เตาไฟในชีวิตวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเย้าเคา

 (VOVworld)-ก็เหมือนกับชนเผ่าอื่นๆที่อ.สิ่นโห่ จังหวัดลายเจา ชาวเย้าเคาได้ให้ความสำคัญต่อเตาไฟที่ไม่เพียงแต่เป็นที่ทำอาหารเท่านั้นหากยังเป็นจุดสำคัญด้านวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวบ้านอีกด้วย ซึ่งถึงแม้วิถีชีวิตวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงตามกระแสการพัฒนาที่ทันสมัยแต่เตาไฟยังคงเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่ยังคงได้รับการรักษาไว้ไม่เปลี่ยนแปลง


 (VOVworld)-ก็เหมือนกับชนเผ่าอื่นๆที่อ.สิ่นโห่ จังหวัดลายเจา ชาวเย้าเคาได้ให้ความสำคัญต่อเตาไฟที่ไม่เพียงแต่เป็นที่ทำอาหารเท่านั้นหากยังเป็นจุดสำคัญด้านวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวบ้านอีกด้วย ซึ่งถึงแม้วิถีชีวิตวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงตามกระแสการพัฒนาที่ทันสมัยแต่เตาไฟยังคงเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่ยังคงได้รับการรักษาไว้ไม่เปลี่ยนแปลง
เตาไฟในชีวิตวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเย้าเคา - ảnh 1
เตาใหญ่สุดตั้งอยู่ทางซ้ายบ้านใกล้ประตูทางเข้าเรียกว่า โต่มโย้ 

ชาวเย้าเคาที่ อ.สิ่นโห่ จ.ลายเจา มีความเชื่อว่า บ้านต้องมีห้องกลาง3ห้องและห้องริม2ห้องพร้อมเตาไฟ3ที่ตามกฎระเบียบความเลื่อมไสที่เคร่งครัด โดยเตาใหญ่สุดตั้งอยู่ทางซ้ายบ้านใกล้ประตูทางเข้าเรียกว่า โต่มโย้ ซึ่งเป็นเตาดินเหนียวใช้ต้มเหล้า ต้มขนม เตาที่สองก็ตั้งไว้ทางซ้ายแต่ลึกเข้าไปในบ้านเรียกว่า โหย่ตอน  เป็นที่หุงข้าวทำอาหารของครอบครัว ส่วนเตาที่สามตั้งอยู่ทางขวาซึ่งมีขนาดเล็กสุดเรียกว่า โหย่ลาว ที่มักจะใช้ต้มน้ำและใช้งานเหมือนเครื่องทำความอบอุ่นในหน้าหนาว

ในจำนวนเตาไฟทั้งสามนี้ เตาที่สองอยู่กลางบ้านถือว่ามีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุด โดยถูกระบุในหนังสือทางศาสนาของชนเผ่าว่าเป็นราชาแห่งเตาเป็นที่ประทับของเทพเจ้าแห่งเตาในทุกบ้านดังนั้นห้ามยืนหรือนั่งบนเตารวมทั้งห้ามใช้คำพูดที่ไม่ดีเกี่ยวกับเตา นาง เติ๋นกวายหลว่าง อยู่หมู่บ้านหว่างโห่ ต.ฟังโซลิน อ.สิ่นโห่เผยว่า“เนื่องจากเป็นที่ประทับของเทพแห่งเตา ดังนั้นต้องรักษาให้สะอาด ห้ามตากเสื้อผ้าใกล้เตา ห้ามสตรีนั่งด้านหน้าประตูของเตา และผู้ใหญ่ในบ้านจะต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักกฎระเบียบและข้อห้ามต่างๆเพื่อสืบทอดกันปฏิบัติกันมา

เตาไฟในชีวิตวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเย้าเคา - ảnh 2
เตาแห่งที่สองนี้ถือว่ามีความหมายพิเศษที่สุด การตั้งเตาก็ต้องทำอย่างรอบคอบในวันที่มีฤกษ์ดี 

เนื่องด้วยความหมายพิเศษของเตาแห่งที่สองนี้ การตั้งเตาก็ต้องทำอย่างรอบคอบในวันที่มีฤกษ์ดี ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 9-19-29จันทรคติของทุกเดือนหรือในระหว่างเดือน12ถึงสิ้นเดือนยี่เพราะชาวบ้านเชื่อว่าช่วงวันเดือนนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่เทพเจ้าแห่งเตาก็จะกลับสู่สวรรค์ไปรายงานความเป็นไปต่างๆของแต่ละบ้านต่อเง็กเซียนฮ่องเต้  วัสดุทำเตาจะต้องใช้ดินเหนียวที่ดีและเตรียมแผ่นไม้ขนาดยาว1เมตรกว้าง60เซ็นติเมตรรวม4แผ่นเพื่อประกอบเป็นโครงเตารูป4เหลี่ยมผืนผ้า สูง50เซ็นติเมตร เจาะรูใหญ่2รูเพื่อเป็นที่ตั้งหม้อ ส่วนประตูเตาอยู่ด้านล่างก็ทำให้พอดีเพื่อประหยัดฟืนในการปรุงอาหาร ซึ่งเตาชนิดนี้มีอายุใช้งานนาน15-20ปี นางแจ๋วน้ายแหม่ง ชาวบ้านต๋าฝิ่น อ.สิ่นโห่เผยว่า“เราต้องเลือกวันที่มีฤกษ์ดีก่อนตั้งเตา ดินเหนียวที่ใช้ต้องเป็นดินที่มีสีเหลืองและเหนียวนวลไม่มีหินกรวดผสมถึงจะใช้งานได้นาน เพราะหากดินไม่สะอาดอาจจะทำให้เตาแตกง่ายในระหว่างการใช้งาน ต้องทำเตาอย่างดีเพื่อที่จะได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้าแห่งเตาให้ทุกคนในบ้านมีสุขภาพแข็งแรงและครอบครัวมีความผาสุก

เตาไฟในชีวิตวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเย้าเคา - ảnh 3
ห้ามตากเสื้อผ้าใกล้เตา ห้ามสตรีนั่งด้านหน้าประตูของเตา

ในการดำเนินชีวิต ชาวเย้าเคาจะจัดงานที่สำคัญต่างๆในครอบครัวขึ้นในห้องที่ตั้งเตากลางนี้และต้องปฏิบัติตามข้อห้ามต่างๆอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะประสบสิ่งที่เลวร้ายได้ โดยเฉพาะในช่วงปีใหม่เตาต้องมีไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นดวงตาของบรรพบุรุษที่คอยติดตามดูแลครอบครัว ในวันขึ้นปีใหม่จะมีการจัดพิธีสัการะด้วยการจุดธูปและปิดกระดาษเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งเตาที่ประตูเตา นายเติ๋นกิมฟู นักวิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าเย้าที่อ.สิ่นโห่กล่าวถึงเอกอลักษณ์พิเศษของเตาไฟในบ้านของชาวเย้าเคาว่า“ที่อ.สิ่นโห่นี้ มีแต่ชาวเย้าเคาที่ทำเตาดินเหนียวแบบนี้ ซึ่งมีความสะดวกในการใช้งานและยังมีความหมายด้านความเลื่อมไสที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเย้าเคามานานแสนนาน แม้ทุกวันนี้จะมีผู้นำเตาแก๊ซเตาไฟฟ้ามาใช้งานแทนเตาถ่านแต่ชาวบ้านยังนิยมเตาดินแบบเดิมมากกว่า

เมื่อถึงช่วงเทศกาลสำคัญเช่นวันปีใหม่ตามประเพณีของชนเผ่าเย้า คนในครอบครัวจะมานั่งล้อมวงรอบเตาไฟเพื่อสังสรรค์กัน เป็นโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เล่าเรื่องต่างๆนาๆของชาวเย้าให้ลูกหลานเข้าใจ ช่วยทำให้ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆได้รับการสืบต่อกันไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด