เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่เนื่องจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน

(VOVWORLD) -ในสภาวการณ์ที่การฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด -19 ยังไม่ชัดเจน เศรษฐกิจโลกก็กำลังต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่จากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลก ดังนั้น ถึงแม้ยากที่จะเกิดภาวะถดถอยแต่เศรษฐกิจโลกก็ได้รับการพยากรณ์ว่า จะประสบอุปสรรคมากมายจากวิกฤตนี้

เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่เนื่องจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน - ảnh 1คลังก๊าซธรรมชาติเหลวในเขต  Kasimov ของรัสเซีย (Photo: AP)

รายงานด้านการเงินระหว่างประเทศของหลายสำนักได้ให้ข้อสังเกตว่า ยุทธนาการทางทหารของรัสเซียในยูเครนและมาตรการคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตกต่อรัสเซียยากที่จะก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในโลกเนื่องจากอัตราจีดีพีของรัสเซียและยูเครนคิดเป็นไม่ถึงร้อยละ 2 ของจีดีพีโลก แต่อย่างไรก็ดี  เนื่องจากทั้งสองประเทศมีบทบาทที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลก โดยเฉพาะด้านพลังงานและอาหาร ดังนั้น วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนจึงได้รับการประเมินว่า จะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจโลก

            ผลกระทบที่ร้ายแรง

บรรดาผู้เชี่ยวชาญและองค์กรการเงินระหว่างประเทศได้ประเมินว่า ผลกระทบของการที่รัสเซียถูกอายัดทรัพย์สินในทุกตลาดมาจากบทบาทของรัสเซียในห่วงโซ่คุณค่าโลกเพราะรัสเซียเป็นประเทศที่สนองสินค้าคิดเป็น 1 ใน 6 ของโลก โดยรัสเซียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของกำลังการผลิตทั่วโลกและก๊าซธรรมชาติประมาณร้อยละ 40 ที่ป้อนสู่ยุโรปมาจากรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียยังเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยและผู้ผลิตนิกเกิลและแพลเลเดียมชั้นนำของโลก เป็นประเทศส่งออกเหล็กและถ่านหินรายใหญ่อันดับ 3และเป็นประเทศที่ส่งออกไม้รายใหญ่อันดับที่ 5 ของโลก ในขณะเดียวกัน ยูเครนเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสาลี คิดเป็นร้อยละ 29 และข้าวโพดร้อยละ 19 ของโลกด้วย

ตามการประเมินล่าสุด คณะกรรมการยุโรปหรืออีซีเห็นว่า การที่รัสเซียปฏิบัติยุทธนาการทางทหารในยูเครนได้ทำให้การพยากรณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ร้อยละ 4 อาจไม่สามารถปฏิบัติได้ ในขณะเดียวกัน นาย Philip Lane  นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB   ได้ให้ข้อสังเกตว่า วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนอาจทำให้อัตราจีดีพีของเขตยูโรโซนในปี 2022 ลดลงประมาณร้อยละ 0.3 -0.4  ส่วนที่ประเทศสหรัฐ ราคาข้าวสาลีได้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 3 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ในขณะที่ราคาข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2021

ด้านพลังงาน วิกฤตนี้ได้ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปีคือเกือบ 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ราคาสินค้าต่างๆเพิ่มขึ้นและทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ  บรรดาผู้เชี่ยวชาญของบริษัท Capital Economics ได้ให้ข้อสังเกตว่า อัตราภาวะเงินเฟ้อของเขตยูโรโซนจะอยู่ที่ร้อยละ 6 ในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้และจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4 ในปลายปีนี้ สูงกว่าเป้าหมายที่ ECB คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 2  สำหรับภูมิภาคเอเชีย นาย Tom Rafferty ผู้อำนวยการของสำนักงานการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ Economist Intelligence Unit  ได้เตือนว่า  ผลกระทบในระยะสั้นจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนคือความผันผวนด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชีย แต่อย่างไรก็ดี ไม่ใช่แค่ยุโรปและเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้เท่านั้น นาย Claudio Borio  ผู้อำนวยการที่ดูแลฝ่ายเศรษฐกิจและการเงินของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศหรือ BIS ได้ชี้ชัดว่า  ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนได้เพิ่มความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อทุกตลาด ส่วนนาย Adam Slater นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของบริษัท Oxford Economicsได้พยากรณ์ว่า อัตราการขยายตัวจีดีพีในโลกจะลดลงร้อยละ 0.2ในปี 2022

            ยุติการปะทะโดยเร็วเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

อาจกล่าวได้ว่า วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนและปัญหาที่เกี่ยวข้องกำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจโลกและไม่มีเศรษฐกิจใดสามารถหลีกเลี่ยงผลตามมา บรรดนักเศรษฐศาสตร์เห็นตรงกันว่า ยังเร็วเกินไปเพื่อมีการพยากรณ์เกี่ยวกับผลเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก  ถ้าหากวิกฤตนี้ยืดเยื้อเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลกระทบอย่างหนักและยากที่จะคาดเดาได้ รวมทั้ง  การชะงักงันของแหล่งจัดสรรสินค้าที่จำเป็น โดยเฉพาะพลังงานและอาหาร มีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จด้านเศรษฐกิจที่ได้บรรลุในเวลาที่ผ่านมา และมีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตด้านอาหารและวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเขตต่างๆในโลก

ประชามติโลกมีความประสงค์ว่า ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องจะตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหานี้ มีปฏิบัติการเพื่อผลประโยชน์ของเศรษฐกิจและประชาชนประเทศตน เพื่อเสถียรภาพในภูมิภาคและโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด