แผนการปรับลดเงินหยวนของจีน

(VOVworld) – การปรับลดค่าเงินหยวนของจีน 3 วันติดต่อกันจนอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่จีนทำการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อปี 1994 เหมือนเป็นแรงสั่นสะเทือนต่อตลาดการเงินของภูมิภาคและโลก แต่ทำไมจีนต้องปรับลดค่าเงินหยวนอย่างต่อเนื่องและการกระทำดังกล่าวของจีนจะส่งผลกระทบในทางลบและทางบวกอย่างไรต่อประเทศจีน นั่นคือเรื่องที่บรรดานักวิเคราะห์และผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดและมีการวิเคราะห์ต่างๆในหลายวันที่ผ่านมา

(VOVworld) – การปรับลดค่าเงินหยวนของจีน 3 วันติดต่อกันจนอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่จีนทำการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อปี 1994 เหมือนเป็นแรงสั่นสะเทือนต่อตลาดการเงินของภูมิภาคและโลก แต่ทำไมจีนต้องปรับลดค่าเงินหยวนอย่างต่อเนื่องและการกระทำดังกล่าวของจีนจะส่งผลกระทบในทางลบและทางบวกอย่างไรต่อประเทศจีน นั่นคือเรื่องที่บรรดานักวิเคราะห์และผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดและมีการวิเคราะห์ต่างๆในหลายวันที่ผ่านมา

แผนการปรับลดเงินหยวนของจีน - ảnh 1
จีนปรับลดค่าเงินหยวนใน 3 วันติดต่อกัน (Photo Internet)

ตามปกติ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศควรมีเสถียรภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ลดความเสี่ยงให้แก่สถานประกอบการนำเข้าและส่งออก พร้อมทั้งช่วยให้ประชาชนเพิ่มความเชื่อมั่นต่อสกุลเงินของประเทศและปรับเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค แต่ทางการจีนได้ให้เหตุผลในการปรับลดค่าเงินหยวนจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปีว่า เพื่อทำให้ตลาดตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น โดยใน 3 วันเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนลดลงถึงร้อยละ 4.6 สร้างความตกใจให้แก่ตลาดการเงินโลกและเกิดการคาดเดาว่า อาจเกี่ยวข้องกับ “สงครามการเงิน”ที่เกิดขึ้นไปแล้ว
แก้ไขการถดถอยของเศรษฐกิจและผลักดันการส่งออก
ในประวัติศาสตร์การเงินโลก การที่เศรษฐกิจของประเทศชลอตัวก็จะต้องทำการแก้ไขด้วยมาตรการปรับค่าเงินและจีนก็ทำเช่นนั้นในครั้งนี้ ตามข้อมูลสถิติ เศรษฐกิจของประเทศที่อยู่อันดับที่สองของโลกนี้กำลังมีการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี แนวโน้มเศรษฐกิจชลอตัวได้เกิดขึ้นเมื่อการส่งออกของจีนในเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การผลิตขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์และสินเชื่อก็มีการขยายตัวอย่างล่าช้าเช่นกัน ดังนั้นบรรดาผู้เชี่ยวชาญเผยว่า เพื่อสนับสนุนผู้ส่งออกภายในประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า จีนต้องเลือกช่วงเวลานี้เพื่อปรับลดค่าเงินหยวน แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่า นอกจากให้การช่วยเหลือการส่งออกแล้ว การปรับลดค่าเงินหยวนของจีนก็เพื่อดำรงความได้เปรียบในการแข่งขัน ในความเป็นจริง ตลาดการเงินโลกได้รับผลกระทบทันทีจากการปรับลดค่าเงินหยวน 3 ครั้งของจีน โดยสกุลเงินของประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี อินเดียและสิงคโปร์ได้ลดลงตามไปด้วยประมาณร้อยละ 1
แผนการปรับลดเงินหยวนของจีน - ảnh 2
พยายามให้เงินหยวนกลายเป็นเงินสกุลหลักของโลก
(Photo internet)
พยายามให้เงินหยวนกลายเป็นเงินสกุลหลักของโลก
การปรับลดค่าหยวนเพื่อสนับสนุนการส่งออกและการขยายตัวเป็นเหตุผลที่เห็นได้อย่างชัดเจนแต่ดูเหมือนว่า การกระทำดังกล่าวของจีนไม่ได้มีแค่เป้าหมายดังกล่าวเท่านั้น หากยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำให้เงินหยวนกลายเป็นเงินสกุลหลักของโลก ในหลายปีมานี้ จีนมักจะพยายามทำให้สกุลเงินหยวนอยู่ในตะกร้าสกุลเงินตราหรือ SDR และอยู่ในกลุ่มเดียวกับเงินดอลลาห์สหรัฐ เงินปอนด์อังกฤษ เงินยูโรและเงินเยนของญี่ปุ่นเพื่อกลายเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ จีนเชื่อว่า เศรษฐกิจของตนมีความเข้มแข็งและสกุลเงินหยวนก็เข้มแข็งเช่นกันเพื่อจะอยู่ใน SDR แต่ในความเป็นจริง ความพยายามดังกล่าวของจีนกำลังประสบอุปสรรคนานัปการ แม้เมื่อเดือนกันยายนปี 2009 จีนได้ซื้อพันธบัตรของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟมูลค่า 5 หมื่นพันล้านเหรียญสหรัฐด้วยเงินหยวนก็ตามแต่สัญญาระหว่างจีนกับประเทศต่างๆยังใช้เงินหยวนไม่มากนัก ทุกประเทศยังไม่สามารถใช้เงินหยวนเพื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศหรือชำระหนี้ให้แก่ธนาคารต่างประเทศและนักลงทุนพันธบัตรต่างประเทศ ถึงขณะนี้ พันธบัตรที่ใช้เงินหยวนยังคงมีแค่ในประเทศจีนเท่านั้นโดยเป็นของระบบธนาคารของจีนหรือองค์กรการเงินพหุภาคีบางแห่ง
ดังนั้น ผู้สังเกตการณ์มองว่า การปรับลดค่าเงินหยวนในครั้งนี้คือแผนการของจีนเพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความคล่องตัวของระเบียบอัตราการแลกเปลียนเงินตรา ซึ่งเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งเพื่อให้จีนผสมผสานเข้ากับตลาดการเงินโลก และปีนี้ก็ถึงกำหนดเส้นตาย5ปีที่ไอเอ็มเอฟจะพิจารณาอัตราการแลกเปลี่ยนของสกุลเงินใน SDR
เกิดผลกระทบในทางลบ
นอกจากผลประโยชน์ในเบื้องต้น นักวิเคราะห์ยังเผยว่า จีนจะต้องประสบผลกระทบในทางลบเป็นอย่างมากจากการปรับลดค่าเงินหยวนดังกล่าว นั่นคือการถอนเงินทุนอย่างมากมายโดยคาดว่า ถ้าหากเงินหยวนลดค่าลงร้อยละ 1 จะช่วยให้การส่งออกของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นแต่ก็จะมีเงินทุนประมาณ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐถูกถอนออกจากตลาดจีน นอกจากนี้ การผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ส่งผลกระทบต่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อสังหาริมทรัพย์และการเงินเป็นอย่างมาก ในหลายปีมานี้ อัตราดอกเบี้ยต่ำในทั่วโลกและตลาดสินเชื่อภายในประเทศได้ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดจึงทำให้บริษัทจีนต้องแสวงหาการกู้เงินด้วยดอกเบี้ยต่ำจากต่างประเทศ คาดว่า ปัจจุบันนี้ จีนกำลังเป็นหนี้เกือบ 3 แสน 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐและเมื่อค่าเงินหยวนอ่อนตัวลงจะทำให้จำนวนมูลค่าหนี้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ก็จะประสบความยากลำบากเนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์ในจีนมีความเกี่ยวพันธ์กับอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินหยวน
จากการตระหนักได้ดีเกี่ยวกับผลกระทบในทางลบดังกล่าว หลังจากที่ได้ลดค่าเงินจนอยู่ในระดับต่ำที่สุด จีนได้ปรับเพิ่มค่าเงินหยวนขึ้นเล็กน้อย ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่า การปรับลดค่าเงินดังกล่าวเป็นแผนการของจีนเพื่อผลักดันเศรษฐกิจ รักษาอัตราการขยายตัวและงานทำ พร้อมทั้งเพิ่มอำนาจให้แก่เงินหยวนเพื่ออำนวยความสะดวกให้จีนปฏิบัติเป้าหมายทางการทูตและเสริมสร้างบทบาทการเป็นศูนย์กลางในระบบเศรษฐกิจโลก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด