โล่บังหน้าเพื่อปฏิบัติแผนการเส้นประ 9 เส้น

(VOVworld) – เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามได้ละเมิดอธิปไตยและเขตอำนาจศาลของเวียดนามอย่างรุนแรงตามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982แต่จีนไม่เพียงแต่ไม่สนใจต่อความชอบธรรม โดยไม่ยอมถอนแท่นขุดเจาะและเรือคุ้มกันออกจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม...

(VOVworld) – เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามได้ละเมิดอธิปไตยและเขตอำนาจศาลของเวียดนามอย่างรุนแรงตามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982แต่จีนไม่เพียงแต่ไม่สนใจต่อความชอบธรรม โดยไม่ยอมถอนแท่นขุดเจาะและเรือคุ้มกันออกจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามแถมยังประกาศอย่างก้าวร้าวว่า แท่นขุดเจาะดังกล่าวอยู่ในเขตทะเลที่อยู่ในน่านน้ำของจีน สำหรับเรื่องนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่วิจัยเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลเผยว่า จีนกำลังใช้การติดตั้งแท่นขุดเจาะมาเป็นโล่บังหน้าเพื่อปฏิบัติแผนการจัดตั้งเส้นประ 9 เส้น

โล่บังหน้าเพื่อปฏิบัติแผนการเส้นประ 9 เส้น - ảnh 1
จีนกำลังใช้การติดตั้งแท่นขุดเจาะมาเป็นโล่บังหน้าเพื่อปฏิบัติแผนการจัดตั้งเส้นประ 9 เส้น

ในการตอบคำถามของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นของสหรัฐเมื่อเร็วๆนี้ นาย จวัยเทียนก่าย เอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐได้เผยว่า จีนกำลังทำการสำรวจในเขตทะเลห่างจากเกาะ Tri Ton 17 ไมล์ทะเลและเขตทะเลดังกล่าวอยู่ห่างจากฝั่งทะเลของเวียดนาม 150 ไมล์ทะเล ดังนั้น แท่นขุดเจาะของจีนจึงไม่อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม ซึ่งนี่ถือเป็นคำแก้ต่างที่ผิดพลาดของจีน
ข้อแก้ต่างที่ผิดพลาด
ในความเป็นจริง       บริเวณที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 อยู่ห่างจากเกาะลี้เซินของเวียดนามประมาณ 150 ไมล์ทะเลและอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลของเวียดนามนับจากเส้นฐานชายฝั่งของเวียดนาม ดร.เหงียนตว่านทั้ง รองหัวหน้าภาควิชาอนุสัญญาและกฎหมายสากลของมหาวิทยาลัยกฎหมายฮานอยวิเคราะห์ว่า “ควรเข้าใจอย่างถูกต้องว่า เกาะ Tri Ton เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลล์ และสำหรับหมู่เกาะหว่างซา เวียดนามมีหลักฐานทางนิตินัยอย่างเพียงพอเพื่อยืนยันว่า เราได้เป็นเจ้าของหมู่เกาะแห่งนี้อย่างต่อเนื่องและสันติมานานแล้ว หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ หมู่เกาะหว่างซาเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของเวียดนาม ดังนั้นแน่นอนว่า จีนจะไม่มีหลักฐานทางนิตินัยหรือประวัติศาสตร์ใดๆเพื่อออกคำเรียกร้องอธิปไตยในเขตทะเลรอบหมู่เกาะหว่างซา ถ้ามองในแง่ประวัติศาสตร์ เมื่อปี 1956 จีนได้ใช้กำลังเพื่อยึดเกาะส่วนหนึ่งทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะและถึงปี 1974 จีนได้ยึดหมู่เกาะแห่งนี้ทั้งหมด และในปัจจุบัน ถึงแม้ในความเป็นจริง จีนกำลังยึดครองหมู่เกาะหว่างซาเป็นการชั่วคราวแต่การยึดครองนั้นไม่มีความหมายทางนิตินัยต่อจีนและหมู่เกาะหว่างซายังคงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งและอยู่ภายใต้อธิปไตยของเวียดนามทั้งหมด
ส่วนดร.เฉิ่นโกงจุก อดีตหัวหน้าคณะกรรมการชายแดนของรัฐบาลย้ำว่า จีนกำลังใช้ข้อแก้ต่างคือ แท่นขุดเจาะไหหยาง 981 เคลื่อนไหวในเขตทะเลที่อยู่ในอธิปไตยของจีนแต่ตามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลล์ไม่ใช่ประเทศและเกาะ Tri Ton สังกัดหมู่เกาะหว่างซานั้นก็ไม่เข้าเงื่อนไขของมาตราที่ 121 ของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982เพราะไม่มีเงื่อนไขทางธรรมชาติที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์ ไม่มีเงื่อนไขเพียงพอเพื่อกำหนดเส้นฐานชายฝั่งเฉพาะให้แก่เกาะนั้นได้ ดร.เฉิ่นโกงจุกย้ำว่า “เป็นที่ชัดๆว่า นี่เป็นการตลบแตลงและเป็นกับดักของจีนเพื่อเรียกการยอมรับในทางอ้อมต่อทัศนะที่ผิดพลาดและข้ออธิบายที่ไม่ถูกต้องในการประยุกต์ใช้อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ของจีนเพื่อตลบแตลงทำให้เขตทะเลที่ไม่มีการพิพาทกลายเป็นเขตทะเลที่กำลังพิพาทเพื่อเป็นการิสูจน์การปรากฎเส้นประ 9 เส้นที่ไม่มีเหตุผลของจีน
โล่บังหน้าเพื่อปฏิบัติแผนการเส้นประ 9 เส้น - ảnh 2
ดร.เฉิ่นโกงจุก อดีตหัวหน้าคณะกรรมการชายแดนของรัฐบาล

จงใจอนุมานและโยงเหตุการณ์ที่แตกต่างกันเพื่อตลบตะแลง

หนึ่งในข้อแก้ต่างที่จีนใช้อ้างให้แก่การเคลื่อนไหวอย่างผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามคือ การใช้เอกสารทางการทูตที่อดีตนายกรัฐมนตรีเวียดนามฝามวันด่งได้ส่งให้อดีตนายกรัฐมนตรีจีนโจวเอนไหลเมื่อปี 1958 โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่ออนุมานว่า จากเอกสารทางการทูตดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามได้ยอมรับอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลล์ที่จีนเรียกว่าซีซาและหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีที่จีนเรียกเป็นหนานซา สำหรับเรื่องนี้ ดร.เฉิ่นโกงจุกยืนยันว่า “ถ้ามองตรงๆในความเป็นจริง หนังสือราชการของอดีตนายกรัฐมนตรีฝามวันด่งที่ส่งให้อดีตนายกรัฐมนตรีจีนโจวเอนไหลไม่มีคำใดบอกว่า เวียดนามยอมรับอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซา  ในด้านนิตินัย ปี 1958 หลังจากที่ข้อตกลงเจนีวาได้รับการลงนาม เวียดนามถูกแบ่งเป็นสองภาคชั่วคราวและข้อตกลงเจนีวาก็ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ตั้งแต่เส้นขนานที่ 17 ลงไปรวมทั้งเกาะทุกแห่งอยู่อธิปไตยและอำนาจการบริหารของสาธารณรัฐเวียดนาม ส่วนเส้นขนานที่ 17 ขึ้นไปอยู่ในอธิปไตยของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งทางการปกครองของทั้งสองภาคในเวียดนามตอนนั้นได้รับการรับรองในข้อตกลงเจนีวา ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซาตั้งอยู่ทางใต้เส้นขนานที่ 17 จึงอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม ซึ่งรัฐเวียดนามได้ปฏิบัติสิทธิควบคุมหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซาตามหลักทางนิตินัยคือ รัฐเวียดนามเป็นเจ้าของและปฏิบัติอธิปไตยอย่างต่อเนื่อง สันติและจริงจังเหนืองหมู่เกาะทั้งสอง
จีนกำลังอยู่ในภาวะเสียเปรียบ
การที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะอย่างผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามเป็นการละเมิดกฎหมายสากลอย่างชัดเจนและการใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อเป็นข้อแก้ต่างให้แก่การกระทำที่ผิดกฎหมายของตนได้ทำให้จีนถูกโดดเดี่ยวในประชาคมโลก ดร. เหงียนตว่านทั้งย้ำว่า “สามารถเห็นได้ว่า จีนกำลังอยู่ในภาวะเสียเปรียบเพราะในความเป็นจริง จีนไม่มีหลักฐานทางนิตินัย ถ้าหากประเมินในแง่มุมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การที่จีนรุกล้ำในดินแดน โดยเฉพาะการติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามยิ่งทำให้สถานะและบทบาทของจีนลดลง เพราะจีนเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์การที่มีความสำคัญเป็นพิเศษของสหประชาชาติและจีนยืนยันอยู่เสมอว่า ตนเป็นประเทศที่รักสันติภาพ เป็นประเทศฟื้นตัวในสันติภาพ แต่ในความเป็นจริง การเคลื่อนไหวของจีนเดินสวนกับคำมั่นดังกล่าว
การวิเคราะห์ดังกล่าวถือเป็นการยืนยันอีกครั้งว่า การที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 อย่างผิดกฎหมายห่างจากเกาะ Tri Ton ของหมู่เกาะหว่างซาเป็นการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปที่อยู่ในอธิปไตยและเขตอำนาจศาลของเวียดนาม การกระทำดังกล่าวได้ทำให้ความไว้วางใจของทุกประเทศในภูมิภาคต่อจีนลดลง โดยเฉพาะส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจในความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับจีน./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด