เสรีภาพในการเดินเรือและบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

(VOVWORLD) - ในช่วงไม่กี่วันมานี้ ในการหารือทางโทรศัพท์ทวิภาคีหรือในฟอรัมพหุภาคี หลายประเทศได้แสดงการสนับสนุนบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ยืนยันถึงความสำคัญของเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลตะวันออก นี่เป็นคำมั่นที่เข้มแข็งเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสร้างสรรค์ภูมิภาคที่มีสันติภาพ เสถียรภาพตามกฎหมายในสภาวการณ์ที่ความมั่นคงในภูมิภาคกำลังมีความผันผวนอย่างซับซ้อน
เสรีภาพในการเดินเรือและบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน - ảnh 1นาย โนบุโอะ คิชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น (AFP)

คัดค้านกิจกรรมที่สร้างความไร้เสถียรภาพหรือสร้างภัยคุกคามต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ในการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างนาย โนบุโอะ คิชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกับพล. อ. ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมไทย ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันถึงความสำคัญของการธำรงเสรีภาพในการเดินเรือและยืนยันอีกครั้งว่า วิสัยทัศน์อินโด - แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างของญี่ปุ่นที่มีความคล้ายคลึงกันในหลายประการกับวิสัยทัศน์อาเซียนเกี่ยวกับภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ผู้นำทั้งสองประเทศได้แสดงการสนับสนุนการให้เคารพหลักการที่ถูกระบุในวิสัยทัศน์อาเซียนเกี่ยวกับภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก รวมถึงบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ตลอดจนการให้ความเคารพกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ปี 1982

ก่อนหน้านั้น เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นได้พูดคุยทวิภาคีทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ของฟิลิปปินส์และออสเตรเลียเกี่ยวกับปัญหาความสัมพันธ์ทวิภาคี ความปลอดภัยและความมั่นคงในภูมิภาค โดยต่างย้ำถึงคำมั่นที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ย้ำอีกครั้งถึงทัศนะที่คัดค้านอย่างรุนแรงต่อปฏิบัติการแต่ฝ่ายเดียวเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมในทะเลตะวันออกและทะเลหัวตุ้ง  ตลอดจนการกระทำที่เพิ่มความตึงเครียด

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดนและนาย มุนแจ – อิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลียังได้ออกแถลงการณ์ร่วม ณ ทำเนียบขาวโดยยืนยันอีกครั้งถึงการสนับสนุนบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและโครงสร้างภูมิภาคโดยอาเซียนเป็นผู้นำ แถลงการณ์ร่วมระบุว่า สหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลีคัดค้านทุกกิจกรรมที่บ่อนทำลาย สร้างความไร้เสถียรภาพหรือสร้างภัยคุกคามต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยระหว่างประเทศที่สร้างขึ้นบนข้อกำหนดและคำมั่นที่จะธำรงอินโด – แปซิฟิกที่ครอบคลุม เสรีและเปิดกว้าง ทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ การค้าเสรีที่ชอบด้วยกฎหมายและการเคารพกฎหมายสากล รวมถึงเสรีภาพในการเดินเรือและการบินในทะเลตะวันออก 

เสรีภาพในการเดินเรือและบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน - ảnh 2เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth เข้าเทียบท่าเรือ Solent ในเมือง Portsmouth ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2019 (AFP)

ร่วมมือเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค

คำประกาศต่างๆดังกล่าวได้มีขึ้นหลังจากที่จีนประกาศและบังคับใช้กฎหมายตำรวจทะเลซึ่งทำให้ประชาคมโลกมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากและประท้วงการกระทำของจีน ตามกฎหมายฉบับใหม่ หน่วยยามฝั่งสามารถใช้อาวุธที่ถือด้วยมือ ทางทะเลและทางอากาศเพื่อต่อต้านเรือต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้ป้องกันไม่ให้ประเทศอื่นสร้างอาคารหรือกิจการลอยน้ำบนเกาะแนวปะการังและเกาะที่จีนประกาศสิทธิอธิปไตยแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ได้ส่งหนังสือการทูตถึงสหประชาชาติเพื่อประท้วงจีนโดยยืนยันว่า กฎหมายนี้สร้างอันตรายต่อกิจกรรมที่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศในทะเลตะวันออก ส่วนสหรัฐ อังกฤษ เยอรมนีและประเทศอื่น ๆได้ส่งเรือเข้าไปในทะเลตะวันออก

ส่วนประเทศที่ประกาศสิทธิอธิปไตยในทะเลตะวันออก เช่น บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ประเทศจีนและเวียดนามต่างก็คัดค้านกฎหมายฉบับใหม่นี้ โดยกล่าวว่า การประกาศกฎหมายนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการที่จีนเดินหน้าผลักดันการประกาศอธิปไตยอย่างผิดกฎหมายซึ่งการใช้กำลังหรือข่มขู่ที่จะใช้กำลังอย่างผิดกฎหมายของจีนจะสร้างข้ออ้างสำหรับการปะทะทางอาวุธ สร้างความไร้เสถียรภาพและเป็นอันตรายต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค

ทะเลตะวันออกเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลกโดยไม่เพียงแต่มีคุณค่าทางยุทธศาสตร์ในด้านเศรษฐกิจ การค้า ความมั่นคงเท่านั้น หากยังมีคุณค่าทางยุทธศาสตร์ในด้านภูมิรัฐศาสตร์อีกด้วย ดังนั้น การรักษาสันติภาพและเสถียรภาพเพื่อนำผลประโยชน์ร่วมคือความรับผิดชอบของทุกประเทศ สำหรับอาเซียน จุดยืนของกลุ่มที่มีต่อปัญหาทะเลตะวันออกคือการส่งเสริมความร่วมมือ การเจรจาและการสร้างความเชื่อมั่นในภูมิภาคเพื่อค้ำประกันการปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ จัดทำกหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือUNCLOS ปี 1982 ทัศนะนี้ของอาเซียนได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศอยู่เสมอด้วยคำมั่นร่วมมือที่เข้มแข็งเพื่อธำรงสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด