เรื่องการศึกษาของชาวม้งในเวียดนาม

(VOVworld)- ต.ฮัวญ่าน อ.บั๊กเอียน จ.เซินลา เป็นหนึ่งในท้องถิ่นที่ยากจนที่สุดของเวียดนาม ประกอบด้วยหมู่บ้าน17แห่งรวมประชากรเกือบ4000คนแต่มีกว่าครึ่งหนึ่งเป็นครอบครัวยากจน ถึงแม้ชีวิตความเป็นอยู่ยังยากลำบากแต่ชาวม้งเกือบทุกครอบครัวในฮัวญ่านก็ยังคงพยายามส่งเสริมให้ลูกหลานไปเรียนหนังสือ

(VOVworld)- ต.ฮัวญ่าน อ.บั๊กเอียน จ.เซินลา เป็นหนึ่งในท้องถิ่นที่ยากจนที่สุดของเวียดนาม ประกอบด้วยหมู่บ้าน17แห่งรวมประชากรเกือบ4000คนแต่มีกว่าครึ่งหนึ่งเป็นครอบครัวยากจน ถึงแม้ชีวิตความเป็นอยู่ยังยากลำบากแต่ชาวม้งเกือบทุกครอบครัวในฮัวญ่านก็ยังคงพยายามส่งเสริมให้ลูกหลานไปเรียนหนังสือ

เรื่องการศึกษาของชาวม้งในเวียดนาม - ảnh 1
ในหน้าฝน ถนนเต็มไปด้วยดินโคลนทั้งลื่นทั้งแฉะ พาหนะอย่างเดียวที่สามารถสัญจรผ่านเส้นทางนี้ได้ก็คือจักรยานยนต์

เส้นทางจากทางหลวงใหญ่เข้าไปยังตำบลแห่งนี้ยาวแค่15กิโลเมตรแต่ถ้าหากใครที่เคยผ่านไปแล้วต่างก็รู้สึกว่ายาวไกลเหลือเกินโดยเฉพาะในหน้าฝน ถนนเต็มไปด้วยดินโคลนทั้งลื่นทั้งแฉะ พาหนะอย่างเดียวที่สามารถสัญจรผ่านเส้นทางนี้ได้ก็คือจักรยานยนต์ ส่วนในหน้าแล้งถนนที่ขรุขระเส้นนี้ก็เต็มไปด้วยฝุ่น ซึ่งนี่เป็นเพียงความลำบากในการเดินทางเท่า ส่วนการไปทำไร่ก็ยิ่งลำบากกว่าหลายเท่าเพราะต้องปลูกข้าวโพดซึ่งเป็นธัญญาหารหลักบนไหล่เขาที่ลาดชัน นอกจากนั้นบางครอบครัวก็ต้องเลี้ยงแพะ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เพิ่มเพื่อเอาไว้สำหรับงานสำคัญของบ้าน เนื่องจากชีวิตที่ยังลำบาก ชาวม้งจึงไม่สนใจเรื่องการส่งเสียลูกหลานให้ไปเรียนหนังสือ โดยผู้ใหญ่มีแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินเพื่อดำรงชีวิตครอบครัวจึงปล่อยให้เด็กๆเติบโตแบบอิสระธรรมชาติเหมือนต้นไม้ในป่า เมื่อสามารถทำงานได้ก็จะตามพ่อแม่ไปทำไร่ทำนา เพราะพวกเขาคิดว่าถ้าไปเรียนแล้วก็ไม่รู้จักทำงานบ้านช่วยเหลือครอบครัว

แต่นี่คือเรื่องของอดีตเพราะปัจจุบันนี้ จากความพยายามประชาสัมพันธ์และการเอาใจใส่ดูแลที่ใกล้ชิดของทางการท้องถิ่นและครูอาจารย์ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาของชาวม้งที่ฮัวญ่านก็เปลี่ยนแปลงอย่างเข้มแข็ง นาย หย่างอาเหล่ง เลขาธิการพรรคสาขาต.ฮัวญ่านเผยว่า“การรณรงค์ให้ครอบครัวต่างๆส่งลูกหลานไปโรงเรียนนั้นเริ่มมีผลมากขึ้น เพราะความดูแลเอาใจใส่ของพรรคและรัฐที่มีต่อเด็กๆและครอบครัวต่างๆช่วยปรับเปลี่ยนจิตสำนึกด้านการศึกษาและเพิ่มความรับผิดชอบของทุกครอบครัวในการส่งเสริมให้ลูกไปโรงเรียน พวกเราได้พยายามโน้มน้าวให้ทุกคนเข้าใจว่าการเรียนหนังสือไม่ใช่เพื่อได้เป็นเจ้าหน้าที่หากเพื่อจะได้มีความรู้และช่วยหางานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เรื่องการศึกษาของชาวม้งในเวียดนาม - ảnh 2
แม้การช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆได้ช่วยให้กระบวนการศึกษาในท้องถิ่นเริ่มพัฒนาแต่ก็ยังมีเด็กจำนวนมากต้องเรียนหนังสือในสภาพที่ลำบาก ขาดแคลนหลายอย่าง

ความยากจนได้ทำให้ชาวม้งหลายคนต้องครุ่นคิดการเรียนว่าหนังสือจะสามารถเลี้ยงชีพเหมือนต้นข้าวได้หรือไม่ แต่ในที่สุดพวกเขาก็เข้าใจได้ว่าเมื่อมีความรู้ลูกหลานของเขาก็มีอนาคตที่สดใสมากขึ้น บวกกับความดูแลเอาใจใส่ของประชาชนผู้ที่มีใจกุศลในทั่วประเทศที่ให้ความสนใจต่อการส่งเสริมการศึกษาในท้องถิ่นชาวม้งที่ฮัวญ่านก็รู้สึกอบอุ่นและมั่นใจมากขึ้น  นายเหงวียนหิวเหงีย ตัวแทนของสมาคมวัยเยาว์และสุขภาพ Vinaes ของฝรั่งเศสในเวียดนามได้กล่าวในพิธีมอบห้องเรียนชั้นอนุบาลใหม่ให้แก่ต.ฮัวญ่านว่า“ครั้งแรกที่ผมมาที่นี่ ผมเห็นชีวิตที่มีความสงบแต่ลำบากมากจึงอยากมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการศึกษา ซึ่งกิจการนี้คือผลความร่วมมือของทุกหน่วยงานรวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นและพวกเราหวังว่า ทางต.จะใช้ประโยชน์ห้องเรียนนี้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

จากการช่วยเหลือของบริษัทผลิตกระดาษเวียดนาม ทางต.ฮัวญ่านสามารถก่อสร้างโรงเรียนประถมที่มั่นคงสำหรับนักเรียนชนกลุ่มน้อยกว่า200คน แม้การช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆได้ช่วยให้กระบวนการศึกษาในท้องถิ่นเริ่มพัฒนาแต่ก็ยังมีเด็กจำนวนมากต้องเรียนหนังสือในสภาพที่ลำบาก ขาดแคลนหลายอย่างสร้างอุปสรรคมากมายให้แก่การเรียนการสอนโดยเฉพาะในหน้าฝนและหน้าหนาว แต่ทั้งนี้มิได้ทำให้ทั้งครูและนักเรียนท้อแท้ใจ ครูโด๋ทิลาน ครูใหญ่โรงเรียนอนุบาลฮัวญ่านเผยว่า เพื่อรณรงค์ให้เด็กๆกว่า400คนในต.ไปโรงเรียน เราต้องประสานงานกับทางการท้องถิ่นให้ไปโน้มน้าวถึงทุกครอบครัว“เด็กอนุบาลไปโรงเรียนจะลำบากกว่า ซึ่งเมื่อไปโรงเรียนครูต้องช่วยเด็กทุกอย่างเพราะพ่อแม่ของเด็กความรู้ก็ไม่มีจึงปล่อยให้ลูกเติบโตตามธรรมชาติขาดสุขอนามัย เราต้องไปพบปะหารือกับชาวบ้านเพื่อให้กำลังใจและประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนเข้าใจกันว่าการเรียนหนังสือเป็นสิ่งที่ดี

เสียงเด็กร้องเพลงที่ดังมาจากห้องเรียนต่างๆ ใบหน้าและแววตาที่เปี่ยมด้วยความสุขของเด็กเมื่อได้อยู่ในห้องเรียนใหม่ที่มั่นคงได้ทำให้ทั้งผู้บริหารท้องถิ่นและบรรดาครูอาจารย์รู้สึกตื้นตันใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะความร่วมแรงร่วมใจจากชุมชนได้ช่วยเพิ่มความอบอุ่นและให้กำลังใจทั้งเด็กๆชาวม้งและครูทุกคนให้มีความตั้งใจและมั่นใจในภารกิจการสร้างคนในท้องถิ่นที่ห่างไกลแห่งหนึ่งของประเทศดั่งเช่นที่ต.ฮัวญ่าน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด