โอกาสและการท้าทายต่ออิรัก

ภายในเวลา15วันนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ สหรัฐจะเริ่มถอนทหารส่วนใหญ่ที่กำลังประจำการในอิรักอันเป็นการแสดงให้เห็น ว่า อิรักจะกลายเป็นประเทศที่มีอธิปไตยอย่างแท้จริง ทว่าก็เป็นการท้าทายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศนี้เพราะสถานการณ์ความมั่นคงภาย ในของอิรักยังไม่เข้มแข็งพอที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่นี้

           ภายในเวลา15วันนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ สหรัฐจะเริ่มถอนทหารส่วนใหญ่ที่กำลังประจำการในอิรักอันเป็นการแสดงให้เห็น ว่า อิรักจะกลายเป็นประเทศที่มีอธิปไตยอย่างแท้จริง ทว่าก็เป็นการท้าทายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศนี้เพราะสถานการณ์ความมั่นคงภาย ในของอิรักยังไม่เข้มแข็งพอที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่นี้

            ตามข้อตกลงด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐและอิรักที่ลงนามเมื่อปี2008 สหรัฐจะถอนทหารทั้งหมดในปลายปี2011 ซึ่งในทางเป็นจริงสหรัฐยังมีความหวังว่าภายหลังการถอนทหารแล้วจะยังคงมีการธำรงกองกำลังทหารจำนวนหนึ่งในอิรักเพื่อให้การช่วยเหลือด้านการรักษาเสถียรภาพภายในประเทศแต่เนื่องจากสหรัฐและอิรักไม่สามารถมีความเห็นพ้องกันในการให้สิทธิพิเศษด้านกฎหมายแก่ทหารสหรัฐที่ประจำการในอิรัก ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐจึงตัดสินใจถอนกำลังทั้งหมดโดยเหลือไว้เพียงจำนวนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่รักษาความมั่นคงให้แก่สถานทูตสหรัฐและช่วยฝึกอบรมให้แก่กองทัพอิรักเท่านั้น  และเมื่อวันที่2ธันวาคมที่ผ่านมากองทัพอิรักก็ได้รับมอบฐานทัพทหารวิกตอรีซึ่งเป็นฐานทัพที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐในอิรักและเป็นที่ตั้งกองบัญชาการสหรัฐในสงครามอิรักนับตั้งแต่ปี2003 ซึ่งนายพล Thomas Spoehr รองผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐในอิรักเผยว่า ปัจจุบันนี้ยังมีทหารสหรัฐเกือบ3หมื่น4พันคนประจำการในฐานทัพ12แห่งในอิรักดังนั้นกระบวนการถอนกำลังทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ดังกล่าวต้องใช้รถบรรทุกประมาณ1650คันและใช้เวลานานพอสมควร  เป็นอันว่ากำหนดเวลาการถอนทหารสหรัฐออกจากอิรักนั้นกำลังจะมาถึงและนายกฯอิรัก นูรี อัล มาลีกี ก็ได้ประกาศว่า เหตุการณ์นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความมั่นคงของอิรักเพราะพวกเราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ด้วยตนเองแล้ว แต่จากสถานการณ์ที่เป็นจริงดูเหมือนว่ายังเร็วเกินไปที่จะยืนยันเช่นนี้ เพราะนอกจากยังขาดอาวุธยุทโธปกรณ์ด้านการป้องกันอากาศ กองกำลังทหารอากาศและหน่วยข่าวกรองแล้ว กำลังทหารของอิรักเกือบ8แสนคนก็ยังไม่ได้รับการฝึกอบรมจึงขาดทักษะในการประสานความร่วมมือกัน ในขณะนี้ปัญหาความมั่นคงยังเป็นเรื่องที่ทางการกรุงแบกแดดมีความกังวลเนื่องจากการโจมตีที่มุ่งเป้าไปยังกองกำลังทหารอิรักและเจ้าหน้าที่รัฐบาลแม้จะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงปี2006-2007แต่ก็ยังคงมีขึ้นทุกวันและตามข้อมูลสถิติใหม่ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุใช้ความรุนแรงกว่า250คนและล่าสุดนี้คือเมื่อวันที่ 28พฤศจิกายน ได้เกิดเหตุระเบิดรถยนต์ใกล้สำนักงานรัฐสภาอิรักโดยผลการสอบสวนปรากฎว่าเป็นการลอบสังหารนายกฯแต่ตะสบความล้มเหล็ว นอกจากนั้นทางการอิรักยังต้องรับมือกับความขัดแย้งระหว่างพรรคฝ่ายต่างๆ รวมทั้งด้านศาสนาและเผ่าพันธุ์ ปัจจุบันสมาชิกในรัฐบาลของนายกฯนูรี อัล มาลีกี ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายชีอะห์และมีเพียงรัฐมนตรี7คนจากจำนวน42คนเป็นชาวซุนนี ซึ่งพวกเขาได้ตั้งเป็นพรรคฝ่ายค้านโดยการนำของอดีตนายกฯ อายาด อัลลาวี ซึ่งเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่งของนายกฯอัลมาลีกี ส่วนประธานาธิบดี จาลาล์ ตาลาบานี นั้นเป็นผู้นำของชาวเคิร์ด ซึ่งละฝ่ายก็มีกลุ่มมือปืนคอยให้การสนับสนุนเโดยเฉพาะ ดังนั้นถึงแม้จะยังไม่มีความเข้มแข็งมากนักแต่แน่นอนว่าการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างพรรคฝ่ายต่างๆนั้นจะยังคงมีความดุเดือดและอาจจะทำให้อิรักถูกแบ่งออกเป็น3ส่วน

            ถึงอย่างไรก็ดี การปฏิบัติข้อตกลงด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐและอิรักก็สามารถตอบสนองความปรารถนาของชาวอเมริกันและประชาชนอิรัก เพราะสำหรับชาวอเมริกันส่วนใหญ่นั้นการถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากอิรักเป็นการปิดฉากสงครามที่ยืดเยื้อในเกือบ1ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้สิ้นเปลืองทรัพย์สินเงินทองจากภาษีของประชาชนที่คิดเป็นมูลค่าประมาณ820พันล้านเหรียญสหรัฐรวมทั้งได้ทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตเกือบ4500นายและบาดเจ็บอีกกว่า3หมื่น2พันนาย ส่วนสำหรับประชาชนอิรัก เหตุการณ์นี้ถือเป็นนิมิตหมายที่สำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขายืนยันถึงเอกราชของชาติและความสามารถในการที่จะสร้างอนาคตใหม่ให้แก่ประเทศ แต่ความปรารถนานี้จะสำเร็จได้โดยบนพื้นฐานของความร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง เสริมสร้างความเชื่อมั่นและความปรองดองชาติเท่านั้น./.

                                                                                                                        Doan Trung –VOV5

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด