เศรษฐกิจภาคเอกชนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์เศรษฐกิจที่มั่นคงและพึ่งพาตนเอง

(VOVworld) – เศรษฐกิจภาคเอกชนเป็น 1 ใน 3 ภาคของเศรษฐกิจเวียดนาม มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 95ในจำนวนสถานประกอบการที่กำลังประกอบธุรกิจในเวียดนามจึงมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ในความเป็นจริง ถ้าหากเศรษฐกิจภาคเอกชนไม่ได้รับความสนใจพัฒนาเท่าที่ควร ก็จะไม่เพียงแต่ไม่สามารถสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเท่านั้นหากการพึ่งพาตนเองของเศรษฐกิจก็อ่อนแอลงไปด้วย นี่คือหัวข้อของฟอรั่มหุ้นส่วนพัฒนาเวียดนาม 2014 หรือ VDPF 2014 ที่กำลังมีขึ้นในกรุงฮานอยในวันที่ 5 ธันวาคม

(VOVworld) – เศรษฐกิจภาคเอกชนเป็น 1 ใน 3 ภาคของเศรษฐกิจเวียดนาม มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 95ในจำนวนสถานประกอบการที่กำลังประกอบธุรกิจในเวียดนามจึงมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ในความเป็นจริง ถ้าหากเศรษฐกิจภาคเอกชนไม่ได้รับความสนใจพัฒนาเท่าที่ควร ก็จะไม่เพียงแต่ไม่สามารถสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเท่านั้นหากการพึ่งพาตนเองของเศรษฐกิจก็อ่อนแอลงไปด้วย นี่คือหัวข้อของฟอรั่มหุ้นส่วนพัฒนาเวียดนาม 2014 หรือ VDPF 2014 ที่กำลังมีขึ้นในกรุงฮานอยในวันที่ 5 ธันวาคม

เศรษฐกิจภาคเอกชนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์เศรษฐกิจที่มั่นคงและพึ่งพาตนเอง - ảnh 1
ฟอรั่มหุ้นส่วนพัฒนาเวียดนาม 2014 หรือ VDPF 2014
นับเป็นครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญเวียดนามปี 2013 ได้ระบุบทบาทของนักธุรกิจ โดยมีนักธุรกิจ 36 คนที่เป็นผู้แทนรัฐสภา การปรับปรุงเศรษฐกิจของเวียดนามในเวลาที่ผ่านมาเพื่อยืนยันถึงการฟื้นฟูบทบาทของเศรษฐกิจภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อเวียดนามปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ ได้มีการยืนยันถึงบทบาทของเศรษฐกิจภาคเอกชน ซึ่งมีบทบาทของชมรมนักธุรกิจรวมอยู่ด้วย ปี 2000 กฎหมายสถานประกอบการถือเป็นพื้นฐานทางนิตินัยให้แก่เศรษฐกิจภาคเอกชน
เศรษฐกิจภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจเวียดนาม
เศรษฐกิจภาคเอกชนนับวันยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจเวียดนาม ในช่วงก่อนที่ปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศเมื่อปี 1986 เวียดนามมีสถานประกอบการภาคเอกชนประมาณ 1 หมื่น 5 พันแห่ง ส่วนสถานประกอบการภาครัฐมีประมาณกว่า 1 หมื่นแห่งแต่ในปัจจุบัน จำนวนสถานประกอบภาคเอกเชนได้เพิ่มขึ้น 40 เท่าและสถานประกอบการภาครัฐได้ลดลงเหลือเพียง 1 พันแห่ง ซึ่งจะลดลงต่อไปตามกระบวนการแปรสภาพเป็นบริษัทหุ้นส่วนจนถึงปลายปี 2015 ให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ที่เวียดนามเข้าร่วมและตามเงื่อนไขต่างๆ เมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกขององการการค้าโลกหรือ WTO และเข้าร่วมการเจรจาข้อตกลงการค้าฉบับใหญ่ๆ เช่น ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพี ดังนั้นในด้านปริมาณ เศรษฐกิจภาคเอกชนได้กลายเป็นกองกำลังส่วนใหญ่ของเศรษฐกิจ ซึ่งมีส่วนร่วมสำคัญต่อการสร้างงานทำ เสียภาษีเข้างบประมาณแผ่นดินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในฟอรั่มสถานประกอบการเวียดนามกึ่งวาระปี 2014 นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงได้ส่งสาส์นว่า “รัฐบาลจะอำนวยความสะดวกให้แก่การพัฒนาสถานประกอบการภาคเอกชนและถือเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนาม” และยืนยันอีกครั้งในฟอรั่มสถานประกอบการเวียดนามปลายปี 2014 ที่มีขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ว่า “รัฐบาลเน้นปฏิบัติก้าวกระโดด 3 ประการคือ การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ เปลี่ยนรูปแบบการขยายตัวด้านการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปี 2014 รัฐบาลจะระดมพลังทุกแหล่ง โดยเฉพาะพลังจากภาคเอกเชน พลังจากสังคมและพลังจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภค รัฐบาลเวียดนามให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการส่งเสริมพัฒนาสถานประกอบการภาคเอกชน สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และอำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดเวียดนาม”
เศรษฐกิจภาคเอกชนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์เศรษฐกิจที่มั่นคงและพึ่งพาตนเอง - ảnh 2
ฟอรั่มสถานประกอบการเวียดนามปลายปี 2014 (Photo VNplus)
ความหวังเกี่ยวกับการพัฒนาของภาคเอกชนในอนาคต
บรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและต่างประเทศต่างให้ข้อสังเกตว่า สถานประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพต่อระบบเศรษฐกิจเวียดนาม ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถเห็นได้ในดัชนีเศรษฐกิจที่น่ายินดีเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมต่อการสร้างงานทำและการลดอัตราคนจนทั่วประเทศลงแต่เพื่อให้เศรษฐกิจภาคเอกชนสามารถพัฒนาบทบาทและจุดแข็งของตนในสภาวการณ์ปัจจุบัน นาง Wendy Werner ผู้อำนวยการฝ่ายการค้าและการแข่งขันภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของธนาคารโลกเห็นว่า “ก่อนหน้านี้ไม่กี่ปี สถานประกอบการเวียดนามต้องฟันฝ่าช่วงที่ลำบากแต่พวกเรายังเห็นการพัฒนาของพวกเขา ดิฉันคิดว่า สถานประกอบการภาคเอกชนมีจิตใจแห่งการประกอบธุรกิจอย่างเข้มแข็ง ซึ่งต้องได้รับการส่งเสริมจากนโยบายที่ดีกว่านี้ เช่น การเข้าถึงแหล่งการเงินที่ดีกว่าและเป็นองค์ประกอบตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงตลาดในอนาคต”
ไม่เพียงแต่ในด้านเศรษฐกิจ เสียงพูดของภาคเอกชนยังมีความสำคัญพิเศษต่อกระบวนการร่างนโยบายของเวียดนาม ปัจจุบันนี้ เอกสารทางนิตินัยที่เกี่ยข้องถึงเศรษฐกิจทุกฉบับก่อนที่จะได้รับการประกาศใช้ต้องมีความคิดเห็นจากสถานประกอบการภาคเอกชนผ่านหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามหรือวีซีซีไอ นายหวูเตี๊ยนหลก ประธานวีซีซีไอกล่าวว่า “พวกเรากำลังปฏิบัติและต้องปฏิบัติโครงการแบบบูราณการเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจภาคเอกชนภายในประเทศเพื่อให้ภาคนี้สามารถดำเนินกิจการพร้อมๆกับสถานประกอบการภาครัฐและได้รับปรโยชน์เช่นเดียวกับสถานประกอบการที่มีเงินลงทุนจากต่างชาติที่จะปรากฎตัวมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจเวียดนามในเร็วๆนี้”
นาย Antony Nezic นายกสมาคมสถานประกอบการแคนาดาที่มีประสบการณ์ทำงานมากว่า 20 ประเทศเผยว่า “ผมเห็นว่า ชาวเวียดนามชอบทำธุรกิจ ดังนั้นผมมีความปรารถนาว่า จะมีการจัดตั้งสถานประกอบการภาคเอกเชนรายใหม่อีกหลายโครงการของคนเวียดนาม และหวังว่า พวกเขาจะสามารถคงอยู่ พัฒนาและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในประเทศ ภูมิภาคและโลกได้”
ในการเยือนเวียดนามเมื่อเร็วๆนี้ นาย จิมยองกิม ประธานกลุ่มธนาคารโลกเผยว่า “เวียดนามกำลังมีอนาคตที่สดใส ถ้าหากพัฒนาความแข็งแกร่งและความคิดสร้างสรรค์ของภาคเอกชนอย่างสมบูรณ์ ชาวเวียดนามนับล้านคนจะมีโอกาสได้มีงานทำที่ดีและได้ประโยชน์จากความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ” กิจกรรมต่างๆและนโยบายสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นต่อสถานประกอบการภาคเอกชนของรัฐบาลได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของเวียดนามในกระบวนการพัฒนาภาคเอกชนเพื่อสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงและพึ่งพาตนเอง./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด