ายางนั้น พื้นที่ 3ใน4 ถูกน้ำทะเลซึม มีแต่จังหวัดด่งท้าปเท่านั้นที่ยังไม่เจอปัญหาดังกล่าว แต่เรื่องที่น่ากังวลคือ ช่วงนี้ยังไม่ถึงช่วงภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด โดยช่วงที่รุนแรงที่สุดในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนจนถึงเดือนมิถุนายน ส่วนในภาคกลางตอนใต้จะเป็นเดือนเมษายนและพฤษภาคม ในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนรอฝนในเดือนมิถุนายน ส่วนจังหวัดนิงถวนและบิ่งถวนต้องรอฝนถึงเดือนกันยายน”
การชี้นำอย่างเร่งรัดจากส่วนกลาง
จากผลกระทบอย่างรุนแรงของเอลนีโญ รัฐบาลได้ระบุว่า ต้องเชื่อมโยงการรับมือปัญหาภัยแล้งในปี 2016 กับวิสัยทัศน์ในระยะยาว โดยเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้คำสั่งปฏิบัติมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึม หลังตรุษเต๊ดประเพณี รองนายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและชี้นำการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำทะเลซึมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ภัยแล้งในภาคกลางตอนใต้และเขตที่ราบสูงเตยเงวียน เมื่อเร็วๆนี้ ในการประชุมรัฐบาลประจำเดือนกุมภาพันธ์ นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและท้องถิ่นต่างๆเกาะติดสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างทันการณ์ ส่วนแผนการในระยะยาว รองหัวหน้าสำนักรัฐบาลเหงียนคั๊กดิ๋งกล่าวว่า “เราจะปรับปรุงองค์ประกอบพันธุ์พืชอย่างรวดเร็วในระยะยาว ซึ่งไม่เพียงแต่ปฏิบัติเฉพาะปีนี้เท่านั้น แต่ต้องปฏิบัติในปีต่อๆไปด้วย และต้องเลือกพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ให้เหมาะสมกับฤดูกาล ตลอดจนเงื่อนไขของแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากปลูกข้าว 1 เฮ็กต้า เราต้องการน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตรแต่ถ้าหากปลูกพืช แม้กระทั่งไม้ยืนต้น จะต้องการน้ำประมาณ 2,000-3,000 ลูกบาศก์เมตรแต่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าหรือเราจะเปลี่ยนไปเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการน้ำน้อย กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีขยายการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ขุดอ่างเก็บน้ำและเตรียมน้ำบริโภคให้แก่ประชาชนในช่วงปี 2016-2020 โดยใช้งบประมาณ 55 ล้านล้านด่ง”
เวียดนามพยายามรับมือกับเหตุภัยแล้งรุนแรง - ảnh 2
รองนายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและชี้นำการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำทะเลซึมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ท้องถิ่นต้องเป็นฝ่ายรุกในการรับมือ
จากผลกระทบในทางลบที่นับวันรุนแรงมากจากปัญหาน้ำทะเลซึม ทางจังหวัดก่าเมาได้สั่งให้ปิดประตูเขื่อนกั้นน้ำเค็มเร็วกว่ากำหนด 1 เดือนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและสำรองน้ำจืด นายเหงียนเตี๊ยนหาย ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดก่าเมาได้เผยว่า ทางจังหวัดได้ขยายการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับมือกับปัญหาน้ำทะเลซึมและภัยแล้งให้ประชาชนได้รับทราบ พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีและเทคนิกการปลูกข้าวและเพาะเลี้ยงกุ้งให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศแก่ประชาชน ส่วนสำหรับแผนการระยะยาว ผู้บริหารจังหวัดก่าเมาเผยว่า “ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้แก่การผลิต โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวและเพาะเลี้ยงกุ้งเราได้มีโครงการชลประทานต่างๆแล้ว ถ้าหากลงทุนชลประทานให้แก่ท้องถิ่นใด ต้องทำอย่างพร้อมเพรียงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ทั้งภาค”
ส่วนนายเหงียนฟองกวาง รองหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำเขตตะวันตกภาคใต้เผยว่า การป้องกันภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมเป็นปัญหาความอยู่รอดของภูมิภาคนี้ “ ต้องสร้างเขื่อนในเขตผลิตหลัก เช่น เขตสี่เหลี่ยมลองเซวียน ประกอบด้วย จังหวัดอานยาง เกียนยางและเกิ่นเทอ เพื่อเก็บรักษาน้ำจืดและป้องกันปัญหาน้ำทะเลซึมเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การผลิต ซึ่งก่อนอื่นต้องปฏิบัติในท้องถิ่นแต่ละแห่งอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนในระยะยาว ต้องขอให้รัฐบาลหารือกับประเทศในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงเกี่ยวกับปัญหาทะเลซึมและการสร้างเขื่อนเพราะนี่เป็นปัญหาระดับประเทศ”
เหตุภัยแล้งและน้ำทะเลซึมจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงที่สุดในอีกไม่กี่เดือนที่จะถึง ดังนั้น การที่รัฐบาลและท้องถิ่นต่างๆเร่งปฏิบัติมาตรการรับมือปัญหาสภาพภูมิอากาศและเป็นฝ่ายรุกในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระยะยาวจะช่วยให้เวียดนามลดผลกระทบในทางลบจากปัญหาดังกล่าวให้เหลือน้อยที่สุดได้ในเวลาข้างหน้า.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด