ไม่อาจเรียกร้องอธิปไตยต่อสิ่งที่ตัวเองไม่มี

(VOVworld)-จากบทวิเคราะห์เกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่จากมุมของกฎหมายสากลที่ทางสถานีวิทยุเวียดนามได้เสนอไปแล้ว จากกระบวนการแก้ไขข้อพิพาทด้านดินแดนทั่วโลกบวกกับหลักฐานทั้งด้านประวัติศาสตร์และนิตินัยของเวียดนามที่ไม่อาจถกเถียงได้ที่ยืนยันอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่นั้น เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า จีนไม่มีเงื่อนไขหรือพื้นฐานใดๆเพื่อเรียกร้องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทั้งสองแห่งนี้

(VOVworld)-จากบทวิเคราะห์เกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่จากมุมของกฎหมายสากลที่ทางสถานีวิทยุเวียดนามได้เสนอไปแล้ว จากกระบวนการแก้ไขข้อพิพาทด้านดินแดนทั่วโลกบวกกับหลักฐานทั้งด้านประวัติศาสตร์และนิตินัยของเวียดนามที่ไม่อาจถกเถียงได้ที่ยืนยันอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่นั้น เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า จีนไม่มีเงื่อนไขหรือพื้นฐานใดๆเพื่อเรียกร้องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทั้งสองแห่งนี้ ซึ่งทางสถานีขอเสนอบทวิเคราะห์อีกบทที่ชี้แจงเกี่ยวกับทัศนะที่จีนใช้แก้ต่างให้แก่อันที่เรียกว่า จุดยืนที่อาศัยทฤษฏีแห่งอธิปไตยทางประวัติศาสตร์และมุมมองผ่านกฎหมายสากล
ไม่อาจเรียกร้องอธิปไตยต่อสิ่งที่ตัวเองไม่มี - ảnh 1
แผนที่ชุดอาตลาสตั้งแต่ปี1827ระบุดินแดนใต้สุดของจีนคือเกาะไหหนาน

การที่จีนพยายามตอกย้ำแต่เพียงฝ่ายเดียวว่ามีอธิปไตยต่อหมู่เกาะซีซาและหนานซาซึ่งเป็นชื่อที่ฝ่ายจีนใช้เรียกหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่ของเวียดนามนั้นก็ได้แต่อาศัยหลักการณ์ที่เรียกว่าอธิปไตยทางประวัติศาสตร์และในนามประวัติศาสตร์  

ในทางเป็นจริง ขณะที่หลักการแห่งการยึดครองอย่างต่อเนื่องและสันติในนามรัฐซึ่งถือเป็นหลักการที่สำคัญอันดับแรกในการกำหนดอธิปไตยของประเทศริมฝั่งทะเลได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังนั้น จีนกลับไม่สามารถเสนอหลักฐานใดๆที่สามารถทำให้คนอื่นเห็นว่าจีนได้ปฏิบัติอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่อย่างต่อเนื่องและสันติตามกระแสการพัฒนาของประวัติศาสตร์

ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่ในเอกสารข้อมูลโบราณของจีน

ชื่อของหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่ไม่เพียงแต่ไม่ปรากฎในแผนที่โบราณทุกฉบับของจีนหรือของต่างชาติเท่านั้นหากในหนังสือภาษาฮั่นโบราณของจีนก็ไม่ระบุเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวปฏิบัติอธิปไตยของจีนต่อเรือพาณิชย์และเรือประมงต่างชาติอีกด้วย แต่ขณะเดียวกันกิจกรรมต่างๆของหน่วยทหารหว่างซาและบั๊กหายของราชวงศ์เหงวียนในเวียดนามได้ถูกทางการจีนในยุคศักดินายอมรับ เช่นเมื่อปี1753 สมาชิกหน่วยทหารหว่างซาที่ประสบพายุในทะเลและถูกพัดเข้าเขตน่านน้ำจู๋งโจของราชวงศ์ชิง  ขุนนางที่ปกครองเขตจู๋งโจก็ได้สั่งให้นำสิ่งของที่จำเป็นมาช่วยเหลือและส่งกลับบ้าน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทางการศักดินาจีนไม่ได้แสดงท่าทีใดๆเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของหน่วยทหารหว่างซาหากยังให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ส่วนในหนังสือข้อมูลโบราณของจีนก็ไม่ได้ระบุถึงการเรียกร้องสิทธิอะไรต่อหว่างซาและเจื่องซา โดยในหนังสือไหลู่(Hải Lục)ของหวางผิงหนาน(1820-1842)ได้เขียนว่า “กวานหลีฉางซาหรือก็คือหว่างซาในปัจจุบันเป็นพื้นทรายใต้ทะเลที่ถือเป็นแนวป้องกันอาณาเขตของประเทศอานนาม” หรือในหนังสือไห วาย ชี ซือ (Hải Ngoại Ký sự)ของพระมหาเถระชาวจีน ซือตาซาน ที่เขียนเมื่อปี1696ก็มีหลายส่วนที่เล่าถึงกิจกรรมของหน่วยทหารหว่างซาในการปฏิบัติอำนาจอธิปไตยของเวียดนามในทะเลอย่างละเอียด และยังมีหนังสือโบราณของจีนอีกจำนวนมากที่ไม่มีการระบุว่า หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่อยู่ในอาณาเขตของจีน

ไม่อาจเรียกร้องอธิปไตยต่อสิ่งที่ตัวเองไม่มี - ảnh 2
ผนที่ของทางการจีนปี1917ก็ไม่มีการระบุเขตน่านน้ำของจีนคลอบคลุมทั้งหว่างซาและเจื่องซา

สร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปลอมเพื่ออธิบายเกี่ยวกับอธิปไตย

โดยที่ไม่มีหลักฐานด้านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จีนได้แต่กล่าวว่าพวกเขามีอธิปไตยทางประวัติศาสตร์และในนามประวัติศาสตร์เมื่อชาวประมงของตนเดินทางไปยังหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี่และเป็นผู้บุกเบิกพัฒนาเกาะแห่งนี้เมื่อหลายพันปีก่อน แต่ฝ่ายจีนก็จงใจมองข้ามหลักการชี้ขาดในการกำหนดอธิปไตยของประเทศคือทุกอย่างต้องปฏิบัติในนามของรัฐ ดังนั้นพฤติกรรมต่างๆของบุคคลโดยไม่มีการถือครองเพื่อยืนยันอธิปไตยในนามรัฐบาลก็ไม่สามารถกลายเป็นการครอบครองที่ถูกต้องตามกฎหมายสากลได้

อีกอย่างคือการประกาศอธิปไตยทางประวัติศาสตร์ที่อาศัยการใช้กำลังบุกยึดหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเกาะบางแห่งในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลี่ของเวียดนามเมื่อปี1974และปี1988นั้นได้เดินสวนกับหลักการแห่งสันติภาพที่ระบุในอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี1982

ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า จีนไม่สามารถตอบสนองทั้ง3ปัจจัยสำคัญในหลักการกำหนดอธิปไตยของประเทศริมฝั่งทะเลว่ามีการยึดครองจริงอย่างต่อเนื่องและสันติในนามรัฐได้ หากได้แต่ใช้ความคลุมเครือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อให้สิทธิ์แห่งอธิปไตยของตัวเอง แต่ทั้งอธิปไตยทางประวัติศาสตร์และในนามของประวัติศาสตร์มิใช่หลักการที่นำไปปฏิบัติตามกฎหมายสากลเพื่อแก้ไขข้อพิพาทด้านดินแดนระหว่างประเทศต่างๆต่อเขตที่มีการพิพาทหากเป็นเพียงปัจจัยอ้างอิงเพื่อแสวงหาหลักฐานทางนิตินัยเท่านั้น

ทฤษฏีแห่งอธิปไตยทางประวัติศาสตร์มองจากกฎหมายสากล

บรรดานักวิจัยด้านกฎหมายโลกต่างยืนยันว่าการประกาศอธิปไตยของจีนไม่ได้อาศัยหลักการของกฎหมายและทัศนะต่างๆที่จีนใช้นั้นเป็นเพียงข้อเรียกร้องเท่านั้นโดยไม่มีหลักฐานข้อมูลเพื่อพิสูจน์ ศ.ด้านกฎหมาย เอริค แฟรงก์ แห่งมหาวิทยาลัย วีเจ ของเบลเยี่ยมได้กล่าวว่า แผนที่เส้นประ9เส้นที่คลอบคลุมทั้งสองหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซาของเวียดนามที่จีนได้ส่งถึงสหประชาชาติเมื่อปี2009นั้นขาดความถูกต้องทางเทคนิกจึงไม่สามารถใช้เป็นพื้นฐานทางนิตินัยได้ นอกจากนั้นเพื่อเพิ่มความหนักแน่นให้แก่ประกาศอธิปไตยที่ไร้เหตุผลของตน จีนยังพยายามตีความอย่างผิดเพี้ยนในเนื้อหาเกี่ยวกับอธิปไตยทางประวัติศาสตร์เพื่อละเมิดสิทธิอันชอบธรรมต่างๆในไหล่ทวีปของประเทศริมฝั่งทะเลตะวันออกอื่นๆ สร้างเรื่องแก้ต่างเกี่ยวกับสิทธิทางประวัติศาสตร์เพื่อเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ตามคำมั่นของตนในอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี1982 และเนื่องจากจีนไม่สามารถอธิบายคำประกาศของตนให้ชัดเจนและมีเหตุผลดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกจึงถือว่าคำประกาศนั้นเป็นโมฆะ

สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในทะเลตะวันออกได้สะท้อนให้เห็นถึงการกระทำที่ก้าวร้าวและไม่สนใจกฎหมายสากลของจีน ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถปิดหูปิดตาประชามติที่ก้าวหน้าทั่วโลกได้และไม่สามารถดำเนินการในแนวโน้มการผสมผสานของโลกปัจจุบันนี้./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด