ใช้ความได้เปรียบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางสังคม

(VOVworld) –ในระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม รัฐสภาได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ – สังคม ซึ่งผู้แทนรัฐสภาหลายคนแสดงความคิดเห็นว่า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมอย่างยั่งยืน นอกจากการประกาศใช้นโยบายบริหารเศรษฐกิจมหภาคอย่างทันการณ์แล้ว รัฐบาลเวียดนามยังคงต้องให้ความสนใจถึงการลงทุนพัฒนาหน่วยงานและด้านที่ถือเป็นความได้เปรียบของประเทศด้วย
(VOVworld) –ในระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม รัฐสภาได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ – สังคม ซึ่งผู้แทนรัฐสภาหลายคนแสดงความคิดเห็นว่า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมอย่างยั่งยืน นอกจากการประกาศใช้นโยบายบริหารเศรษฐกิจมหภาคอย่างทันการณ์แล้ว รัฐบาลเวียดนามยังคงต้องให้ความสนใจถึงการลงทุนพัฒนาหน่วยงานและด้านที่ถือเป็นความได้เปรียบของประเทศด้วย
ใช้ความได้เปรียบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางสังคม - ảnh 1
ใช้ความได้เปรียบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางสังคม
เวียดนามเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่น มีแหล่งบุคลากรที่อุดมสมบูรณ์และมีการเกษตรเป็นเสาหลักในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น การส่งเสริมผลผลิตของแรงงานจึงเน้นตามเป้าหมายพัฒนาการเกษตรและมีกลไกพิเศษเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจสำคัญใน 3 ภาคคือเหนือ กลางและใต้จะสร้างความได้เปรียบในกระบวนการพัฒนาประเทศ
เน้นในกลุ่มมาตรการแก้ไขด้านประชากรและแหล่งบุคลากร
เวียดนามกำลังอยู่ในยุคทองของโครงสร้างประชากรโดยมีอัตรประชาชนอยู่ในวัยทำงานสูง ซึ่งเป็นโอกาสเพื่อระดมแหล่งพลังให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจและการสำรองแหล่งพลังในอนาคต ดังนั้น ผู้แทนรัฐสภาหลายคนเห็นว่า รัฐบาลควรเพิ่มมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมเพื่อใช้ทรัพยากรแรงงานที่อุดมสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราคนว่างงาน ปฏิบัติการปรับปรุงองค์ประกอบเศรษฐกิจควบคู่กับการปรับปรุงองค์ประกอบของแรงงาน มุ่งสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิตของแรงงาน นายเหงียนฟีเถื่อง ผู้แทนรัฐสภากรุงฮานอยเผยว่า ปัจจุบัน ปัญหาการเพิ่มผลผลิตของแรงงานเป็นแนวทางที่สำคัญและอยู่รอดเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจเวียดนามมีการขยายตัวอย่างยั่งยืนต่อไปที่สามารถแข่งขันกับระบบเศรษฐกิจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม แรงงานเวียดนามยังคงขาดประสิทธิภาพ ซึ่งแม้จะมีจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือและไม่ได้รับการฝึกอบรมทักษะการทำงาน นอกจากนี้ เทคโนโลยีของเวียดนามยังคงล้าหลัง จนทำให้ผลผลิตของแรงงานเวียดนามอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น ท่านเหงียนฟีเถื่องจึงได้เสนอมาตรการแก้ไข 3 ข้อเพื่อเพิ่มผลผลิตของแรงงานเวียดนาม หนึ่งคือ ยกระดับคุณภาพในการฝึกอบรม เปลี่ยนแปลงใหม่ระบบการศึกษาและฝึกอบรมอย่างรวดเร็วเพื่อให้มีบุคลากรที่มีทักษะความสามารถ มีคุณธรรม มีวัฒนธรรมและอารยธรรม สองคือ ต้องทำการปรับปรุงหน่วยงานเศรษฐกิจที่ไม่ใช่การเกษตรและสร้างสรรค์ทักษะให้แก่แรงงาน สามคือ ขยายการลงทุนเข้าในด้านวิทยาศาสตร์โดยการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์และเทคโนโลยี
ในขณะเดียวกัน ท่านเหงียนเถี่ยนเญิน ผู้แทนรัฐสภาจังหวัดบั๊กยางเผยว่า ผลผลิตในการทำงานของประเทศมาจากผลผลิตของแรงงานในทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ถ้าอยากเพิ่มผลผลิตของแรงงานของทั้งระบบเศรษฐกิจ ก่อนอื่นต้องเพิ่มผลผลิตของแต่ละภาคเศรษฐกิจ เช่น ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างและภาคการบริการ ตามการคำนวณ ปี 2014 ผลผลิตของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามได้เพิ่มขึ้น 4.8 เท่าเมื่อเทียบกับภาคการเกษตร ส่วนผลผลิตของแรงงานในภาคบริการสูงกว่า 3.5 เท่าเมื่อเทียบกับภาคการเกษตร ดังนั้น ต้องเน้นแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาหน่วยงานการเกษตรอย่างยั่งยืน เพิ่มรายได้และผลผลิตของแรงงานในภาคการเกษตร ท่านเหงียนเถี่ยนเญินกล่าวว่า “ต้องพัฒนารูปแบบความร่วมมือในการผลิตเกษตรจากรูปแบบ “เกษตรกรรายย่อยขายผลิตภัณฑ์ให้แก่สถานประกอบการส่งออก ซึ่งเกษตรกรเสียเปรียบในทุกด้านและมีแต่สถานประกอบการส่งออกเท่านั้นที่ได้ประโยชน์” มาเป็นรูปแบบ “เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อทำการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ในองค์กรสหกรณ์ผลิตและสหกรณ์รับรองสินค้า ซึ่งทั้งกลุ่มเกษตรกรและสถานประกอบการส่งออกต่างได้รับประโยชน์”
ใช้ความได้เปรียบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางสังคม - ảnh 2
ท่านเหงียนเถี่ยนเญิน ผู้แทนรัฐสภาจังหวัดบั๊กยาง
ส่งเสริมพัฒนาการเกษตร
จากการตระหนักได้ดีว่า การเกษตรยังคงเป็นเสาหลักของระบบเศรษฐกิจ นายเลดิ่งแคง ผู้แทนรัฐสภาจังหวัดห่ายเยืองเห็นว่า ต้องลงทุนมากขึ้นและมีการเน้นเป้าหมายในด้านนี้ รัฐสภาและรัฐบาลควรจัดงบประมาณให้เพียงพอต่อการวิจัยพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เพื่อลดการพึ่งพาต่างชาติ นายโด๋หงอกเหนียน ผู้แทนจังหวัดบิ่งถ่วนเรียกร้องให้รัฐบาลเน้นใช้จุดแข็งด้านสัตว์น้ำเพราะยังมีทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์แต่อัตราการพัฒนายังต่ำอยู่ นายเฉิ่นก๊วกต๊วน ผู้แทนรัฐสภาจังหวัดจ่าวิงห์เห็นว่า รัฐบาลควรบริหารการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร โดยก่อนอื่นต้องวางแผนเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ขาดประสิทธิภาพส่วนหนึ่งให้เป็นพื้นที่ปลูกการเกษตร พร้อมทั้งชี้นำการนำเข้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกษตรที่ทันสมัยจากประเทศต่างๆทั่วโลกควบคู่กับนโยบายการให้สิทธิพิเศษ เกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว นายกาวดึ๊กฟาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า “ควบคู่กับการยกระดับประสิทธิภาพในการปลูกข้าว ควรมีการแนะนำให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิต ในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนี้ หน่วยงานการเกษตรกำลังส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์อุตสาหกรรมพร้อมกับนโยบายสนับสนุนการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ในครอบครัวเกษตรกร ในด้านทะเล จะส่งเสริมให้ชาวประมงเพิ่มความสามารถในการทำประมงน้ำลึก ช่วยเหลือเทคโนโลยีให้แก่ชาวประมงเพื่อเพิ่มมูลค่าของสัตว์น้ำที่จับได้ กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้ออกแบบเรือประมงเหล็กและท้องถิ่นต่างๆได้ส่งรายชื่อให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้ชาวชาวประมง”
กลไกเฉพาะเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจเป้าหมาย
เวียดนามมีจังหวัดและนครกว่า 20 แห่งอยู่ในรายชื่อเขตเศรษฐกิจเป้าหมาย ดังนั้นการขยายการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่างๆเพื่อการพัฒนาจึงเป็นมาตรการที่จำเป็น ในหลายปีที่ผ่านมา มาตรการนี้ได้รับการปฏิบัติและประสบผล ซึ่งสามารถส่งเสริมศักยภาพและความได้เปรียบของท้องถิ่นในการผลิตการเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการ แต่อย่างไรก็ตาม การเชื่อมโยงนั้นยังไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควรและยังขาดนโยบายที่เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ท้องถิ่นเป้าหมายที่เดินหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ นางเหงียนถิ่เหงีย ผู้แทนรัฐสภานครไฮฟองเสนอว่า “รัฐบาลควรเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงภูมิภาคและปรับปรุงนโยบายการเชื่อมโยงภูมิภาคเพื่อตอบสนองความต้องการที่จำเป็นของท้องถิ่นต่างๆ เป้าหมายหนึ่งของการเชื่อมโยงคือ ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ท้องถิ่นอื่นๆพัฒนาตาม รัฐบาลควรมีกลไกและนโยบายช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ท้องถิ่นที่เป็นเขตเศรษฐกิจเป้าหมายเพื่อให้ท้องถิ่นเหล่านี้พัฒนาและเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาของทั้งภูมิภาค”
การพัฒนาอย่างยั่งยืนเศรษฐกิจ – สังคมของประเทศพึ่งพาปัจจัยหลายอย่างแต่การที่รัฐบาลเวียดนามเน้นยกระดับผลผลิตของแรงงาน ผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรและมีนโยบายพิเศษเพื่อใช้ประโยชน์ความได้เปรียบของเขตเศรษฐกิจเป้าหมายถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องและมีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการบรรลุเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด