แรงกดดันให้แก้ไขข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน

(VOVWORLD) - จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์โลกในหลายวันที่ผ่านมาก็สามารถเห็นได้ว่า ข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านกำลังถูกแรงกดดันให้ต้องทำการแก้ไข โดยเมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์  ทรัมป์ ได้กำหนดเวลาเส้นตายในการแก้ไขข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้ตามแนวทางที่สหรัฐเห็นว่า มีความเหมาะสมกว่า อย่างไรก็ตาม แรงกดดันของสหรัฐได้ถูกคัดค้านจากประชามติ และสภาวการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ประเทศที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงก้าวเดินต่อไปถ้าไม่อยากให้ข้อตกลงประสบความล้มเหลว
แรงกดดันให้แก้ไขข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน - ảnh 1เตาปฏิกรณ์น้ำหนัก Arak ในภาคกลางอิหร่าน (AP) 

ภายหลัง 12 ปีที่ทำการไกล่เกลี่ยและเจรจาเป็นไปอย่างเข้มข้น ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์เกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านหรือแผนปฏิบัติการร่วมที่มีชื่อว่า JCPOA ได้บรรลุเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2015  ซึ่งช่วยยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจต่ออิหร่านเพื่อแลกกับการที่อิหร่านจำกัดโครงการนิวเคลียร์

ข้อตกลง JCPOA ถือเป็นผลงานแห่งความสำเร็จของทางการประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบาม่า แต่เมื่อนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐเข้าก็ได้แสวงทุกวิถีทางเพื่อยกเลิกข้อตกลงฉบับนี้

เป้าหมายหลังการสร้างแรงกดดันแก้ไขข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน

สิ่งที่เห็นได้ง่ายก็คือ ในจำนวน 7 ประเทศที่เข้าร่วมการเจรจาและลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐ จีน รัสเซีย เยอรมนีและอิหร่าน มีสหรัฐเพียงประเทศเดียวที่อยากแก้ไขข้อตกลงฉบับนี้ โดยเริ่มตั้งแต่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้แสดงความเห็นว่า JCPOA คือ “หนึ่งในข้อตกลงที่ไม่ฉลาดที่สุด” ที่ตนเคยเห็น และเตือนว่า เอกสารฉบับนี้จะไม่สามารถทำให้อิหร่านยุติการมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง วอชิงตันยังแสดงความไม่พอใจต่อการที่อิหร่านขยายอิทธิพลในภูมิภาคผ่านการแทรกแซงกิจการภายในของเยเมน ซีเรียและจัดสรรอาวุธให้แก่ฮิซบอลเลาะห์ ถึงแม้นาย โดนัลด์ ทรัมป์จะไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจนก็ตาม

ดังนั้น นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้แสวงหาทุกเหตุผลเพื่อปฏิเสธ ผลประโยชน์จาก JCPOA แต่ก็ไม่ได้อ้างเหตุผลว่า อิหร่านละเมิดข้อกำหนดของ JCPOA หากแสดงความเห็นว่า ต้องเจรจาเกี่ยวกับมาตราของ JCPOA อีกครั้ง มิฉะนั้น ฝ่ายสหรัฐจะปฏิเสธไม่เข้าร่วมข้อตกลงนี้

ด้วยเป้าหมายสร้างแรงกดดันเพื่อแก้ไข JCPOA ดังนั้นถึงแม้การที่อิหร่านได้รับการรับรองจากประเทศยุโรปและไอเออีเอว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ JCPOA อย่างเคร่งครัด แต่เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2017 นาย โดนัลด์ ทรัมป์  ยังคงสั่งเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจต่ออิหร่าน หลังจากนั้น 3 เดือน  ประธานาธิบดีสหรัฐได้ปฏิเสธที่จะยอมรับว่า อิหร่านปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อโยนให้รัฐสภาสหรัฐเป็นฝ่ายตัดสินใจเรื่องนี้

ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า สหรัฐกำลังแสวงหาทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายของตน แต่อะไรคือเหตุผลที่ทำให้วอชิงตันเพิกเฉยต่อการคัดค้านจากประเทศต่างๆที่เคยลงนามข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้เมื่อปี 2015 นอกจากผลประโยชน์ของสหรัฐแล้ว ข้อเสนอของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ก็เพื่อสร้างแรงกดดันให้อิหร่านต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายของตนในตะวันออกกลาง สร้างความมั่นใจต่อพันธมิตรในภูมิภาคของสหรัฐคืออิสราเอลและซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีความวิตกังวลว่า อิหร่านอาจมีแผนการเปิดเส้นทางผ่านดินแดนของอิรักไปยังซีเรียซึ่งสร้างภัยคุกคามต่อความมั่นคงของพวกเขา ดังนั้น ภายหลังทุกท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับ JCPOA พันธมิตรในภูมิภาคของสหรัฐ โดยเฉพาะอิสราเอล ก็ได้ให้การสนับสนุนท่าทีของสหรัฐอยู่เสมอ

นอกจากนั้น เหตุผลอีกประเด็นหนึ่งก็คือ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องปฏิบัติตามคำมั่นของตนในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งนี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสม

แรงกดดันให้แก้ไขข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน - ảnh 2 นักเทคนิคอิหร่านในสถานที่ด้านนิวเคลียร์ (AFP)

จะแก้ไขหรือไม่

ในเวลาอันสั้น การแก้ไขข้อตกลงฉบับนี้ยังคงเป็นเรื่องยาก แต่ในระยะยาวก็ไม่มีใครแน่ใจในเรื่องดังกล่าว เพราะถึงแม้ 6 ประเทศที่ลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านยังคงธำรงจุดยืนว่า ไม่ต้องแก้ไขข้อตกลงฉบับนี้ แต่ก็เขาเข้าใจคุณค่าจากข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้ในการจำกัดความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน และคำประกาศเพื่อทำลายการปฏิบัติ JCPOA ก็จะเพิ่มความผิดหวังและความไร้เสถียรภาพให้แก่ข้อตกลงฉบับนี้

นอกจากนั้น ความล้มเหลวของข้อตกลงนี้จะส่งผลกระทบในทางลบต่อการสนทนากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเกี่ยวกับการปลอดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี และส่งผลกระทบในทางลบต่อความพยายามปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในโลก

ในระยะยาว แน่นอนว่า วอชิงตันจะสร้างแรงกดดันที่เข้มแข็งมากขึ้นเพื่อแก้ไขข้อตกลงนี้ นั่นคืออาจมีการผลักดันข้อกำหนดต่อต้านอิหร่านผ่านกฎหมายเพิ่มความโปร่งใสในการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิหร่าน

เมื่อกว่า 2 ปีก่อน ในการลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน ตัวแทนของประเทศต่างๆได้ตั้งความหวังว่า ข้อตกลงนี้จะช่วยยุติปัญหานิวเคลียร์ที่ซับซ้อนที่สุดในโลก เหมือนปัญหานิวเคลียร์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เป็นจริงได้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ได้ลงนามแล้ว แต่ทุกฝ่ายจะปฏิบัติตามข้อตกลงหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง.  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด