เวียดนามเป็นฝ่ายรุกในการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
Dung - Van - VOV -  
(VOVworld) – วันที่ 22 เมษายนตามเวลาท้องถิ่น เวียดนามและกว่า 100 ประเทศได้เข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ณ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐ หลังจากที่ข้อตกลงฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจาก 195 ประเทศเป็นเวลา 4 เดือน ในขณะเดียวกัน ที่ประเทศเวียดนาม การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็ถือเป็นหน้าที่สำคัญอันดับแรกที่นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กทำการชี้นำโดยตรงหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำคัญและความเร่งด่วนของการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในกระบวนการพัฒนาของเวียดนาม
(VOVworld) – วันที่ 22 เมษายนตามเวลาท้องถิ่น เวียดนามและกว่า 100 ประเทศได้เข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ณ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐ หลังจากที่ข้อตกลงฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจาก 195 ประเทศเป็นเวลา 4 เดือน ในขณะเดียวกัน ที่ประเทศเวียดนาม การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็ถือเป็นหน้าที่สำคัญอันดับแรกที่นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กทำการชี้นำโดยตรงหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำคัญและความเร่งด่วนของการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในกระบวนการพัฒนาของเวียดนาม
ปัญหาภัยแล้งในเวียดนาม
|
รายงานของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระบุว่า ในปี 2015 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวียดนามได้เกิดขึ้นอย่างซับซ้อน อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่า สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อสถานการณ์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยเมื่อปี 2015 ภัยธรรมชาติได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 154 รายและสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 8 ล้านล้านด่ง โดยเฉพาะในต้นปี 2016 ปรากฎการณ์เอลนิโญได้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จนทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งและน้ำทะเลซึมอย่างหนักในภาคกลางตอนใต้ เขตที่ราบสูงเตยเงวียนและเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ปรับตัวอย่างเป็นฝ่ายรุก
ในสภาวการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้กำชับว่า เวียดนามต้องปฏิบัติมาตรการที่เข้มแข็งต่างๆเพื่อเร่งรับมือปัญหาดังกล่าว เช่น ต้องเพิ่มทักษะความสามารถในการวิเคราะห์ การคาดการณ์และเตือนภัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ลงทุนให้แก่การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อเขตเศรษฐกิจต่างๆเพื่อหามาตรการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งผลักดันการประสานงานและเชื่อมโยงภูมิภาคเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่อย่างไรก็ตาม การประสานงานนั้นต้องได้รับการปฏิบัติพร้อมกับยุทธศาสตร์และแผนการของหน่วยงานและโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กกำชับว่า “ในเวลาข้างหน้าเวียดนามต้องเป็นฝ่ายรุกในการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต้องถูกระบุอย่างรอบด้านในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและถือเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นเสาหลักในการพัฒนา ส่วนทางการปกครองทุกระดับต้องให้ความสนใจถึงการบริหารชี้นำมากขึ้น”
นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กยังเรียกร้องทำการปรับปรุงนโยบายกฎหมายเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ศึกษาการปรับเปลี่ยนและการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อค้ำประกันให้แก่การพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอลไดอ๊อกไซด์และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ตามข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศหรือคอป 21 พร้อมทั้งสั่งให้ระดมพลังทุกแหล่งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยให้สิทธิพิเศษต่อโครงการและกิจการหลักๆ เช่น การก่อสร้างและยกระดับอ่างเก็บน้ำจืดเพื่อใช้ในการผลิตและอุปโภคบริโภค ตลอดจนปรับปรุงระบบทำนบริมทะเลและแม่น้ำ แก้ไขปัญหาดินถล่มริมฝั่งทะเล แม่น้ำและพื้นที่ดินอ่อน
นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหงียนซวนฟุ๊ก
|
มอบหน้าที่ที่เป็นรูปธรรมให้แก่กระทรวงและหน่วยงานหลัก
นายกรัฐมนตรีได้ชี้นำให้คณะกรรมการแห่งชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวางแผนและการลงทุนต้องร่วมมือกับต่างประเทศอย่างเข้มแข็งเพื่อแสวงหาแหล่งพลังและแหล่งเงินทุนสนับสนุนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของประเทศ สำหรับกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้ทำการตรวจสอบและระบุปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเข้าในยุทธศาสตร์การวางแผน โดยเฉพาะในด้านชลประทานและการผลิตในพื้นที่หลักๆ โดยก่อนอื่นต้องทำการวิจัยเพื่อเสนอมาตรการแก้ไขให้แก่เขตที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตรวจสอบระดับผลเสียหายเพื่อมีมาตรการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทต้องตรวจสอบการวางแผนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อค้ำประกันการกักเก็บน้ำจืด การควบคุมปัญหาน้ำทะเลซึมและพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล สำหรับกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้ชี้ชัดว่า “ทางกระทรวงฯต้องประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในท้องถิ่นเพื่ออัพเดทและประกาศสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลซึมในเวียดนาม ซึ่งต้องผลักดันการพยากรณ์ การวิจัยและการประเมินผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อหน่วยงานบางแห่งและด้านหลักต่างๆทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะในเขตชนบท”
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นความท้าทายใหญ่ต่อเวียดนาม ซึ่งไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมเวียดนามเท่านั้นหากยังช่วยผลักดันการปฏิบัติข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอีกด้วย.
Dung - Van - VOV