เวียดนามร่วมกับประชาคมโลกรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเข้มแข็ง

(VOVWORLD) - ในระหว่างวันที่ 18-20 มิถุนายน ณ นครเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม ได้มีการจัดการประชุมอาเซมเกี่ยวกับการร่วมปฏิบัติเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่กำหนดแนวทางในอานาคต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงส่วนร่วมของเวียดนามต่อความพยายามของอาเซมและโลก รวมทั้งเปิดโอกาสให้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของเวียดนามใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนและความร่วมมือของหุ้นส่วนเอเชีย – ยุโรปในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เวียดนามร่วมกับประชาคมโลกรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเข้มแข็ง - ảnh 1 (Photo: phapluatmoitruong.vn)

 

ความคิดริเริ่มจัดการประชุมครั้งนี้ของเวียดนามได้รับการสนับสนุนและการอุปถัมภ์จากประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย เดนมาร์ก เมียนมาร์ ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์และอิตาลี ซึ่งเป็นการประชุมที่เชื่อมโยงระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป เป็นกิจกรรมสำคัญของเวียดนามในกรอบการประชุมอาเซม 2018และก็เป็นความคิดริเริ่มข้อแรกในด้านนี้ของอาเซม

ผลักดันความร่วมมือเอเชีย – ยุโรปในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การประชุมอาเซมเกี่ยวกับการร่วมปฏิบัติเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีความหมายสำคัญในสภาวการณ์ที่เวียดนามกำลังผลักดันกิจกรรมต่างๆเพื่อสอดแทรกข้อตกลงปารีสเข้าในระเบียบวาระการประชุมปี2020 และปี 2030 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผลักดันความร่วมมือและใช้โอกาสจากการสนับสนุนและอุปถัมภ์ของประเทศสมาชิกอาเซม ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดจากเนื้อหาของการประชุม เช่น สถานการณ์การปฏิบัติระเบียบวาระการประชุมปี 2030 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ – โอกาสให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน พัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ สนับสนุนให้แก่การพัฒนาและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 เป็นต้น

นี่ยังเป็นโอกาสให้บรรดาประเทศสมาชิกอาเซมประสานงานและเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศผ่านการถอดประสบการณ์ปฏิบัติในเอเชียและยุโรป การบริหารจัดการแหล่งน้ำ พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน เทคโนโลยีสะอาดและการเกษตรที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ที่ประชุมยังเน้นถึงบทบาทและการเข้าร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวางนโยบาย สถานประกอบการ ทางการท้องถิ่น กองทุนการเงิน องค์กรการเมือง – สังคม สตรี เยาวชน องค์กรระดับภูมิภาคและโลกในกระบวนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

สิ่งที่น่าสนใจคือ นอกจากการหารือ ผู้แทนทุกคนยังผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนในด้านสภาพภูมิอากาศเอเชีย – ยุโรปผ่านข้อเสนอเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดทำเครือข่ายและระบบประเมินร่วมเพื่อมีส่วนร่วมมากขึ้นต่อความพยายามในทั่วโลก

โอกาสสำหรับประเทศเวียดนาม

เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็น 1 ใน 3เขตที่ราบลุ่มของโลกที่ได้รับความเสี่ยงมากที่สุดเนื่องจากปัญหาน้ำทะเลหนุน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวียดนามเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงต่อความมั่นคงด้านอาหารและการพัฒนาเกษตร

จากสภาวการณ์ดังกล่าว ในหลายปีมานี้ จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะนครเกิ่นเทอได้พยายามปฏิบัติมาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งโครงการที่อยู่ภายใต้การประสานงานและได้รับการอุปถัมภ์จากองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อมีส่วนร่วมจำกัดผลกระทบและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นเนื้อหาของการประชุมอาเซมครั้งนี้จึงได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆจากจังหวัดและนครต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นโอกาสดีเพื่อให้หน่วยงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสาขาจังหวัดและนครเรียนรู้ประสบการณ์ พัฒนาพลังงานหมุนเวียน บริหารจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืนและระดมให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมภารกิจนี้

การประชุมอาเซียนเกี่ยวกับการร่วมปฏิบัติเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่นับวันยิ่งมีหลายประเทศที่ต้องรับมือกับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติมากขึ้น ดังนั้นการขยายความร่วมมือระหว่างเอเชียกับยุโรปถือเป็นโอกาสดีเพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิก รวมทั้งเวียดนามค้ำประกันการพัฒนาอย่างยั่งยืน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด